img
:::

วสท.เผยตึกสูงในกทม.ที่สร้างหลังปี 2550 สามารรับแรงแผ่นดินไหวได้

วสท.เผยตึกสูงในกทม.ที่สร้างหลังปี 2550 สามารรับแรงแผ่นดินไหวได้

จากกรณีเกิดแผ่นดินไหว ศูนย์กลางอยู่ประเทศ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งในหลายจังหวัดของประเทศไทย รวมทั้งพื้นที่ในกรุงเทพมหานครสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่บนตึกสูง และยังเกิดอาฟเตอร์ช๊อกตามขึ้นมาหลายครั้งด้วย

รศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เปิดเผยว่า เมื่อปี 2550 ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ออกกฏกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนักความต้านทานความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2550 เพื่อบังคับใช้ควบคุมอาคารที่ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา ต้องออกแบบโครงสร้างอาคารให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนของการเกิดแผ่นดินไหว ครอบคลุมพื้นที่ 22 จังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้ตึกหรืออาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปหรือความสูงอาคารประมาณ 5 ชั้น ต้องออกแบบโครงสร้างอาคารให้รองรับ ดังนั้น หากตึกไหนถูกสร้างหลังจากปี 2550 ก็มีความปลอดภัยในระดับนึง สำหรับแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม จากเหตุแผ่นดินไหวภายในประเทศ สปป.ลาว พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรสาคร อาจจะได้รับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนระยะไกลได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ดินอ่อน จึงอาจทำให้ตึกหรืออาคารที่มีระดับความสูงปานกลางได้รับผลกระทบเกิดการสั่นตามไปด้วย แต่ประชาชนไม่ต้องตกใจหรือกังวลใจ เพราะแต่ละอาคารก่อนก่อสร้างจะมีวิศวกรผู้เขี่ยวชาญคอยตรวจสอบให้แบบนั้นถูกต้องตามกฎหมาย

สำหรับคำแนะนำหากเกิดหตุแแผ่นดินไหว ผู้อยู่ในตึกหรืออาคารสูง ให้รีบหาที่หลบใต้โต๊ะหรือยืนชิดผนังหรือเสาเอาไว้ เพื่อไม่ให้เฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ได้ถูกยึดติดกลับผนัง หล่นมาทับจนได้รับอันตราย และไม่ควรใช้ลิฟท์ในเวลาดังกล่าว จนกว่าตึกหรืออาคารจะหยุดสั่น ที่สำคัญให้อพยพออกมาข้างนอก รอจนกระทั่งเหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติ

ข้อมูลข่าวจาก เดลินิวส์

วสท.เผยตึกสูงในกทม.ที่สร้างหลังปี 2550 สามารรับแรงแผ่นดินไหวได้ (ภาพจาก pixabay)

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading