img
:::

อากาศร้อนขนาดนี้ แนะหลักการสามประการในการเก็บรักษายาที่ไม่ควรทำ

อากาศร้อนขนาดนี้ แนะหลักการสามประการในการเก็บรักษายาที่ไม่ควรทำ

“เภสัชกรช่วยดูยานี้เปลี่ยนสีแล้วยังทานได้ไหม?” ช่วงนี้อากาศร้อน อุณหภูมิในร่มมักจะสูงเกิน 30 องศาเซลเซียส เมื่อผู้สูงอายุรับประทานยาก็มักจะพบว่าเม็ดยาแตกเมื่อสัมผัสเบาๆ หรือทำไมเม็ดยาจึงดูเหมือนขึ้นรา ซึ่งเงื่อนไขข้างต้นน่าจะมาจากปัญหาในการเก็บรักษายา

นอกจากนี้สำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพไต้หวันยังพบว่า ผู้สูงอายุคิดว่าในบ้านร้อน ซึ่งตู้เย็นไม่เพียงแต่ใช้เก็บอาหารสดเท่านั้น แต่ยังใช้เก็บรักษายาอีกด้วยเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน ดังนั้นยาที่นำกลับบ้านจากโรงพยาบาลจะถูกเก็บไว้ในตู้เย็น นายหวัง อิงเหว่ย (王英偉) ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพไต้หวันเตือนว่า ตู้เย็นไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าครอบจักรวาล ยาส่วนมากไม่สามารถวางใว้ในตู้เย็นได้ วิธีเก็บรักษายาที่ง่ายที่สุดคือทำตามคำแนะนำบนกล่องบรรจุภัณฑ์ ใบกำกับการใช้ยา หรือฉลากยา

หลักการสามประการในการเก็บรักษายาที่ไม่ควรทำ

ยาส่วนใหญ่อ่อนแอต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากปัจจัยแวดล้อม เช่น แสง ความชื้น และอุณหภูมิ สำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพไต้หวันเตือนผู้สูงอายุในครอบครัวถึงหลักการสามประการในการเก็บรักษายาที่ไม่ควรทำ ดังนี้:

 

อย่าเก็บไว้ในตู้เย็น

ยาส่วนใหญ่ต้องเก็บไว้ในที่แห้งเย็นที่อุณหภูมิห้องและห่างจากแสงแดดเท่านั้น หากเก็บยาไว้ในตู้เย็นและนำออกมาวางในอุณหภูมิห้องซ้ำๆ ยาจะดูดซับความชื้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพ ดังนั้น นอกจากข้อบ่งชี้บนถุงยาหรือบรรจุภัณฑ์: ต้องแช่เย็นหรือเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 2-8 องศา ก็ไม่ควรวางยาอื่นไว้ในตู้เย็น จึงขอแนะนำให้เก็บยาไว้ในตู้ที่มีอากาศถ่ายเทที่อุณหภูมิห้อง หากอุณหภูมิห้องเกิน 30 องศา อยู่บ่อยครั้ง กรุณาให้เภสัชกรช่วยยืนยันว่ยาดังกล่าวเหมาะที่เก็บไว้ในตู้เย็นหรือไม่

 

อย่าวางไว้ในห้องครัวที่ร้อนและชื้นหรือข้างหน้าต่าง

การหลีกเลี่ยงแสงความชื้นและความร้อนเป็นหลักการจัดเก็บยาที่สำคัญ หากวางไว้ในที่ชื้นร้อนอบอ้าวหรือโดนแสงแดดโดยตรง เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ใกล้หน้าต่าง เป็นต้น ประสิทธิภาพของยาอาจลดลงหรือเสียได้ นอกจากนี้อุณหภูมิภายในรถที่ปิดสนิทในช่วงฤดูร้อนอาจสูงถึง 50 องศา จึงห้ามเก็บยาไว้ในรถ สำหรับยาช่วยชีวิตบางชนิด เช่น ยาเม็ดไนโตรกลีเซอรีนสำหรับบรรเทาอาการแน่นหน้าอก, ยาสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด, ยากันชัก, ยาเคมีบำบัดชนิดรับประทาน, การเตรียมอินซูลินและฮอร์โมน, ยาป้องกันการติดเชื้อ เป็นต้น ต้องจัดเก็บอย่างเคร่งครัดตามวิธีการจัดเก็บที่ถูกต้อง

หากวางไว้ในที่ที่มีความร้อนสูงจนไม่แน่ใจว่ายังสามารถรับประทานได้ต่อไปหรือไม่ คุณสามารถปรึกษาเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ อย่าหยุดรับประทานยาหรือรับประทานต่อโดยไม่ได้รับอนุญาต

 

ไม่บรรจุยาลงในภาชนะอื่น

หลังจากรับประทานยาคุณควรใส่ยากลับเข้าไปในถุงเดิมและปิดผนึก ไม่บรรจุยาลงในภาชนะอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดที่รับประทานยาที่หมดอายุ ภาชนะบรรจุยาเดิมได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันแสงและความร้อน หากแยกบรรจุยาจะทำให้ยาเสื่อมสภาพได้ นอกจากนี้อย่าทิ้งบรรจุภัณฑ์ด้านนอกก่อนที่ยาจะหมดเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในการใช้ยา

 

ยาทุกตัวมีอายุการเก็บรักษา สำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพเตือนว่าในการดูแลความปลอดภัยด้านการใช้ยาของผู้สูงอายุในครอบครัวจำเป็นต้องทำความสะอาดกล่องยาเป็นประจำเพื่อตรวจสอบว่ายาหมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพหรือไม่ อย่าใช้ยาร่วมกับผู้อื่นเพราะไม่ใช่ทุกคนที่เหมาะกับชนิดเดียวกัน ดังนั้นหากร่างกายมีอาการเจ็บป่วยก็ควรไปโรงพยาบาลเพื่อรับการวินิจฉัยโรคและได้รับยาที่เหมาะสมกับตนเอง การรับประทานยากับน้ำจะมีความปลอดภัยที่สุด พยายามอย่าทานยากับเครื่องดื่มอื่นๆ นม หรือชา เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาหรือก่อให้เกิดผลข้างเคียง

 

อากาศร้อนขนาดนี้ แนะหลักการสามประการในการเก็บรักษายาที่ไม่ควรทำ (ภาพจาก เฟสบุ๊กสำนักงานบริหารการส่งเสริมสุขภาพ)

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading