img
:::

10 ปีไทยลด "แม่วัยรุ่น" ลง 1 เท่าตัว มุ่งเป้าใหม่

ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถลดอัตราการเป็นแม่วัยรุ่นลงได้ถึง 1 เท่าตัว ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถลดอัตราการเป็นแม่วัยรุ่นลงได้ถึง 1 เท่าตัว ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 ที่โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพคนที่ 1 และประธานคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ได้เปิดการประชุมสุขภาวะทางเพศระดับชาติ ครั้งที่ 4 ภายใต้แนวคิด "Strong Community for Healthy Sexuality: ชุมชนเข้มแข็งสร้างสุขภาวะทางเพศ" โดยเน้นถึงความสำคัญของสุขภาวะทางเพศที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทุกเพศทุกวัย ทั้งเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ การยุติการตั้งครรภ์ และความรุนแรงทางเพศ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางเพศในระดับชุมชน ส่งผลให้อัตราการคลอดในวัยรุ่นของไทยลดลงกว่า 1 เท่าตัว จาก 53.4 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน ในปี 2555 เหลือเพียง 21 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน ในปี 2565 อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการป้องกันฯ ได้ตั้งเป้าหมายใหม่ที่จะลดอัตราการคลอดของวัยรุ่นให้ไม่เกิน 15 ต่อประชากรหญิง อายุ 15-19 ปี 1,000 คน ภายในปี 2570 เพื่อส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีความห่วงใยต่อการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่นที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะโรคซิฟิลิสที่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมการไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ในกลุ่มเยาวชนเป็นจำนวนมาก

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading