img
:::

สถาบันวิจัยกล้วยไต้หวัน ผลักดันการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากกล้วยดิบ เพื่อเพิ่มมูลค่า

สถาบันวิจัยกล้วยไต้หวัน จัดงานแถลงข่าว การเพิ่มมูลค่ากล้วยดิบด้วยการแปรรูป โดยมุ่งเน้นไปที่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากกล้วยดิบ   ภาพ/จากเฟซบุ๊ก財團法人台灣香蕉研究所
สถาบันวิจัยกล้วยไต้หวัน จัดงานแถลงข่าว การเพิ่มมูลค่ากล้วยดิบด้วยการแปรรูป โดยมุ่งเน้นไปที่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากกล้วยดิบ ภาพ/จากเฟซบุ๊ก財團法人台灣香蕉研究所
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง : จารุวรรณ สุทธิธนกูล (朱芝瑜)

เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันวิจัยกล้วยไต้หวัน (Taiwan Banana Research Institute) เพิ่งจัดงานแถลงข่าว การแปรรูปกล้วยให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยมุ่งเน้นไปที่ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยดิบ อาทิ เฟรนช์ฟรายส์กล้วย บะหมี่กล้วย กล้วยอบกรอบ หลัวปัวเกากล้วย ลูกชิ้นกล้วย เซียงฉางกล้วย ชีสบอลกล้วย เป็นต้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม:วธ.ไต้หวัน ผลักดันสื่อโทรทัศน์ รายการวิทยุ และการแปลวรรณกรรมไต้หวัน เป็นภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เฟรนช์ฟรายส์ที่ทำมาจากกล้วยดิบ ภาพ/จากเฟซบุ๊ก財團法人台灣香蕉研究所

 ชิว จู้อิง (邱祝櫻) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยกล้วยไต้หวัน ระบุว่า กล้วยดิบมีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index, GI) อยู่ที่ 30 ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำ ทั้งยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร และแป้งทนย่อย (Resistant starch, RS) คือแป้งที่มีความทนทานในการย่อย ไม่สามารถถูกย่อยสลายได้ด้วยเอนไซม์ในลำไส้เล็ก สามารถผ่านเข้าไปถึงลำไส้ใหญ่ และจะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ จึงช่วยให้เรารู้สึกอิ่มนานขึ้น ดีต่อการควบคุมน้ำหนัก และระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น จึงอยากสนับสนุนให้ประชาชน หันมาบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกล้วยดิบให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เรายังสามารถใช้ประโยชน์จากกล้วยได้แทบทุกส่วน อาทิ การนำใบตองมาห่อข้าวเหนียว หรือป่านเถียว (ก๋วยเตี๋ยวแคะ) เป็นต้น นอกจากนี้ เส้นใยกล้วย ถือเป็นสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพสูงของไต้หวัน โดยในหนึ่งปีไต้หวันจะมีปริมาณเส้นใยกล้วยสูงถึง 1.5 ล้านตัน มากกว่าปริมาณพืชผลอื่นๆ ซึ่งสามารถนำใช้ประโยชน์ทางด้านสิ่งทอได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม:ประชาชนที่ยังไม่ได้รับเงิน 6000 เหรียญไต้หวัน รีบลงทะเบียนด่วน ก่อนสิ้นเดือนนี้ !

หลัวปัวเกาที่ทำมาจากกล้วยดิบ ภาพ/จากเฟซบุ๊ก財團法人台灣香蕉研究所

หู จงอี (胡忠一) ผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและอาหาร กล่าวว่า กล้วยเป็นพืชสำคัญอันดับที่ 4 รองจาก ข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพด มีผลผลิตทั่วโลกต่อปีเกิน 120 ล้านตัน สำหรับ พื้นที่เก็บเกี่ยวของไต้หวันในปีนี้อยู่ที่ 14,464 เฮกตาร์ โดยมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แตะ 359,228 ตัน เนื่องจากไต้หวันมีผลไม้หลากหลายชนิด เพื่อลดแรงกดดันในการแข่งขัน การแปรรูปกล้วยให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า และพัฒนาไปเป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยว จึงเป็นทางออกสำหรับการเพิ่มช่องทางการกระจายผลผลิตทางการเกษตรที่ดีที่สุด

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading