img
:::

ประเด็นเรื่อง“การสละที่นั่ง”แต่ละประเทศคิดไม่เหมือนกัน

ที่ไต้หวันมีการถกเถียงในประเด็นเรื่อง “การสละที่นั่ง” มาโดยตลอด บริษัท MRT ไทเป จึงได้ทำการติดตั้งสัญลักษณ์บนที่นั่งสำรองพิเศษ  ภาพ/จากเฟซบุ๊ก Metro Taipei
ที่ไต้หวันมีการถกเถียงในประเด็นเรื่อง “การสละที่นั่ง” มาโดยตลอด บริษัท MRT ไทเป จึงได้ทำการติดตั้งสัญลักษณ์บนที่นั่งสำรองพิเศษ ภาพ/จากเฟซบุ๊ก Metro Taipei
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง : จารุวรรณ สุทธิธนกูล (朱芝瑜)

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ที่ไต้หวันมีการถกเถียงกัน ในประเด็นเรื่อง “การสละที่นั่ง” ของระบบขนส่งธารณะมาโดยตลอด บริษัท MRT ไทเป (Taipei Rapid Transit Corporation) ระบุว่า ได้ทำการติดตั้งสัญลักษณ์บนที่นั่งสำรองพิเศษไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้แนวคิดกับประชาชนในเรื่องนี้ ทั้งยังเรียกร้องให้ประชาชนให้ความสำคัญกับการเสียสละที่นั่งให้กับผู้ที่มีความจำเป็นและต้องการความช่วยเหลือทุกคน ไม่เพียงแต่ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์เท่านั้น ที่สามารถนั่งที่นั่งสำรองพิเศษ(priority seat)ได้ อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นเรื่องการเสียสละที่นั่ง ในแต่ละประเทศนั้น ก็ค่อนข้างมีความแตกต่างกัน

แนวคิดที่นั่งสำรองพิเศษ(priority seat)เกิดขึ้นครั้งแรกในยุโรป และได้แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชีย ทั้ง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ฯลฯ มีการปลูกฝังให้วัยรุ่นเสียสละที่นั่งให้กับผู้สูงอายุ แต่เมื่อมีการเสียสละที่นั่ง ชาวญี่ปุ่นมักจะปฏิเสธ เพราะไม่ต้องการสร้างปัญหาให้ผู้อื่น ชาวญี่ปุ่นบางคนยังแสดงออกอีกด้วยว่าไม่ต้องการให้ผู้อื่นมาเสียสละที่นั่งให้ ส่วนในวัฒนธรรมเกาหลีนั้น การเสียสละที่นั่งให้ผู้อาวุโสถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดที่ว่า ถ้าไม่เสียสละที่นั่ง ก็อาจจะถูกตำหนิได้

ประเด็นเรื่อง“การสละที่นั่ง”ที่ญี่ปุ่นกับเกาหลีมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ภาพ/จากคลังภาพ Pixabay

ในประเทศแถบยุโรป อย่างฝรั่งเศส จะให้ความสำคัญกับ "บุคคล"  ดังนั้นทุกคนจึงมีมุมมองในเรื่องการสละที่นั่งที่แตกต่างกัน บางคนอาจรู้สึกซาบซึ้งใจเมื่อมีคนสละที่นั่งให้ แต่บางคนอาจรู้สึกว่าตนกำลังถูกดูถูก ดังนั้น การสอบถามความต้องการของผู้อื่นก่อน คงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิด สำหรับ วัฒนธรรมการสละที่นั่งในอังกฤษ จะให้ความสำคัญกับผู้ที่มีความจำเป็นจริงๆ  หากคุณเห็นผู้สูงอายุ สละที่นั่งให้กับนักเรียน หรือวัยรุ่น แล้วล่ะก็ ให้ถือว่าเป็นเรื่องปกติของที่นี่ ทั้งนี้ ผู้สูงอายุบางคน ก็ไม่ต้องการให้ใครมาสละที่นั่งให้ เพราะมันจะทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนโดนดูถูกว่าอายุมาก

วัฒนธรรมการสละที่นั่งบนรถไฟใต้ดินของยุโรปและอเมริกาในประเทศก็ไม่เหมือนกัน ภาพ/จากคลังภาพ Pixabay

อ่านข่าวเพิ่มเติม:เพื่อให้ปริมาณน้ำหนักของเที่ยวบินอยู่ในขอบเขตที่ปลอดภัย บางกอกแอร์เวย์ส ใช้มาตรการชั่งน้ำหนักก่อนขึ้นเครื่อง

สำหรับ สตรีมีครรภ์ ของอเมริกา จะถูกจัดว่า เป็นบุคคลธรรมดา ดังนั้น ที่นี่จะให้ความสำคัญกับการสละที่นั่งให้เด็กๆ มากกว่า วัฒนธรรมของการสละที่นั่งในออสเตรเลีย มีความคล้ายคลึงกับในยุโรปและอเมริกา สิ่งที่แตกต่างอย่างเดียวก็คือ ผู้ที่ซื้อตั๋วราคานักเรียน จะต้องสละที่นั่งให้กับผู้ที่ซื้อตั๋วราคาผู้ใหญ่ แวะกลับมาดูที่ประเทศไทยกันบ้าง เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ และเคารพนับถือพระภิกษุเป็นอย่างมาก ดังนั้น ผู้โดยสารจะต้องสละที่นั่งให้พระภิกษุ ทำให้ที่นั่งสำรองพิเศษของประเทศไทย นอกจากจะมีสัญลักษณ์ เด็ก สตรี คนชรา ผู้พิการ แล้ว ยังมีสัญลักษณ์พระสงฆ์อีกด้วย

เพื่อตอบสนองต่อปัญหา  “การสละที่นั่ง” ของระบบขนส่งธารณะในไต้หวัน บริษัท MRT ไทเป เน้นย้ำว่า  “การสละที่นั่ง” ถือเป็นมารยาทและจิตสำนึกของแต่ละบุคคล ไม่สามารถกำหนดบทบัญญัติมาบังคับว่าให้ต้องทำได้ แต่อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทฯ จะใช้วิธีการประกาศ และประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน เกี่ยวกับการสละที่นั่ง ให้กับผู้โดยสารที่มีความจำเป็นและต้องการความช่วยเหลือต่อไป

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading