img
:::

การรักษาโรคปอดบวมจากเชื้อไมโคพลาสมา จำเป็นต้องใช้งานยาปฏิชีวนะอย่างระมัดระวัง

ปัจจุบันเชื้อไมโคพลาสมาในไต้หวันมีภาวะดื้อยาปฏิชีวนะค่อนข้างสูง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิดในอดีต (ภาพ: จาก Heho Health)
ปัจจุบันเชื้อไมโคพลาสมาในไต้หวันมีภาวะดื้อยาปฏิชีวนะค่อนข้างสูง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิดในอดีต (ภาพ: จาก Heho Health)

ผู้ปกครองหลายคนพาลูกมาที่คลินิก และเมื่อเข้าไปในห้องตรวจ ก็มักจะบอกว่า “ลูกมีไข้มา 5 วันแล้ว ดวงตาแดงก่ำ และมีอาการไอมา 2-3 วัน กินยาแล้วก็ไม่เห็นผล สงสัยว่าจะติดเชื้อไมโคพลาสมา สามารถให้คุณหมอช่วยจ่ายยาปฏิชีวนะให้ลูกได้ไหม?” แต่ในความเป็นจริงแล้ว การติดเชื้อไมโคพลาสมาไม่จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะทันทีปฏิชีวนะทันทีเด็กส่วนใหญ่ถึงแม้จะติดเชื้อไมโคพลาสมา ก็ยังสามารถพึ่งพาภูมิคุ้มกันของตนเองในการต่อสู้กับแบคทีเรียและค่อยๆ ฟื้นตัวได้ (ภาพ: จาก Heho Health)

นายแพทย์เหลี่ยว ลี่ฉิน ผู้อำนวยการแผนกโรคหัวใจเด็กและกุมารแพทย์จากโรงพยาบาล Wuri Linxin อธิบายว่า เชื้อไมโคพลาสมามักถูกเรียกว่า“โรคปอดบวมที่ยังเดินได้” และมักจะเกิดการระบาดใหญ่ทุก ๆ ไม่กี่ปี ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไมโคพลาสมาไม่จำเป็นต้องมีไข้สูงเสมอไป แม้ว่าจะมีไข้แต่ก็อาจไม่มีอาการรุนแรงทั่วไป ปกติแล้วหากมีอาการไอแห้งเกิน 2 สัปดาห์ ควรระมัดระวัง นอกจากนี้ การติดเชื้อไมโคพลาสมายังอาจนำไปสู่อาการอื่นนอกปอด เช่น อาเจียน ปวดท้อง และผื่นแดง โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 1-2 สัปดาห์ ดังนั้นจึงมักเกิดขึ้นในสมาชิกครอบครัวคนหนึ่งคนใดไอเป็นเวลานาน และค่อย ๆ ติดต่อไปยังสมาชิกคนอื่น แทนที่จะเกิดพร้อมกันทั้งหมด

การวินิจฉัยการติดเชื้อไมโคพลาสมาไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องใช้การตรวจอาการทางคลินิก ประวัติการสัมผัสเชื้อ และผลการตรวจเลือด (แอนติบอดี IgM, IgG) โดยปกติหลังติดเชื้อ 7-10 วัน ระดับ IgM และ IgG ในเลือดจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นและสูงสุดใน 3-6 สัปดาห์ การวินิจฉัยที่ชัดเจนจำเป็นต้องมีการเจาะเลือดสองครั้งห่างกัน 2-4 สัปดาห์ หากพบว่าแอนติบอดี IgG เพิ่มขึ้น 4 เท่า จะสามารถยืนยันได้ว่าเป็นการติดเชื้อไมโคพลาสมาเชื้อไมโคพลาสมาเรียกอีกอย่างว่า “โรคปอดบวมที่ยังเดินได้” (ภาพ: จาก Heho Health)

ปัจจุบัน เชื้อไมโคพลาสมาในไต้หวันมีภาวะดื้อยาปฏิชีวนะค่อนข้างสูง ซึ่งเกี่ยวข้องอย่างมากกับการใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิดในอดีต แพทย์หลายท่านให้ยาปฏิชีวนะแบบตามประสบการณ์ โดยที่ยังไม่ได้มีการวินิจฉัยโรคที่ชัดเจน จึงทำให้ภาวะดื้อยาสูงขึ้น ดังนั้นแพทย์เหลี่ยว ลี่ฉินจึงเน้นว่า แม้ว่าเชื้อไมโคพลาสมาจะมีภาวะดื้อยาปฏิชีวนะสูงในไต้หวัน แต่ก็ยังมีทางเลือกในการรักษาอื่น ๆ เช่น ยาปฏิชีวนะชนิดที่สอง หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

ยาปฏิชีวนะที่ใช้บ่อยที่สุดคือ อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) แต่จะจ่ายยาก็ต่อเมื่อได้รับการวินิจฉัยที่ชัดเจน หรือผู้ป่วยมีภาวะปอดบวมแล้วเท่านั้น นายแพทย์เหลี่ยว ลี่ฉินเตือนว่า การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกต้องจะทำให้เชื้อไมโคพลาสมาดื้อต่อยาปฏิชีวนะมากขึ้น เด็กส่วนใหญ่ถึงแม้ว่าจะติดเชื้อไมโคพลาสมา ก็สามารถใช้ภูมิคุ้มกันของตนเองในการต้านเชื้อและฟื้นตัวได้เรื่อย ๆ เว้นแต่ผู้ป่วยจะมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือมีโรคหืดขั้นรุนแรง จึงไม่ต้องกังวลมากเกินไป

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading