img
:::
ประกันภัยและการรักษาสุขภาพ

แคลเซียมและแมกนีเซียมส่งผลต่อคุณภาพการนอน บริโภคถั่วและผักใบเขียวช่วยได้

เมื่อร่างกายขาดแคลเซียมและแมกนีเซียม อาจส่งผลให้นอนไม่หลับ  	 ภาพ/จาก freepik
เมื่อร่างกายขาดแคลเซียมและแมกนีเซียม อาจส่งผลให้นอนไม่หลับ ภาพ/จาก freepik
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง : จารุวรรณ สุทธิธนกูล (朱芝瑜)

หลายคนอาจคิดว่าโรคนอนไม่หลับเป็นโรคที่เกิดจากปัญหาทางด้านจิตใต ความเครียด และความกังวลต่างๆ ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไต้หวัน ได้เผยแพร่ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก “藥博士 正藥說”ระบุว่า เมื่อร่างกายขาดแคลเซียมหรือแมกนีเซียม อาจส่งผลให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม:ชาวไต้หวันแต่ละวัยได้รับใยอาหารต่อวันไม่เพียงพอ กรมสุขภาพประชาชนมีวิธีแก้ ไปดูกันเลย!

ถั่วชนิดต่างๆ เป็นอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง ภาพ/จาก pixabay

นอกจาก “แคลเซียม” จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการรักษากระดูกและฟันให้แข็งแรงแล้ว ยังส่งผลต่อการนอนหลับอีกด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไต้หวัน ระบุว่า แคลเซียมมีส่วนช่วยในการสังเคราะห์ “ทริปโตเฟน” กรดอะมิโนที่เป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างฮอร์โมน เซโรโทนินและเมลาโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลดีต่อการนอนหลับ

ส่วน แมกนีเซียมนั้น มีบทบาทสำคัญในการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การบริโภคอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง อาทิ นม ผักใบเขียว และถั่ว ในปริมาณที่เหมาะสม จะสามารถช่วยให้หลับสบายมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าทั้งแคลเซียมและแมกนีเซียมจะมีส่วนช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น แต่หากรับประทานมากเกินไป อาจเพิ่มภาระในการทำงานของไต เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่วในไต หรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางเดินอาหารได้ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติไต้หวัน ระบุว่า วัยผู้ใหญ่ ควรรับประทานแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม และแมกนีเซียม 300 มิลลิกรัม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading