[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามข้อมูลจาก “สำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์” นายสุพจน์เล่าว่า ย้อนไปประมาณ 30 ปีที่แล้ว เขาเคยทำงานเป็นสัตวบาล และไปฉีดยาหมู ตามเล้าหมูต่างๆ และต่อมาก็พบว่าสุขภาพเริ่มมีปัญหา ไอตลอด ก็มาค้นพบว่าสาเหตุมาจากกลิ่นก๊าซยูเรียที่เกิดจากฉี่ และมูลหมู ส่งผลให้เราเกิดอาการป่วย ไอไม่หยุด กระทั่งทางต้นสังกัดที่เราทำงานที่สัตวบาลก็มีคำสั่งย้ายให้เราทำงานที่โรงงานอาหารสัตว์ ปัญหาการไอจึงดีขึ้น และค่อยๆ หาย กระทั่งในปี 2548-2549 เราก็ไปเจอ “หมูหลุม” ซึ่งเราไม่เคยรู้จักมาก่อนว่าคืออะไร ชาวบ้านมาตามภรรยามาทำคลอดหมู สิ่งที่เราเจอ พบว่า การทำหมูหลุมนั้นไม่มีแมลงวัน ไม่มีน้ำเสีย หลุดออกนอกระบบเลย เมื่อได้เห็นดังนั้นจึงรู้สึกว่า “นี่แหละ...คือทางรอดของเรา” นอกจากนี้ ยังเผยว่า หมูหลุมและหมูอุตสาหกรรมคุณภาพต่างกันมาก “หมูหลุม” จะอยู่ในอุณหภูมิปกติได้นานกว่า เพราะไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะในหมู โมเลกุลต่างๆ ในหมูก็ไม่เปลี่ยนแปลง แตกต่างเพราะการเลี้ยงแบบผิดธรรมชาติในระบบอุตสาหกรรม และหากเก็บรักษาที่ช่องฟรีซ เมื่อเอามาใช้รสชาติก็จะไม่เปลี่ยน
อ่านข่าวเพิ่มเติม:โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย
ตามข้อมูลจาก “สำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์” นายสุพจน์ ได้แนะนำ หลักการ 4 ข้อ สำหรับการเลี้ยงหมูหลุม ไว้ดังนี้
1.พันธุ์หมู : ที่เขาใช้ประสบปัญหาคลอดลูกยาก ซึ่งปกติแล้ว เกษตรกรจะเลี้ยงหมูพันธุ์ดูร็อค ซึ่งหากมีลูกสวยๆ ก็จะเอามาเป็นพ่อพันธุ์ ซึ่งหมูพันธุ์นี้จะโตเร็ว แต่จะคลอดลูกลำบาก เพราะเนื้อเยอะ กระดูกเชิงกรานเล็ก
2.อาหาร : ชาวบ้านเขายังไม่รู้จักโภชนาการอาหารของหมู ก็เป็นการให้อาหารแบบปกติ ซึ่งการเลี้ยงหมูนั้นจำเป็นต้องให้อาหารครบ 5 หมู่ แต่สัดส่วนที่ให้จะแตกต่างกัน ห่างเป็นลูกหมู และหมูที่โต
3.การจัดการ : คือ วางแผนการจัดการเพื่อให้หมูออกลูกได้ทุกรอบ ตามความต้องการ เริ่มตั้งแต่ผลิตลูก ขุนหมู รวมไปถึงการจัดการการขาย และแก้ปัญหาเรื่องโรคต่างๆ ไปด้วย
4.การตลาด : เลี้ยงโต ได้เนื้อแล้วจะขายที่ไหน
อ่านข่าวเพิ่มเติม:อย.ไต้หวัน เผยสินค้าไม่ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัย พบบะหมี่สำเร็จรูปเวียดนามปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง!