เนื่องจาก ตลาดมีความต้องการข้าวฟ่างเพิ่มมากขึ้นทุกปี สถานีวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรไถตง ภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตรไต้หวัน จึงต้องการสร้างแรงจูงใจของพี่น้องเกษตรกรในท้องถิ่น ให้มีการเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น นอกจากจะส่งเสริมให้มีการใช้เครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแล้ว ในปีนี้ยังมีการจัดหลักสูตรที่เกี่ยวข้องอีกด้วย อาทิ การสอนเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่เพาะปลูก และการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยต่างๆ เป็นต้น
อ่านข่าวเพิ่มเติม:สถาบันวิจัยกล้วยไต้หวัน ผลักดันการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากกล้วยดิบ เพื่อเพิ่มมูลค่า
สถานีวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรไถตง ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เครื่องจักรในการเพาะปลูกข้าวฟ่าง เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเพาะปลูก ภาพ/จากวิกิพีเดีย
สถานีวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรไถตง ชี้ว่า ชนพื้นเมืองในไถตงมีสัดส่วนเกินกว่า 30% ของประชากรทั้งเมือง ข้าวฟ่างและธัญพืชอื่น ๆ ถือเป็นอาหารหลักของชนพื้นเมือง วิธีการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม ต้องใช้กำลังคนจำนวนมาก เนื่องจากปัญหาประชากรอพยพออกนอกพื้นที่ และเกษตรกรชราภาพ ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกลดลง
สถานีวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรไถตง ชี้ว่า เนื่องจาก ตลาดมีความต้องการข้าวฟ่างเพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงได้มีการส่งเสริมชนพื้นเมืองใช้เครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูก และแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเครื่องจักรที่ส่งเสริมให้ใช้ ได้แก่ เครื่องกำจัดวัชพืช เครื่องเก็บเกี่ยวข้าวฟ่างและควินัวไต้หวัน และเครื่องนวดควินัวไต้หวันแบบเปียก เป็นต้น