กรมควบคุมโรคไต้หวันประกาศว่า ในประเทศพบผู้ป่วยโรคสมองอักเสบญี่ปุ่น (Japanese Encephalitis) รายใหม่ 5 ราย โดยเป็นชายวัย 50 กว่าปี อาศัยอยู่ที่เมืองเถี๋ยนจง มณฆลจางฮั่ว ชายวัย 40 กว่าปี อาศัยอยู่ในเมืองหมิ๋นสง มณฑลเจียอี้ ชายวัย 50 กว่าปี อาศัยอยู่ในเขตฉี๋ซาน นครเกาสง หญิงวัย 50 กว่าปี อาศัยอยู่ในเขตเถาหยวน นครเถาหยวน และหญิงวัย 50 กว่าปี อาศัยยอยู่ในเขตจงลี่ นครเถาหยวน ผู้ป่วยมีอาการไข้ ปวดศีรษะ อ่อนแรง เดินอย่างไม่มั่นคง พูดไม่ชัด คอแข็ง และสติสัมปชัญญะเลวลง เป็นต้น หลังจากได้รับการยืนยันจากแพทย์ ทั้ง 5 รายยังคงรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล
กรมควบคุมโรคกล่าวว่า ทั้ง 5 รายมักจะใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหรือที่ทำงาน หน่วยงานสาธารณสุขพบว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบที่ผู้ป่วยทั้ง 5 ราย ใช้ชีวิตอยู่มีสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เล้าหมู กรงนกพิราบ และนาข้าว จึงคาดว่าบริเวณใกล้เคียงผู้ป่วยทั้ง 5 ราย ใช้ชีวิตอยู่มีความเป็นไปได้ของการติดเชื้อสูง หน่วยงานสาธารณสุขจึงได้เดินทางไปยังพื้นที่โดยรอบเพื่อดำเนินมาตรการป้องกัน เช่น การแขวนไฟดักยุงเพื่อดักยุงพาหะและการเสริมสร้างความรู้ด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในท้องถิ่น
จากข้อมูลการตรวจสอบของกรมควบคุมโรคระบุว่า ในปีนี้ (2020) ไต้หวันมีผู้ป่วยโรคสมองอักเสบญี่ปุ่นที่ได้รับการยืนยันแล้ว 9 ราย โดยผู้ป่วยอาศัยอยู่ในนครเถาหยวน นครเกาสงและมณฑลผิงตง สถานที่ละ 2 ราย ส่วนมณฑลจางฮั่ว มณฑลเจียอี้และนครไถหนาน สถานที่ละ 1 ราย สำหรับจำนวนผู้ป่วยในช่วงเวลาเดียวกันระหว่างปี 2016-2019 ในประเทศอยู่ที่ 9, 16, 31 และ 13 ตามลำดับ ซึ่งส่วนมากเป็นผู้ใหญ่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ทุกวัยมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเช่นกัน
กรมควบคุมโรคกล่าวว่า คนส่วนใหญ่ไม่มีอาการชัดเจนหลังจากติดเชื้อโรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น ส่วนน้อยจะมีอาการปวดศีรษะไข้หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ในกรณีที่รุนแรงอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสติสัมปชัญญะจนไม่สามารถแยกแยะผู้คน ร่างกายอ่อนแรง ความเสียหายของเส้นประสาทสมอง เป็นอัมพาต ฯลฯ หรือแม้แต่อาการโคม่าหรือเสียชีวิตได้ วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันโรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่นคือการฉีดวัคซีน จึงขอเตือนประชาชนให้พาบุตรหลานที่มีอายุมากกว่า 15 เดือนขึ้นไปยังศูนย์สุขภาพทุกแห่งหรือสถานพยาบาลที่อยู่ในความร่วมมือ เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่นเพื่อหลีกเลี่ยงผลที่ตามมาอย่างรุนแรงเนื่องจากการติดเชื้อ ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้กับสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เล้าหมูหรือนาข้าว หากคุณคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อ ให้เดินทางไปที่คลินิกเพื่อการท่องเที่ยวทุกแห่ง (旅遊醫學門診) เพื่อประเมินการฉีดวัคซีน
กรมควบคุมโรคเตือนว่า การระบาดของโรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่นส่วนมากเกิดจากยุงพาหะ 3 ชนิด (Culex tritaeniorhynchus, Culex annulus และ Culex gelidus) และมักจะ เกิดในนาข้าว บ่อน้ำ และคลองชลประทาน มักจะดูดเลือดตอนค่ำและรุ่งอรุณ จึงขอเตือนให้ประชาชนพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูงในช่วงที่มียุงพาหะดูดเลือด หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ควรสวมใส่เสื้อผ้าแขนยาวสีอ่อน และใช้ยากันยุงที่ได้รับอนุญาติจากรัฐ (DEET) หรือ (Picaridin) เพื่อไม่ให้ตนเองถูกยุงกัด