img
:::

คลาสสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ทั้ง 7 ภาษาในนครนิวไทเปเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว

คลาสสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ทั้ง 7 ภาษาในนครนิวไทเปเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว

การศึกษาภาคบังคับ 12 ปี ที่มีการบรรจุภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว โดยนครนิวไทเปได้เปิดคลาสสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ทั้ง 7 ภาษา ในโรงเรียนประถมทั้งหมดกว่า 135 แห่ง และโรงเรียนมัธยมศึกษากว่า 22 แห่ง โดยมีคลาสเรียนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ทั้งสิ้นรวม 262 คลาส และมีนักเรียนเลือกเรียนทั้งสิ้น 736 คน ซึ่ง 80% เป็นบุตรผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่

นครนิวไทเปนอกจากจะใช้หนังสือคู่มือเรียนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่กระทรวงศึกษาที่การได้มอบหมายให้นครนิวไทเปจัดทำขึ้น แต่ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้และสัมผัสกับวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมอาหารการกิน เทศกาลวันสำคัญ ขนบธรรมเนียมประเพณี เครื่องแต่งกาย เป็นต้น เป็นการเพิ่มความน่าสนใจในการเรียนรู้

โรงเรียนประถมศึกษาเป่ยซิน เขตซินเตี้ยน ได้เปิดคลาสสอนภาษาเวียดนาม อินโดนิเซีย ไทย เมียนมา มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ รวม 6 ภาษา ตั้งแต่ระดับชั้นป.1 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการเปิดสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มากที่สุดในนครนิวไทเป นายเจิ้ง ซิ่วจู (曾秀珠) ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาเป่ยซินมีความแข็งขันในการโปรโมทความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยได้เชิญอาจารย์ผู้ภาษาแต่ละท่านมากล่าวแนะนำวัฒนธรรมและเพลงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเสียงตามสายในช่วงเวลาพักกลางวัน ในขณะเดียวกันมีการจัดกิจกรรมความหลากหลายทางวัฒนธรรมตามเทศกาลต่างๆ ด้วย

โรงเรียนประมัธยมศึกษาตอนต้นโถว๋เฉี๋ยน เขตซินจวง เปิดคลาสสอนภาษาเวียดนาม อินโดนิเซีย ไทย และมาเลเซีย รวม 5 ภาษา ซึ่งมีนักเรียนเลือกเรียนภาษาเวียดนามถึง 20 คน และเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนใหม่เลือกเรียนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มากที่สุดในนครนิวไทเป นักเรียนที่เลือกเรียนสวนมากไม่ใช่บุตรผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ แต่มีความสนใจในการเรียนภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก

เฉิน หุ้ยหลาน (陳惠蘭) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนาม รับหน้าที่เป็นครูสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ให้กับโรงเรียนถึง 8 แห่ง ซึ่งเป็นครูสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่รับหน้าที่สอนในหลายๆ โรงเรียนมากที่สุดคนหนึ่ง เธอเริ่มผันตัวมาสอนภาษาเวียดนามตั้งแต่ปี 2014 และได้สั่งสมประสบการณ์การสอนมาหลายปี ในระหว่างการสอน เธอจะนำการเล่นเกมมาประกอบการสอนด้วย เช่น การทอยลูกเต๋า เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนถามตอบ นอกจากนี้ ในช่วงวันหยุด เธอได้เข้าร่วมชมรมบุคลากรผู้สอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการ

เฉิน ซานหล๋าน (陳珊蘭) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวอินโดนิเซียได้รับหน้าที่เป็นครูสอนภาษาอินโดนิเซียในโรงเรียน 5 แห่ง เป็นครูสอนภาษาอินโดนิเซียที่สอนหลายๆ โรงเรียนมากที่สุด เธอกล่าวว่า นอกจากการสอนภาษาแล้ว ยังได้สอนนักเรียนทำอาหารอินโดนิเซีย เช่น ข้าวคลุกขมิ้น ขนม Ondeh- Ondeh รวมทั้งสอดแทรกถึงวัฒนธรรมอาหารการกินให้กับนักเรียนด้วย และเธอได้ใช้โอกาสเนื่องในวันแม่ของอินโดนิเซียที่ตรงกับวันที่ 22 ธ.ค. ให้นักเรียนได้ลองสวมใส่ชุดประจำชาติอินโดนิเซีย และใช้ภาษาอินโดนิเซียเขียนการ์ดวันแม่เพื่อแสดงความรักแก่แม่ของตนเองด้วย

อู๋ อี๋เจิน (吳宜真) ผู้อำนวยการกองการให้คำปรึกษาการศึกษาทางวัฒนธรรมผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ สำนักการศึกษานครนิวไทเปกล่าวว่า การทำงานร่วมกับผู้คนที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ต้องเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่าง และเข้าใจซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการในบุคลากรในอนาคต คลาสสอนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ไม่ได้สอนแค่ภาษาเท่านั้น ยังเป็นการเรียนรู้วัฒนะรรมต่างประเทศด้วย และหวังว่าจะเป็นการสอนที่ไม่มีพรมแดนมาขวางกั้น ให้นักเรียนได้เข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีความเคารพในสิ่งที่แตกต่าง พัฒนาข้อได้เปรียบของตนเอง กลายเป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ

เฉิน ซานหล๋าน (陳珊蘭) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ เป็นครูสอนภาษาอินโดนิเซีย (ภาพจาก รัฐบาลนครนิวไทเป)

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading