[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ผู้แปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)
กระทรวงแรงงานได้ออกจดหมายเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ระบุว่า เมื่อคู่สมรสของลูกจ้าง (รวมถึงแรงงานข้ามชาติ) หากมีการให้กำเนิดบุตร "ที่ต่างประเทศ" นายจ้างควรให้สิทธิในการลาได้ 5 วัน เพื่อให้ลูกจ้างได้ไปอยู่เป็นเพื่อนภรรยาตอนคลอด ถึงแม้จะอยู่คนละประเทศก็มีสิทธิลาได้ ขอแค่มีเอกสารยืนยัน
เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคทำให้มีข้อจำกัดและเงื่อนไขหลายประการ ในการเข้า-ออกประเทศ ในกรณีนี้มีบางบริษัทได้ส่งเรื่องถึงกระทรวงแรงงานว่า หากคู่สมรสของพนักงานได้มีการให้กำเนิดบุตรนอกไต้หวัน และพนักงานไม่ได้เดินทางออกนอกประเทศไปอยู่เป็นเพื่อนภรรยา ในกรณีแบบนี้ยังสามารถขอลากับทางบริษัทได้หรือไม่
คุณหวงเว่ยเฉิน(黃維琛) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารแรงงานและความเท่าเทียมกันในการจ้างงานของกระทรวงแรงงานระบุว่า ตามกฎหมายความเท่าเทียมระหว่างเพศในการทำงาน นายจ้างควรให้สิทธิลูกจ้างผู้เป็นพ่อสามารถลาได้เป็นเวลา 5 วัน เพื่อไปอยู่เป็นเพื่อนภรรยาในระหว่างช่วงคลอดบุตร ในช่วงเวลานี้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าตอบแทนเงินเดือนตามปกติ การอยู่เป็นเพื่อนภรรยาในระหว่างการคลอดนั้นทำได้หลายวิธี เช่น วิดีโอคอล โทรศัพท์ ไม่จำเป็นต้องอยู่เคียงข้างก็ถือว่าเป็นการอยู่เป็นเพื่อน
อ่านข่าวเพิ่มเติม : รัฐบาลเมืองผิงตงจัดกิจกรรม "母語嘉年華" เชิญชวนลูกหลานของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มาร่วมเล่นเกมส์
นอกเหนือจากกรณีข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกหลายกรณีที่เกิดข้อสงสัยว่าสามารถลาได้ไหม ในที่นี้กระทรวงแรงงานระบุว่า ขอเพียงแค่คู่สมรสของพนักงานอยู่ในช่วงของการคลอดบุตร ไม่ว่าจะในหรือนอกไต้หวันก็ตาม พนักงานสามารถลาเพื่อไปอยู่เป็นเพื่อนได้ 5 วัน
การลาเพื่อคลอดบุตรคือการลาแบบได้รับค่าตอบแทนตามเดิมเป็นเวลา 5 วัน สามารถลาก่อนหรือหลังของวันคลอดบุตร 15 วัน การยื่นเรื่องขอลาสามารถยื่นได้จนถึงวันที่ภรรยาคลอดบุตร ช่วงระยะเวลาในการลาไม่จำเป็นต้องลาติดต่อกัน 5 วัน คุณสามารถเว้นระยะการลาจนครบ 5 วันได้ ในการยื่นเอกสารรับรองการคลอดบุตร สามารถยื่นหลังจากที่ให้กำเนิดบุตรแล้วได้ เมื่อพนักงานยื่นเรื่องขอลา นายจ้างไม่สามารถปฏิเสธการลางานของพนักงานในทุกกรณี และไม่สามารถหักค่าโบนัส หรือมีการลงโทษอื่นๆที่ไม่เอื้ออำนวยต่อพนักงาน
อ่านข่าวเพิ่มเติม : อย่าตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม! ตำรวจเมืองเกาสงและยูทูปเบอร์ชื่อดังส่งเสริม "การต่อต้านการฉ้อโกง"