[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานข่าวของ ‘THE STANDARD’ บรรจุภัณฑ์เบอร์เกอร์หรืออาหารฟาสฟู้ดส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ล้วนทำมาจาก ‘พลาสติก’ หรือ ‘กระดาษ’ ที่ใช้เวลาย่อยสลายนานหลายปี ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงพลาสติกบางประเภทก็มีสารเคมีที่ส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์อีกด้วย
อ่านข่าวเพิ่มเติม: สวนวชิรเบญจทัศหรือสวนรถไฟดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ซากุระเมืองไทยกำลังบานเต็มพื้นที่สวยงามมากๆ
หรือแม้แต่กระดาษที่ทนต่อไขมันก็เคลือบด้วยพลาสติก และสารเคมีอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น สารโพลีฟลูออโรอัลคิล (PFAS) ที่สามารถสะสมในสิ่งแวดล้อมและร่างกายมนุษย์ แต่ในอนาคตเราอาจได้เห็นบรรจุภัณฑ์แบบอื่นนอกเหนือจากพลาสติก เพราะล่าสุดนักวิจัยจาก Flinders University ในออสเตรเลีย พร้อมด้วยบริษัทวัสดุชีวภาพสัญชาติเยอรมันได้พัฒนาวัสดุเคลือบโพลีเมอร์ชีวภาพที่ทำจาก ‘สาหร่าย’ ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหามลภาวะของบรรจุภัณฑ์ได้
อ่านข่าวเพิ่มเติม: FUNNY BUNNY ร้านคาเฟ่ที่เปิดขึ้นเพื่อเลี้ยงดูกระต่ายที่ถูกทอดทิ้ง เปิดมาแล้ว 2 ปีกว่ามีกระต่าย มากว่า 30 ตัว
Dr.Zhongfan Jia หัวหน้านักวิจัยจากสถาบัน Flinders Institute for Nanoscale Science and Technology อธิบายว่า สาหร่ายที่นำมาทำบรรจุภัณฑ์นั้นสามารถรีไซเคิลได้ เนื่องจากสารสกัดจากสาหร่ายทะเลมีโครงสร้างคล้ายกับเส้นใยธรรมชาติที่ใช้ทำกระดาษ สาหร่ายเหล่านั้นมีถิ่นกำเนิดในแถบชายฝั่งทางใต้ของออสเตรเลีย ซึ่งบริษัทวัสดุชีวภาพสัญชาติเยอรมันกำลังพยายามขยายการผลิตจากห้องปฏิบัติการไปยังโรงงาน ซึ่งทางทีมนักวิจัยก็ยังคงหาแนวทางที่จะปลูกสาหร่ายได้อย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นจนจบ