img
:::

“งานประชุมการดูแลสุขภาพอัจฉริยะไต้หวัน-ไทย 2023” แชร์ประสบการ์การบูรณาการ AI เข้าสู่ระบบการแพทย์

รพ.จางฮั่วคริสเตียน ได้เข้าร่วม  “งานประชุมการดูแลสุขภาพอัจฉริยะไต้หวัน-ไทย 2023” ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ  ภาพ/จากศูนย์ภารกิจทางการแพทย์ต่างประเทศ รพ.จางฮั่วคริสเตียน
รพ.จางฮั่วคริสเตียน ได้เข้าร่วม “งานประชุมการดูแลสุขภาพอัจฉริยะไต้หวัน-ไทย 2023” ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ภาพ/จากศูนย์ภารกิจทางการแพทย์ต่างประเทศ รพ.จางฮั่วคริสเตียน
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง : จารุวรรณ สุทธิธนกูล (朱芝瑜)

เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมการแพทย์ของไต้หวันไปสู่ระดับโลก ภายใต้นโยบายมุ่งใต้ใหม่ รพ.จางฮั่วคริสเตียน ได้เข้าร่วม  “งานประชุมการดูแลสุขภาพอัจฉริยะไต้หวัน-ไทย 2023” ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยงานในครั้งนี้สามารถดึงดูดบุคลากรทางการแพทย์ของไทยและไต้หวันเข้าร่วมราว 250 คน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การสัมมนาในครั้งนี้ จะสามารถทำให้ผู้เข้าร่วมงาน ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และแบ่งปันประสบการ์การบูรณาการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้าสู่ระบบการแพทย์ เพื่อขยายความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและไต้หวัน

งานในครั้งนี้สามารถดึงดูดบุคลากรทางการแพทย์ของไทยและไต้หวันเข้าร่วมราว 250 คน ภาพ/จากศูนย์ภารกิจทางการแพทย์ต่างประเทศ รพ.จางฮั่วคริสเตียน

กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ ภายใต้นโยบายมุ่งใต้ใหม่ ได้เปิดตัวยุทธศาสตร์ “1 ประเทศ 1 ศูนย์การแพทย์”โดยได้คัดเลือก 6 ประเทศเป้าหมาย ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย พร้อมมอบหมายให้สถาบันการแพทย์ไต้หวัน มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในการแลกเปลี่ยนทางการแพทย์โดยตรง กับสถาบันการแพทย์ในแต่ละประเทศ

แบ่งปันประสบการ์การบูรณาการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้าสู่ระบบการแพทย์ เพื่อขยายความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและไต้หวัน ภาพ/จากศูนย์ภารกิจทางการแพทย์ต่างประเทศ รพ.จางฮั่วคริสเตียน

อ่านข่าวเพิ่มเติม : “โครงการสานฝันสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และบุตรธิดา ครั้งที่ 10” เริ่มเปิดรับสมัครแล้ว!

ทั้งนี้ รพ.จางฮั่วคริสเตียน ซึ่งรับผิดชอบด้านยุทธศาสตร์ในประเทศไทย ได้นำเสนอวิธีการพัฒนาแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อประยุกต์ใช้ในกระบวนการดูแลรักษาเชิงคลินิกและการพยากรณ์โรค ใน “งานประชุมการดูแลสุขภาพอัจฉริยะไต้หวัน-ไทย 2023” ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเวชกรรมสาขาอายุรกรรม สถาบันโรคทรวงอก ได้แบ่งปันประสบการณ์การรักษา และชี้ให้เห็นว่า AI สามารถคาดการณ์ช่วงเวลาในการถอดเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยที่เหมาะสมได้ หวังว่าในอนาคตจะสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยหนักชาวไทยต่อไป

นอกจากนี้ ภายในงาน ยังมีการนำเสนอ แผนการรักษาพยาบาลต่างๆ การใช้เทคโนโลยี AI ในการแพทย์แม่นยำ และการสาธิตเทคโนโลยี 5G การสร้างภาพ 3 มิติ การตรวจหามะเร็งปอด ฯลฯ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและไต้หวัน

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading