img
:::

'โรคกระดูกและข้อ' ไม่แก่ก็ป่วย เพราะปัจจัยเสี่ยงมีมากกว่าเรื่องอายุ

โรคกระดูกและข้อที่เกิดขึ้นจากภาวะเสื่อมของร่างกาย มักจะเป็น "โรคข้อเสื่อม"
โรคกระดูกและข้อที่เกิดขึ้นจากภาวะเสื่อมของร่างกาย มักจะเป็น "โรคข้อเสื่อม"

ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย เนื่องจากประเทศกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไม่ได้จำกัดเพียงแค่อายุ เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เสี่ยง เช่น เพศ พฤติกรรมการใช้ชีวิต และความแข็งแรงของร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง มักมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมและปัญหากล้ามเนื้อมากขึ้น

โรคกระดูกและข้อที่พบได้บ่อย ได้แก่ ข้อเสื่อม เช่น กระดูกต้นคอเสื่อม กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม หรือกระดูกพรุน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่กระดูกบางและเปราะมากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการหกล้มและกระดูกหัก ซึ่งบางรายอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือพักฟื้นนาน

เพื่อป้องกันโรคดังกล่าว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้สะสมต้นทุนร่างกายตั้งแต่วัยรุ่นหรือวัยทำงาน เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอ และหมั่นตรวจคัดกรองมวลกระดูกในช่วงอายุที่เหมาะสม โดยเฉพาะเพศหญิงที่มีความเสี่ยงกระดูกพรุนสูงกว่าผู้ชายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลังหมดประจำเดือน

สำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการ เช่น ข้อเข่ามีเสียง ขัด หรือปวดเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งดูแลแบบองค์รวม เช่น การกายภาพบำบัด การวางแผนการรักษาเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำ รวมถึงการปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในระยะยาว

ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม รพ.พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ให้บริการรักษาผู้ป่วยตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การผ่าตัด ไปจนถึงการฟื้นฟูอย่างครบวงจร เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยที่ต้องการผลลัพธ์การรักษาที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับแต่ละบุคคลต้องสะสมต้นทุน ลดโอกาสป่วย

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading