img
:::

หลีชิวเซียงแต่งงานย้ายมาอยู่ในไต้หวันนานกว่า 20 ปี ชื่นชมไต้หวันว่าเป็นประเทศที่เป็นมิตรต่อผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่

หลีชิวเซียงล่ามแปลภาษาของสำนำงานตรวจคนเข้าเมืองมาร่วมแชร์ประสบการณ์การแต่งงานมาอยู่ในไต้หวัน ภาพ/ดึงมาจาก National Education Radio
หลีชิวเซียงล่ามแปลภาษาของสำนำงานตรวจคนเข้าเมืองมาร่วมแชร์ประสบการณ์การแต่งงานมาอยู่ในไต้หวัน ภาพ/ดึงมาจาก National Education Radio
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ร่วมกับรายการ ‘สหประชาชาติสุขสันต์’ สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาแห่งชาติไต้หวัน (National Education Radio) คอยรายงานเรื่องราวของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน ในตอน ‘ทำความรู้จักกับเรื่องราวชีวิตของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว’ (ออกอากาศทางสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาแห่งชาติไต้หวัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม) โดยมีพิธีกร หวังลี่หลัน (王麗蘭) และ หรวนซื่อเหมยอิง (阮氏梅英) ได้เรียนเชิญ หลีชิวเซียง (黎秋香) ล่ามแปลภาษาของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมาให้สัมภาษณ์ พูดคุยกับผู้อ่านเกี่ยวกับวิธีการเอาชนะความยากลำบากต่าง ๆ ในสังคมไต้หวันของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เมื่อ 20 ปีก่อน ในขณะเดียวกันก็ได้แนะนำให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เรียนภาษาจีนอย่างจริงจัง เพราะภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดีที่สุดในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  นอกจากนี้ยังได้มีการแนะนำชั้นเรียนให้คำปรึกษาในการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตในสังคมของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง  เพื่อให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่พึ่งมาอาศัยอยู่ในไต้หวันปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนพี่น้องบ้านเดียวกันต้องคอยให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วย

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ยังได้นำเรื่องราวของทางรายการมาจัดทำเป็นบทความ 5 ภาษา ได้แก่ จีน อังกฤษ เวียดนาม ไทย และอินโดฯ เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ฟังเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในต่างประเทศของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มากขึ้น  

อ่านข่าวเพิ่มเติม: โครงการสร้างฝันของสะใภ้ไต้หวันหลินยวี่เมิ่ง ทำให้อิสราเอลได้มองเห็นไต้หวัน 

หลีชิวเซียงแต่งงานย้ายมาอยู่ไต้หวันนานกว่า 20 ปี ภาพ/ดึงมาจาก National Education Radio

“สังคมไต้หวันเมื่อ 20 ปีก่อน การดำรงชีวิตของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เป็นยังไงบ้าง” หลีชิวเซียง ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนามที่แต่งงานย้ายมาอาศัยอยู่ในไต้หวันนานกว่า 20 ปี เล่าว่า ในตอนนั้นอินเตอร์เน็ตยังไม่สะดวก ค่าโทรศัพท์ก็แพง เลยไม่ค่อยได้ติดต่อกับญาติ ๆ หลังจากแต่งงานกว่าจะมีโอกาสได้กลับไปเยี่ยมบ้านเกิดก็ผ่านไปแล้ว 10 ปี ความยากลำบากต่าง ๆ เหล่านี้ มันลำบากจนเรามิอาจจะบรรยายออกมาได้หมด ทำเอา หร่วนซื่อเหมยอิง พิธีกรสาวชาวเวียดนามเหมือนกันอดพูดไม่ได้ว่า “ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในสมัยนั้น นอกจากจะต้องดูแลครอบครัวแล้ว ยังต้องฝึกฝนภาษาจีนด้วยตนเอง อีกทั้งอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารกับคนที่บ้าน เรื่องราวความคับข้องใจเหล่านี้ทำได้เพียงจัดการตนเอง”

หลีชิวเซียงเล่าต่อว่า ในสมัยก่อนตามท้องถนนแทบจะไม่มีร้านขายของหรือร้านอาหารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลย ทุกครั้งที่คิดถึงรสชาติอาหารบ้านเกิด ก็ต้องรถประจำทางไปไกล ๆ ถึงจะได้กินบ๊ะหมี่รสชาติเวียดนามสักชาม แต่รสนั้นก็เป็นรสชาติของคนที่นี่ไปแล้ว ถ้าหากจะลงมือทำเอง นอกจากจะต้องยุ่งยากในการหาเครื่องปรุงต่าง ๆ ให้ได้ครบแล้ว เรายังต้องคอยกังวลอีกว่าทางบ้านของสามีเขาจะรับในรสชาติอาหารบ้านเกิดของเราได้มากน้อยขนาดไหน ดังนั้นตนเองทำได้เพียง นาน ๆ ทำกินครั้ง ในสมัยนั้นการที่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่คนหนึ่งจะได้สัมผัสรสชาติอาหารบ้านเกิดของตนเองอย่างมีความสุขจริง ๆ นั้นมันสุดแสนจะยากลำบากเอามาก ๆ

อ่านข่าวเพิ่มเติม: จากเด็กดื้อสู่นิทรรศการภาพยนตร์นานาชาติ เหงียนทูหั่งทอดสะพานระหว่างไต้หวันและเวียดนามในการได้รู้จักกันอีกครั้ง

หลีชิวเซียงสนับสนุนให้ลูกเรียนภาษาแม่ของตนเอง ภาพ/ดึงมากจากคลังภาพ Pixabay

ผ่านความพยายามมากว่า 20 ปี สังคมไต้หวันจากเดิมที่เคยมีการแบ่งแยกผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ จนเกิดความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ กระทั่งปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะสาขาอาชีพใดเราต่างเห็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่มีความสามารถมากมายแฝงอยู่ด้วย หลีชิวเซียงกล้าพูดได้เลยว่า “ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในปัจจุบันมีความสุขมาก ๆ” เพราะไม่เพียงแต่ภาครัฐที่คอยให้บริการที่เป็นมิตรต่อผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เท่านั้น แต่ยังมีการจัดชั้นเรียนให้คำปรึกษาในการปรับตัวให้เข้ากับการดำรงชีวิตในสังคมแก่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ด้วย และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในแต่ละท้องที่ยังมีสถานีบริการไว้คอยบริการ เดินออกไปข้างนอกไม่กี่ก้าวก็เจอร้านขายของหรือร้านอาหารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ในยุคนี้อยากจะติดต่อสื่อสารกับคนที่บ้านก็สะดวกสบายเป็นอย่างมาก ที่สำคัญที่สุดคือ “อยากกลับบ้านเมื่อไหร่ก็กลับได้”

หลีชิวเซียงกล่าวว่า ปัจจุบันไต้หวันถือเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้าในเรื่อง ‘การแต่งงานข้ามประเทศ’ แล้ว ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เองก็ได้รับโอกาสมากมายเช่นกัน แต่ไม่ว่าจะแต่งงานย้ายมาอยู่เมื่อ 20 ปีก่อน หรือ 20 ปีหลังจากนี้ สิ่งที่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จะต้องเผชิญหน้านั่นคือเรื่องภาษาและวัฒนธรรม “การขยันหมั่นเพียรในการฝึกฝนภาษาจีนเป็นการบ้านที่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ทุกคนจะต้องเอาชนะ” คุณหลียังได้เตือนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่อีกว่า ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน คุณหลีแนะนำให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รู้จักใช้ทรัพยากรที่ทางรัฐมีให้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โรงเรียนประถมฯ มัธยมฯ หลายแห่งต่างมีการเปิดชั้นเรียนภาษาจีน รวมไปถึงชั้นเรียนภาษาแม่ของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ หวังว่าผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และบุตรหลานของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จะใช้ทรัพยากรที่ทางรัฐฯ จัดสรรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading