img
:::

รายงานสำรวจการหลอกลวงในเอเชีย ชี้ 40% ของคนไต้หวันเจอมิจฉาชีพมากกว่าหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ !

บริษัท Gogolook และ GASA ร่วมกันจัดการประชุมต่อต้านการหลอกลวงขึ้นที่ไทเป พร้อมเผยรายงานสำรวจการหลอกลวงในเอเชียฉบับแรก  ภาพ/จากเฟซบุ๊ก Gogolook
บริษัท Gogolook และ GASA ร่วมกันจัดการประชุมต่อต้านการหลอกลวงขึ้นที่ไทเป พร้อมเผยรายงานสำรวจการหลอกลวงในเอเชียฉบับแรก ภาพ/จากเฟซบุ๊ก Gogolook
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง : จารุวรรณ สุทธิธนกูล (朱芝瑜)

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา บริษัท Gogolook ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall แอปพลิเคชันระบุเบอร์ไม่รู้จัก และองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก (The Global Anti-Scam Alliance, GASA) ได้ร่วมกันจัดการประชุมต่อต้านการหลอกลวง (Anti-Scam Asia Summit, ASAS) ขึ้นที่นครไทเป ไต้หวัน พร้อมเปิดเผยรายงานสำรวจการหลอกลวงในเอเชียฉบับแรก โดยรายงานระบุว่า 40% ของชาวไต้หวันเผชิญกับการหลอกลวงมากกว่าหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ โดยประชาชนเกือบ 35% เคยเจอการหลอกลวงบนโซเชียลมีเดีย

อ่านข่าวเพิ่มเติม:กรมทางหลวงเตือน ระวังกลโกงมิจฉาชีพ! แจงรัฐไม่มีนโยบาย ส่ง SMS แจ้งเตือนประชาชนชำระค่าปรับ

แอปพลิเคชัน Whoscall แอปพลิเคชันระบุเบอร์ไม่รู้จัก ภาพ/จาก Whoscall

โดยรายงานสำรวจการหลอกลวงในเอเชียฉนับนี้ มีผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 20,000 ราย จาก 11 ภูมิภาคในเอเชีย ตามข้อมูลจากรายงานพบว่า ผู้คนมากกว่า 60% ในภูมิภาคเอเชียเผชิญกับการหลอกลวงอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ ในขณะที่ 40% ของชาวไต้หวันเผชิญกับการหลอกลวงมากกว่าหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์

ในยุคที่เทคโนโลยีและบริการทางดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนอย่างทุกวันนี้ นอกจากมิจฉาชีพจะใช้โทรศัพท์และข้อความ SMS เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงผู้คนแล้ว แอปแชตและแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดนิยม อย่างวอตส์แอป เทเลแกรม ไลน์ เฟซบุ๊ก และอินสตราแกรม ต่างถูกมิจฉาชีพนำมาใช้เป็นเครื่องมือด้วยกันทั้งนั้น นอกจากนี้ มิจฉาชีพยังเริ่มนำเทคโนโลยี AI Deepfake ซึ่งสามารถปลอมใบหน้า เสียง และท่าทาง ได้เสมือนจริง ทำให้ผู้คนหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อได้ง่าย

ผลการสำรวจ 8 ภูมิภาคในเอเชีย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 75% ต่างเคยได้รับโทรศัพท์หรือข้อความ SMS จากมิจฉาชีพ โดยชาวไต้หวันเกือบ 35% เคยเจอการหลอกลวงบนโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ ผลการสำรวจ 5 ภูมิภาคในเอเชีย พบว่า การถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลและการโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคล เป็นปัญหาที่รุนแรงที่สุด อันดับที่ 1

ตามข้อมูลจากรายงานยังพบอีกว่า การหลอกลวงชาวไต้หวันผ่านบริการดิจิทัล อาทิ การถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล/การโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคล การหลอกให้ชำระบิล การหลอกลวงให้ซื้อของหรือลงทุน และการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือเจ้าหน้าที่ธนาคาร สามารถสร้างความเสียหายให้กับหลายๆ อุตสาหกรรม ทั้งสถาบันการเงิน ผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าออนไลน์ เว็บไซต์จัดหางาน รวมไปถึงหน่วยงานรัฐบาล

การประชุมต่อต้านการหลอกลวง ณ กรุงไทเป ไต้หวัน ภาพ/จากเฟซบุ๊ก Gogolook

อ่านข่าวเพิ่มเติม

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading