[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานของ “สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์” ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ในฐานะเลขานุการร่วมของคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดทำแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ 2565 - 2570 มีผลการดำเนินงานที่สำคัญในด้านต่างๆ เช่น ด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาล ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการพัฒนากำลังคน ด้านนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้
อ่านข่าวเพิ่มเติม : กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการเพิ่มงบ “โครงการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตสำหรับเยาวชน”
ซึ่งจากการขับเคลื่อนด้านต่างๆ ส่งผลให้ปัจจุบันมีบุคลากรเข้ารับการอบรมในโครงการและหลักสูตร AI กว่า 83,000 คน และจากการจัดอันดับดัชนีความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ของรัฐบาล ประเทศไทยเลื่อนอันดับขึ้นจาก 59 เป็น 31 ทันทีที่มีแผนปฏิบัติการ AI ในปีที่ผ่านมา ดังนั้น ความร่วมมือ เรื่องการวิจัยพัฒนาชุดข้อมูลและนวัตกรรมเพื่อต่อยอดการใช้ประโยชน์ด้านปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ระหว่างกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ สวทช. ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้นักวิจัยด้าน AI ได้เข้าถึงคลังข้อมูลทางการแพทย์และยกระดับคุณภาพด้านการแพทย์สาธารณสุขให้มีความทันสมัย รวมทั้งผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์ของเอเชีย
อ่านข่าวเพิ่มเติม : SMS ให้ชำระค่าภาษีรถยนต์ กลโกงมิจฉาชีพ ! เตือนลิงค์เว็บไซต์ของรัฐต้องลงท้ายด้วย gov.tw เท่านั้น
ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ศิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว.ได้กล่าวแสดงความยินดีที่มีส่วนสำคัญในการร่วมกันผลักดันการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์เป้าหมายของแผนฯ ที่กำหนดไว้ให้เกิดผลลัพธ์อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาได้มีการเตรียมความพร้อมรับการเติบโตของการนำ AI มาใช้ได้เป็นอย่างดี และเห็นถึงความก้าวหน้าในการดำเนินการที่ผ่านมา และวันนี้ถือเป็นอีกหมุดหมายที่สำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของทั้ง 3 หน่วยงาน ที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาแพลตฟอร์มการบริหารจัดการข้อมูลเปิดด้านการแพทย์ ตลอดจนส่งเสริมระบบนิเวศการวิจัยและพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง