img
:::

ปีนี้พบผู้ป่วยอหิวาตกโรครายแรกในไต้หวัน ศูนย์ควบคุมโรคเตือนให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ

ปีนี้พบผู้ป่วยอหิวาตกโรครายแรกในไต้หวัน ศูนย์ควบคุมโรคเตือนให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ ภาพ/โดย ศูนย์ควบคุมโรค
ปีนี้พบผู้ป่วยอหิวาตกโรครายแรกในไต้หวัน ศูนย์ควบคุมโรคเตือนให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ ภาพ/โดย ศูนย์ควบคุมโรค
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดเพิ่งประกาศ ปี 2023 พบผู้ป่วยอหิวาตกโรครายแรกในไต้หวัน เป็นชายชาวไต้หวันอายุ 20 ปี ชายคนนี้เริ่มมีอาการปวดท้องและท้องร่วงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน และมีอาการท้องร่วงมากถึง 15 ครั้งต่อวัน ต่อมาในวันรุ่งขึ้นเขาได้รับการยืนยันว่าติดเชื้ออหิวาตกโรค หลังแพทย์ชักประวัติพบว่าชายคนดังกล่าวรับประทานซาซิมิและหอยนางรมดิบ ปัจจุบันผู้ป่วยรายนี้ไม่มีอาการท้องเสียแล้ว

อ่านข่าวเพิ่มเติม : เตือนชาวต่างชาติ ก่อนออกนอกประเทศต้องไปแจ้งยกเลิกใช้รถหรือโอนรถให้เรียบร้อย เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับ

ปีนี้พบผู้ป่วยอหิวาตกโรครายแรกในไต้หวัน ศูนย์ควบคุมโรคเตือนให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ ภาพ/นำมาจาก freepik

โรคอหิวาตกโรค เป็นโรคที่ดังมากในอดีต ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยนั้นน้อยลง แต่ถึงอย่างนั้น เราก็ยังคงต้องระวัง เพราะมีผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรคอยู่ตลอด ซึ่งจริง ๆ แล้วโรคนี้ถ้ารักษาได้อย่างทันท่วงที จะสามารถหายได้ภายใน 1-5 วัน แต่หากปล่อยไว้ให้อาการรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งอาการอหิวาตกโรคจะมีอาการ ถ่ายเหลวเป็นน้ำปริมาณมากและบ่อย มีลักษณะเหมือนน้ำซาวข้าว อาจมีกลิ่นเหม็นคาว ผู้ป่วยอาจอุจจาระไหลออกมาโดยไม่รู้ตัวได้ คลื่นไส้อาเจียนอยู่หลายชั่วโมง แต่มักไม่มีไข้ และไม่มีอาการปวดท้อง รู้สึกกระหายน้ำมาก อ่อนเพลีย หากอาการรุนแรง มักจะมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะเลือดเป็นกรด ริมฝีปากแห้ง เป็นตะคริว ตัวเย็น เป็นต้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม : สิ่งที่ต้องรู้สำหรับการใช้งานบัตรผ่านรายเดือน TPASS ใช้รถไฟไต้หวันข้ามเขตจะถูกเรียกเก็บเงินเต็มจำนวน

โรคอหิวาตกโรค เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae ในทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน โดยเชื้อจะไปอยู่ที่บริเวณลำไส้ และจะสร้างพิษออกมา โดยพิษนั้นจะทำปฏิกิริยากับเยื่อบุผนังลำไส้เล็ก กระตุ้นให้ร่างกายขับน้ำ ทำให้เกิดอาการหลัก คือ ถ่ายเหลวอย่างรุนแรง จนนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและแร่ธาตุกะทันหัน เชื้ออหิวาตกโรคมักจะอยู่ในอุจจาระของผู้ป่วย ซึ่งในระยะนี้จะนำมาสู่การแพร่กระจายเชื้อ โดยมักมาจากการที่แมลงวันมาตอมอุจจาระ แล้วนำเชื้อไปติดอาหารหรือน้ำดื่มต่าง ๆ นอกจากนี้ เชื้ออหิวาตกโรคจะไม่สามารถอาศัยอยู่ในภาวะที่เป็นกรดได้ ดังนั้น ผู้ที่มีกรดในกระเพาะต่ำมักจะติดเชื้อตัวนี้ได้ง่าย เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่กินยาลดกรด หากประชาชนมีอาการน่าสงสัยให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว สำหรับข้อมูล ที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคหรือโทรฟรีสายด่วนป้องกันการแพร่ระบาด 1922

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading