เทศกาล "ปจุมแบน" (Pchum Ben) หรือมีหมายความว่า “การประชุมกันเพื่อเซ่นไหว้” เป็นเทศกาลทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งจะจัดขึ้นตั้งแต่แรม 1 ค่ำ ถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ตามปฏิทินตามปฏิทินจันทรคติ ถือเป็นอีกหนึ่งเทศกาลที่มีความสำคัญและมีความหมายสำหรับชาวกัมพูชา สามารถเปรียบได้กับเทศกาลเชงเม้งของไต้หวัน เนื่องจากที่เมืองไถจงมีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวกัมพูชาจำนวนมาก ผู้แทนประชาชนในท้องถิ่น จึงได้เสนอต่อ รัฐบาลเมืองไถจง ว่า ให้ช่วยจัดหาสถานที่จัดงานที่เหมาะสม ตลอดจนให้ความช่วยเหลือดูแล และส่งเสริมประเพณีของพี่น้องชาวกัมพูชาเหล่านี้
อ่านข่าวเพิ่มเติม:สตม.ทำ “แบบสำรวจความต้องการสำหรับพี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน ประจำปี 2023” หวังยกระดับมาตรฐานชีวิต
ชาวกัมพูชาจะไปที่วัด เพื่อทำบุญ ตักบาตร อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ให้กับญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ภาพ/จากทวิตเตอร์@FX_PP
ตามความเชื่อของศาสนาพุทธ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเมื่อตายไปแล้ว ย่อมต้องกลับมาเกิดใหม่ เพื่อชดใช้กรรมชั่วที่ได้เคยทำไว้ แต่ยังมีวิญญาณบางดวงที่วนเวียนเป็น "เปรต" ไม่สามารถไปผุดไปเกิดได้ ชาวกัมพูชาเชื่อว่าในช่วงเทศกาล "ปจุมแบน" ดวงวิญญาณ จะถูกปลดปล่อยให้ออกไปหาญาติมิตรที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยช่วง 14 วันแรกจะมีการทำบุญให้กับดวงวิญญานเหล่านี้ และในวันสุดท้ายของเทศกาลจะมีการจัดพิธีกรรมถวายอาหาร อุทิศส่วนบุญส่วนกุศล บรรเทาความทุกข์ยากของเหล่าดวงวิญญานทั้งหลาย เพื่อให้สามารถกลับไปเกิดใหม่อีกครั้ง เทศกาล "ปจุมแบน" นอกจากจะเป็นเทศกาลที่ใช้แสดงความรักและความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ยังเป็นช่วงเวลาแห่งการพบปะและเฉลิมฉลองร่วมกันของคนในครอบครัวอีกด้วย
ในทุกๆ ปี ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวกัมพูชาราวหนึ่งพันคนในเมืองไถจง จะมารวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาล "ปจุมแบน" แต่เนื่องจากไม่มีสถานที่จัดงานที่เหมาะสม ที่ผ่านมา จึงได้ใช้สวนสาธารณะเป็นสถานที่จัดงาน ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้รับความช่วยเหลือจาก “สมาคมพี่น้องสตรีชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในไต้หวัน” (南洋台灣姊妹會) ทำให้สามารถขอยืมหอประชุมในโรงเรียนเป็นสถานที่จัดงานได้ ภายหลัง เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด ทำให้ไม่สามารถใช้สถานที่เดิมได้อีกต่อไป หลังตัวแทนประชาชนในท้องถิ่นพบเห็บปัญหา จึงได้เสนอแนะต่อ รัฐบาลเมืองไถจง ให้ช่วยเหลือดูแล จัดหาสถานที่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมให้พี่น้องชาวกัมพูชาเหล่านี้