เกาะภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับ World Class ที่ปรากฏอยู่บนแผนที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของโลก ปัจจุบันภูเก็ตสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวปีละกว่า 3 แสนล้านบาท ก่อนจะเกิดวิกฤติ โควิด-19 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยี่ยมเยือนภูเก็ตกว่า 14 ล้านคน แม้ว่าในปี 2566 นักท่องเที่ยวจะมาเยือนภูเก็ตน้อยกว่าเดิมคือประมาณ 9 ล้านคนแต่ก็ทำรายได้จากการท่องเที่ยวได้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด-19 ซึ่งเท่ากับว่านักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูงในกลุ่มท่องเที่ยวคุณภาพเข้ามาท่องเที่ยวในภูเก็ตมากขึ้น
กว่าจะมาเป็นเกาะท่องเที่ยว world class อันดับต้นๆของโลก "ภูเก็ต" มีเรื่องราวประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ จากเหมืองแร่ดีบุก กลายเป็นเกาะที่เป็นที่รู้จักจากภาพยนตร์เจมส์บอนด์ จนมาเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกที่ต้องวางทิศทางท่องเที่ยวในอนาคตอย่างถูกต้องและยั่งยืน/Wikimedia Commons
ล่าสุดเว็บไซต์ bounce เผยผลการจัดอันดับเกาะท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก (The best island destinations) ประจำปี 2567 โดย “ภูเก็ต” ประเทศไทย คว้าอันดับหนึ่งมาครองได้ด้วยคะแนนเต็มสิบ จากปัจจัยความสวยงามของธรรมชาติ ความหลากหลายของชาดหาด กิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยว ราคาที่พัก ราคาเครื่องดื่ม และด้านสภาพอากาศและอุณหภูมิที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ
แม้ชื่อเสียงของภูเก็ตในเรื่องของการท่องเที่ยวจะโดดเด่น แต่จริงๆแล้วความน่าสนใจของภูเก็ตมีมากกว่าการท่องเที่ยว แต่ในแง่ของประวัติความเป็นมาของภูเก็ตจากจังหวัดที่มีรายได้สูงจากเหมืองแร่ดีบุก จนมาเป็นที่โด่งดังจากการตั้งกองถ่ายภาพยนตร์เจมส์บอนด์ มาจนถึงการท่องเที่ยวระดับโลกในปัจจุบันล้วนมีเรื่องราวที่มีความน่าสนใจ
เมื่อจดหมายถึงมือ อัลเบิร์ต โรโมโล บร็อคโคลี ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เจมส์บอนด์ในขณะนั้น เขาได้ตัดสินใจแวะมาที่ภูเก็ตก่อนที่จะไปธุระที่สิงคโปร์ โดยบอกว่ามีเวลามาแค่ 1 วัน แต่เมื่อมาถึงภูเก็ตแล้วคุณวิจิตรและทีมงานได้พาไปดูสถานที่ทะเลเบริเวณเขาพิงกัน ซึ่งเสน่ห์และความสวยงามของสถานที่ทำให้ บร็อคโคลียกเลิกนัดที่สิงคโปร์และอยู่เก็บภาพสถานที่ถ่ายทำอยู่นานถึง 3 วัน ก่อนกลับไปประชุมกับทีมสร้างภาพยนตร์ที่อังกฤษแล้วส่งจดหมายกลับมาบอกว่าได้เลือกโลเกชั่นที่นี่เป็นสถานที่ถ่ายทำ ภูเก็ตและพังงาจึงมีโอกาสต้อนรับกองถ่ายระดับโลก และสื่อมวลชนต่างประเทศจากหลายสำนัก ซึ่งตรงนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่คำว่าภูเก็ตเป็นที่รู้จักแพร่หลายในยุโรป และเมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายนักท่องเที่ยวก็มาท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์ในเรื่องนี้
นักท่องเที่ยวคุณภาพคือความยั่งยืน
คุณวิจิตรกล่าวว่าอนาคตการท่องเที่ยวของภูเก็ตนั้นสิ่งสำคัญมากกว่าการสร้างโครงสร้างพื้นฐานคือการทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวภูเก็ตอย่างยั่งยืน
“ปี 2566 ที่ผ่านมาภูเก็ตสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 3 แสนล้านบาท มีนักท่องเที่ยวมาเยือนกว่า 9 ล้านคน แม้ในแง่ของจำนวนของนักท่องเที่ยวจะยังไม่กลับมาเท่ากับช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ที่มีนักท่องเที่ยวกว่า 14 ล้านคน แต่ว่าในแง่ของรายได้จากการท่องเที่ยวนั้นกลับมาเท่ากับช่วงของโควิด-19 แล้ว จำนวนนักท่องเที่ยวจึงไม่ใช่คำตอบ แต่การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวคือหัวใจ ภูเก็ตถือว่าประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ และสามารถเป็นต้นแบบของการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ที่ไม่ต้องการนักท่องเที่ยวในปริมาณมากแต่ต้องการนักท่องเที่ยวที่มีกำลังในการใช้จ่ายเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นได้”
จุดขายของภูเก็ตนั้นไม่ใช่แค่ธรรมชาติที่สวยงาม ชายหาด น้ำทะเล เกาะแก่งที่สวยงามระดับโลกเท่านั้น แต่เสน่ห์ของภูเก็ตยังมีมิติของประวัติศาสตร์ที่หล่อหลอมจากอดีตอันเรืองรองของ “เหมืองแร่ดีบุก” ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของเมืองและผู้คนด้วย ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้ปะปนอยู่กับวิถีชีวิต อาหาร หรือแม้แต่สิ่งปลูกสร้างสไตล์ชิโนยูโรเปียน ที่อยู่ในย่านชุมชนเก่าในเมืองภูเก็ตก็มีสตอรี่และเป็นจุดขายได้เป็นอย่างดีทิศทางในอนาคตของการพัฒนาท่องเที่ยวภูเก็ตนั้นจึงต้องคำนึงถึงความยั่งยืนเป็นหลัก การท่องเที่ยวแบบ “Mass Tourism” นั้นไม่ได้เหมาะกับพื้นที่เกาะอย่างภูเก็ต เพราะการมีนักท่องเที่ยวมากเกินไปจะมีต้นทุนในการบริหารจัดการตามมาไม่น้อยเช่นกัน
จุดขายของภูเก็ตนั้นไม่ใช่แค่ธรรมชาติที่สวยงาม ชายหาด น้ำทะเล เกาะแก่งที่สวยงามระดับโลกเท่านั้น แต่เสน่ห์ของภูเก็ตยังมีมิติของประวัติศาสตร์ที่หล่อหลอมจากอดีตอันเรืองรองของ “เหมืองแร่ดีบุก” ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของเมืองและผู้คนด้วย ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้ปะปนอยู่กับวิถีชีวิต/Wikimedia Commons
โอกาสของภูเก็ตนั้นอยู่ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่าง “Wellness tourism” รวมทั้งการส่งเสริมให้เป็นเมืองสำหรับการจัดการประชุมและสัมมนาเป็น "Convention City” มีศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐานสากลจะทำให้นักท่องเที่ยวคุณภาพเข้ามามากขึ้น และเพิ่มดีมานต์การท่องเที่ยวช่วงโลว์ซีซั่นได้เป็นอย่างดี
การมีแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับพื้นที่และมีทิศทางจะส่งเสริมการท่องเที่ยวของภูเก็ตให้สามารถเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวระดับโลกได้อย่างยั่งยืน