img
:::

มีความสุขที่ได้แบ่งปัน ต้นแบบพลังสตรีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่หลีจินกาง

หลีจินกางแชร์การทำอาหารประเทศบ้านเกิดผ่านการถ่ายวิดีโอในช่วงที่มีการแพร่ระบาด ภาพ/โดย สำนักกิจการสังคมของรัฐบาลเมืองนิวไทเป
หลีจินกางแชร์การทำอาหารประเทศบ้านเกิดผ่านการถ่ายวิดีโอในช่วงที่มีการแพร่ระบาด ภาพ/โดย สำนักกิจการสังคมของรัฐบาลเมืองนิวไทเป
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

รัฐบาลเมืองนิวไทเปตีพิมพ์หนังสือ “燦爛新女力” เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งบันทึกเรื่องราวชีวิตและปรัชญาการใช้ชีวิตในไต้หวันของสตรีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ทั้ง 13 คน หนึ่งในนั้นคือ หลีจินกาง (黎金剛) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนามที่แต่งงานกับชาวไต้หวันมากว่า 20 ปี เขาและสามีมีลูกสาวด้วยกัน 3 คน เขาคอยทำงานเป็นอาสาสมัครในศูนย์ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และศูนย์ผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน และยังทำหน้าที่เป็นล่ามในองค์กรที่ได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงแรงงาน ให้บริการพี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันมาแล้วมากมาย

อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : 1 มี.ค ยกเลิกให้ชุดตรวจ ATK แก่นักเดินทางที่เดินทางเข้าไต้หวันและผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อยืนยัน

ในวันธรรมดาหลีจินกางอุทิศตนเป็นอาสาสมัคร ภาพ/นำมาจาก Facebook สำนักกิจการสังคมของรัฐบาลเมืองนิวไทเป

เมื่อหลีจินกางย้ายมาอยู่ในไต้หวันใหม่ ๆ เขาก็ประสบปัญหาในการปรับตัวให้ชินกับสภาพสังคมที่นี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่เขาตั้งครรภ์ สภาพร่างกายของเขาส่งผลต่อสภาพจิตใจโดยไม่รู้ตัว เขามักซ่อนตัวอยู่แต่ในห้อง ร้องไห้รอสามีกลับบ้าน เมื่อหลีจินกางสามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตชาวไต้หวันมากขึ้นเรื่อย ๆ เธอก็เริ่มเข้าเรียนในหลักสูตรฝึกอบรมผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ต่าง ๆ และทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครและล่ามเพื่อให้บริการผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และผู้อพยพในไต้หวันคนอื่น ๆ อย่างแข็งขัน

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาด เพื่อคลายความคิดถึงบ้านหลีจินกางและเฉินหลานหลุนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวไทยได้ถ่ายทำวิดีโอการสอนออนไลน์ภายใต้ชื่อ “防疫烹飪小教室” (ห้องเรียนสอนทำอาหารช่วงป้องกันโรคระบาด) คอยแบ่งปันเมนูอาหารที่พวกเขาถนัด วิดีโอนี้ถูกอัปโหลดลงบน Facebook อย่างเป็นทางการของศูนย์ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ มีผู้เข้าชมและแชร์กว่า 2,000 คน

อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : ลาตรวจครรภ์ไม่ถือเป็นการลาป่วย แรงงานต่างชาติมีสิทธิ์ลาคลอด ลาเลี้ยงบุตรหลังคลอดได้

หลีจินกางแชร์การทำอาหารประเทศบ้านเกิดผ่านการถ่ายวิดีโอในช่วงที่มีการแพร่ระบาด ภาพ/โดย สำนักกิจการสังคมของรัฐบาลเมืองนิวไทเป

ชื่อภาษาเวียดนามของหลีจินกาง คือ “Kim Cuong” แปลว่า “เพชร” เพราะพ่อของเขาเคยเปิดร้านทอง แต่หลังจากที่เธอย้ายมาอยู่ไต้หวัน ไม่รู้ว่าทำไม ชื่อของเธอกลายมาเป็น “จิงกาง” ปัจจุบันเธอได้เข้าร่วมในกิจกรรมรับใช้ประชาชน และเต็มใจแบ่งปัน เปลี่ยนแปลง ช่วยเหลือ จนกลายเป็นหนึ่งในต้นแบบของ “พลังสตรีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่”

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading