อาการปวดศีรษะ เป็นอาการที่พบได้บ่อยๆ ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยภายในสมอง และปัจจัยภายนอก ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพ เราจึงควรศึกษาลักษณะของอาการปวดต่างๆ และรู้ว่าอาการปวดแบบไหนเป็นอันตราย ต้องรีบพบแพทย์ ตามข้อมูลจาก “เว็บไซต์โรงพยาบาลเพชรเวช” ปวดศีรษะบอกอะไรบ้าง
1. ปวดศีรษะข้างเดียว คือ อาการของโรคไมเกรน อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่งสลับกันไป โรคนี้มักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น อาการปวดมักจะเกิดขึ้นเป็นชั่วโมง หรืออาจปวดนานหลายวัน
2. ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ คือ อาการปวดรุนแรงบริเวณรอบดวงตา ลามไปจนขมับด้านใดด้านหนึ่ง มักจะปวดตุบ ๆ เป็นชุด ๆ ในเวลาที่แน่นอน เช่น มักปวดในช่วงเดือนนี้ของทุกปี โดยการปวดจะกินเวลานานหลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือน
3. ปวดศีรษะทั้งสองข้าง เป็นการปวดศีรษะจากความเครียดเป็นครั้งคราว มักเป็น ๆ หาย ๆ หรือปวดตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป และอาจนานจนกินเวลาเป็นวันได้ ซึ่งมักพบร่วมกับการปวดไมเกรน หากมีอาการเกิดขึ้นน้อยกว่าครึ่งเดือนจะจัดว่าเป็นการปวดจากความเครียดเป็นครั้งคราว แต่หากมีอาการมากกว่า 1-3 เดือนจะถือว่าเป็นการปวดจากความเครียดแบบเรื้อรัง
4. ปวดศีรษะจากไซนัสทั้งสองข้าง มักมีอาการปวดบริเวณหน้าผาก สันจมูก รวมถึงโหนกแก้ม โดยอาการปวดจะรุนแรงขึ้นเมื่อผู้ป่วยก้มตัว หรือก้มศีรษะลง และมักมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น น้ำมูกไหล มีไข้ หรือใบหน้าบวม เป็นต้น
5. ปวดศีรษะจากเนื้องอกในสมอง จะมีอาการปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ และจะทวีความรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืนจนผู้ป่วยต้องตื่นขึ้นมากลางดึก โรคนี้จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากเพราะอาการจะกำเริบตอนเคลื่อนไหวร่างกาย และมักจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ทรงตัวลำบาก สายตาพร่ามัว ไม่มีสมาธิ เป็นต้น
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่แซวกันสนั่นโซเชียล ! ป้ายสีแดงหน้าร้านค้า อีกหนึ่งเรื่องตลกๆ ในไต้หวัน
ตามข้อมูลจาก “เว็บไซต์โรงพยาบาลเพชรเวช” การป้องกันตนเองจากโรคปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะมักมีเหตุมาจากความเครียด เมื่อเราเครียดจะทำให้นอนไม่หลับ และเกิดการพักผ่อนไม่เพียงพอ การป้องกันตัวเองที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไปเครียดจนเกินไป หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความเครียด เช่น การอดอาหาร การอดนอน เป็นต้น ปวดศีรษะ เป็นอาการที่พบได้บ่อยเพราะสามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย การดูแลเพียงสุขภาพกายจึงไม่เพียงพอ เพราะเราต้องหันมาดูแลสุขภาพจิตของตัวเราเองให้แจ่มใส ลดความเครียดลง เพื่อไม่ให้โรคปวดศีรษะถามหาได้
อ่านข่าวเพิ่มเติม: สถาบันวิจัยกล้วยไต้หวัน ผลักดันการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากกล้วยดิบ เพื่อเพิ่มมูลค่า