:::

雙語新聞-比黃金還貴! 泰國麻袋裡二手衣服的樂隊衣服與復古衣服 非常稀有的東西 ขุมทรัพย์ในกระสอบเสื้อมือสอง เสื้อวง เสื้อวินเทจ แรร์ไอเทม ราคาแพงกว่าทอง

雙語新聞-比黃金還貴! 泰國麻袋裡二手衣服的樂隊衣服與復古衣服  非常稀有的東西 ขุมทรัพย์ในกระสอบเสื้อมือสอง เสื้อวง เสื้อวินเทจ แรร์ไอเทม ราคาแพงกว่าทอง

比黃金還貴! 泰國麻袋裡二手衣服的樂隊衣服與復古衣服  非常稀有的東西

ขุมทรัพย์ในกระสอบเสื้อมือสอง เสื้อวง เสื้อวินเทจ แรร์ไอเทม ราคาแพงกว่าทอง

 

達姐曾問她的朋友,二手衣服有很多痕跡以及裂痕,為何要花錢買二手衣服,這是她得到的答案「二手衣服 NEVER DIE」。

"เสื้อยืดมือสอง NEVER DIE" นี่เป็นเหตุผล ที่เจ๊ดาเคยได้ยินบ่อยครั้ง เมื่อถามเพื่อนๆ ที่ชอบซื้อเสื้อผ้ามือสองว่า ทำไมถึงหลงใหล และยอมจ่ายเงินซื้อเสื้อเก่ามาใส่ ทั้งที่บางตัวมีรอยเปรอะเปื้อน หรือแม้กระทั่งรอยขาด

Yo (Yothin Phunsamrong) 一個對二手衣服、復古衣服充滿熱情的年輕人,從在店裡打工,現在已經擁有自己的店「Knowwhere Studio」。

ซึ่งก็คงเป็นเหตุผลเดียวกับ "โย" โยธิน พูนสำโรง หนุ่มผู้หลงใหลในเสื้อผ้ามือสอง เสื้อวินเทจ สั่งสมประสบการณ์ บวกกับแนวคิด ที่ต้องก้าวนำคนอื่นหนึ่งก้าวเสมอ จากเด็กหน้าร้าน จนมีร้านของตัวเอง ที่ชื่อว่า "Knowwhere Studio"

對於二手衣服,Yo指出,很多二手衣服都是從美國出口到其他有需要的地方如非洲、亞洲,尤其是巴基斯坦。當衣服的需求在這些國家得到了滿足,剩餘的衣服都會被拿來拍賣,很多「資本家」就會把這些衣服賣到國外去,所以在泰國的二手衣服大都是來自巴基斯坦和柬埔寨。

สำหรับเสื้อมือสองนั้น โย เล่าให้เราฟังว่า ส่วนใหญ่เป็นเสื้อที่มาจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกส่งต่อไปยังประเทศที่ยังมีความต้องการเสื้อผ้า ทั้งในโซนแอฟริกา เอเชีย และประเทศอย่างปากีสถาน และเมื่อเสื้อผ้าเหล่านี้ มีจำนวนมากกว่าความต้องการของคนในประเทศนั้นๆ ทำให้เกิด “นายทุน” ที่มาประมูลซื้อเสื้อผ้าเหล่านี้ เพื่อนำไปอัดเป็นมัด ส่งขายไปยังประเทศต่างๆ อีกทอดหนึ่ง

ซึ่งเสื้อผ้ามือสองในบ้านเรา ส่วนใหญ่จะมาจากประเทศปากีสถาน และกัมพูชา ซึ่งเราจะไม่รู้เลยว่า ในแต่ละมัดนั้นมีเสื้ออะไร แบบไหนบ้าง ถ้าโชคดี บางมัดอาจจะเจอ “หัวผ้า” ที่หมายถึงเสื้อมีราคา เป็นที่ต้องการ ขายได้ราคาแพง หรือปนมาด้วย “เสื้อน้ำสอง” เสื้อที่ไม่สามารถตั้งราคาขายต่อได้ และ “เสื้อน้ำสาม” เสื้อที่เอาไปขายเลหลังตัวละบาท ยังขายไม่ออก

Yo 提起12年前的故事,他一開始從自己喜歡聽歌,便到處去尋找一些自己喜歡的樂隊的衣服,不過當時還不知道是怎麼分辨樂隊衣服與復古衣服的真假。

โย เล่าว่า ย้อนกลับไปประมาณ 12 ปีที่แล้ว เริ่มจากการฟังเพลงก่อน จากนั้นก็ไปหาซื้อเสื้อวง หรือศิลปินที่เราชอบ ซึ่งตอนนั้นเรายังไม่รู้เลยว่า เสื้อวง หรือเสื้อวินเทจของแท้ดูกันอย่างไร พอซื้อมาแล้ว ก็มานั่งคิดว่า แล้วจะทำอย่างไร ที่จะทำให้รู้ว่า เสื้อมือสองที่เราซื้อมา เป็นของแท้ หรือปลอม

後來因為認識了一位學長,他邀請Yo到泰國乍都乍週末市場跟他一起賣二手衣服,Yo在那裡做了3年,並從那裡得到了很多分辨二手衣服的經驗,從那時候他就開始找一些成本100-150泰銖的二手衣服,然後拿來賣500泰銖,這樣就賺了很多錢了。

กระทั่งมีรุ่นพี่คนหนึ่งที่รู้จัก ชวนมาทำงานร้านเสื้อมือสอง ที่สวนจตุจักร โดยทำเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ อยู่ประมาณ 3 ปี ทำให้เราซึมซับ และรู้วิธีการดูเสื้อผ้ามือสอง จากนั้นก็เริ่มที่จะซื้อมา ขายไป เนื่องจากเราไม่มีต้นทุน ซื้อมาตัวละ 100-150 บาท นำมาขายต่อตัวละ 500 บาท ก็ได้กำไรแล้ว

賣二手復古衣服的魅力可分為兩個方面,第一在商業上,成本很低,有時候30-50泰銖可買到好幾千泰銖,但如果是一手衣服,成本100泰銖最多也差不多199泰銖,是成本的一倍,但二手衣服能夠賣到成本之1000%到3000%。

เสน่ห์ของเสื้อมือสอง เสื้อวินเทจ ขอแยกออกเป็น 2 ส่วน ถ้ามองในแง่ของธุรกิจ คือ ต้นทุนต่ำ บางตัวซื้อมา 30 บาท 50 บาท แต่นำมาขายได้หลักพัน แต่ถ้าเป็นเสื้อมือหนึ่ง เราไปรับมา 100 บาท เราขายได้แค่ 199 กำไรแค่เท่าตัว แต่เสื้อมือสอง ทำกำไรได้สูง 1,000-3,000% มันสามารถทำมูลค่าได้มากกว่า ทุนที่เราจ่ายไป

第二對於愛好收藏的人,在心理上也得到了滿足,一些二手衣服所經歷而造成的痕跡,事情的經過我們不得而知,但這些痕跡確實是一個二手衣服的魅力。

แต่ถ้าในแง่ของ นักสะสม มันให้คุณค่าทางจิตใจ เราไม่รู้เลยว่า คนที่ใช้มาก่อนหน้า ผ่านอะไรมาบ้าง อย่างรอยเลอะต่างๆ มันช่วยสร้างเสน่ห์ให้ตัวเสื้อเอง บางตัวที่ผมมี เชื่อว่าในประเทศไทย มีไม่เกิน 5 ตัว

此外,Yo還指出,以前很多人都拿錢去買很多名牌衣服,不管走到哪裡都會撞到同樣的衣服,但是如果把這些錢花在泰國很稀有的這些復古衣服,不管走到哪裡都很特別。

อีกเหตุผล โย เชื่อว่า เป็นเพราะคนที่มีกำลังซื้อหลายต่อหลายคน ที่เคยหอบเงินเข้าร้านแบรนด์เนม แต่พอหยิบมาใส่กลับพบว่า เดินไปทางไหน ก็มีคนที่ใส่ซ้ำแบบเดียวกัน แต่หากนำเงินจำนวนนั้นมาซื้อเสื้อวินเทจ ที่มีเพียงไม่กี่ตัวในประเทศไทย ใส่เดินไปทางไหน ก็แทบจะไม่เจอว่า มีคนใส่ซ้ำ

對於分辨復古衣服的真假,Yo指出80%的衣服上面會印有「Made in USA」的字眼,90年代之前衣服的接縫都會用單針,90年代之後的衣服,才開始有雙針。

สำหรับเสื้อวินเทจ โย อธิบายว่า เราจะต้องดูที่ป้าย บริเวณคอเสื้อ ส่วนใหญ่ประมาณ 80% Made in USA ถัดมาต้องดูที่ตะเข็บเสื้อ ถ้ายุคต้นปี 90 ลงมาถึง 70 เสื้อจะเย็บแบบตะเข็บเดี่ยวทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นชายเสื้อ หรือแขนเสื้อ แต่ถ้าเป็นเสื้อปี 90 ขึ้นไป จะเริ่มมีเสื้อตะเข็บคู่ ถ้าเป็นเสื้อวง ก็จะมีบอกชัดเจนว่าเป็นวงใด ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

Yo 還指出,現在不能只看「Made in USA」的字眼和衣服的接縫就分辨出其衣服的真假,因為現在越來越有很多仿冒的衣服,所以要更加地注意。

แต่ โย ก็ยอมรับว่า ตอนนี้การดูแค่ป้าย และตะเข็บ ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะได้ของแท้ เพราะมีพ่อค้าหัวใส ที่นำเสื้อเก่าที่เป็นเสื้อยืดสีพื้น ในปี 1980-1990 มาสกรีนลาย จากนั้นก็นำไปหลอกขายว่าเป็นเสื้อวินเทจ นี่คือสิ่งที่มือใหม่ที่คิดจะหันมาเล่นเสื้อวินเทจต้องระวัง

我想要留言

熱門新聞

回到頁首icon
Loading