:::

มลพิษทางอากาศอยู่ไม่ไกลตัว! วิธีปฎิบัติตัวเมื่อเกิดมลพิษทางอากาศ เพื่อสุขภาพของตนเอง

มลพิษทางอากาศอยู่ไม่ไกลตัว! วิธีปฎิบัติตัวเมื่อเกิดมลพิษทางอากาศ เพื่อสุขภาพของตนเอง

มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาของทั้งโลก นับวันยิ่งรุนแรงและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเรา ซึ่งเราต้องเรียนรู้ที่จะรับมือกับมันให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากวันนี้ (30) สภาพทั่วไต้หวัน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลาง ได้รับผลกระทบจากฝุ่นทรายจากพายุทรายขนาดใหญ่เกิดขึ้นที่เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ทางตอนเหนือของประเทศจีนตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 ต.ค.ที่ผ่านมา ทำให้คุณภาพอากาศในหลายพื้นที่ของไต้หวันอยู่ในระดับสีส้ม (Unhealthy for Sensitive Group) และสีแดง (Unhealthy) มีอากาศที่มืดมัวอย่างเห็นได้ชัด

สำหรับคุณภาพอากาศนั้นนอกเหนือจากมลพิษที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นเอง ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพอุตุนิยมวิทยา และปัจจัยต่างๆ เช่นทิศทางลมด้วย มลพิษที่เกิดขึ้นอาจพัดพามาจากที่อี่นได้ จึงทำให้คุณภาพอากาศมีความไม่แน่นอน ประชาชนจึงควรติดตามการรายงานคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง และควรดำเนินมาตรการเพื่อปกป้องสุขภาพของตนเอง และครรอบข้าง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือทำงานกลางแจ้งต้องใส่ใจสุขภาพของตนเองเป็นพิเศษ

สำหรับการโดยการปฎิบัติตัวเมื่อเกิดมลพิษทางอากาศมีดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการทํากิจกรรม หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง หากจำเป็นต้องเดินทางออกนอกอาคารให้สวมหน้ากากอนามัย

2. เด็ก คนชรา ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคที่อ่อนไหวต่อสภาพอากาศ ควรมียาฉุกเฉินพกติดตัวอยู่ตลอดเวลา หากอาการผิดปกติควรพบแพทย์ทันที

3. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ๆ มีมลพิษมาก เช่น ท้องถนน

4. งดการประกอบอาหารโดยใช้เตา การเผากิ่งไม้ใบไม้ การจุดธูป การเผาขยะ

5. ใช้พัดลมดูดอากาศออกจากในอาคาร/บ้าน และไม่เปิดหน้าต่างทิ้งไว้

6. ทำความสะอาด บ้านเรือน ด้วยผ้าชุบน้ำ หรือ ม๊อบ ไม่ควรกวาดหรือดูดฝุ่นให้ฟุ้งกระจาย

7. เปิดเครื่องกรองอากาศที่สามารถกรองอนุภาพขนาดเล็กได้

8. ผู้ใช้รถยนต์ควรเปิดโหมดให้อากาศหมุนเวียนภายในห้องโดยสาร ส่วนผู้ขี่รถจักรยานยนต์ควรสวมแว่นกันลมป้องกันฝุ่นละอองระคายเยื่อบุตาและสวมใส่หน้ากากอนามัย ปิดจมูกทุกครั้ง และต้องดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อจอดรถ

9. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ดื่มน้ำมากๆ และทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

โดยคุณภาพอากาศที่ดี (Good) จะต้องเป็นสีเขียว และมี AQI ไม่เกิน 50 สำหรับคุณภาพอากาศธรรมดา (Moderate) จะต้องเป็นสีเหลือง และมี AQI ระหว่าง 51-100 สำหรับคุณภาพอากาศที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพคือ มี AQI ตั้งแต่ 101 ขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 10 และ PM 2.5 ด้วย

การดูคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่น PM 2.5 (ภาพจาก เวปไซด์สำนักบริหารการป้องกันสิ่งแวดล้อมไต้หวัน)

แล้วฝุ่น PM 2.5 ที่เราได้ยินบ่อยๆ คืออะไร?

สำหรับ PM (Particulate Matters) เป็นคำเรียกค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ PM 10 และ PM 2.5 ส่วนตัวเลข 2.5นั้นมาจากหน่วย 2.5 ไมครอนหรือไมโครเมตรนั่นเอง ซึ่งมีขนาดเล็กมากๆ สามารถเล็ดลอดผ่านขนจมูกเข้าสู่ปอด และหลอดเลือดได้ง่าย ส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว สำหรับการสวมใส่หน้ากากอนามัยให้ใส่หน้ากากพิเศษชนิด เอ็นเก้าห้า (N95)โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจหรือโรคหัวใจเรื้อรัง เพราะหน้ากากอนามัยแบบธรรมดาไม่สามารถกรองฝุ่นซึ่งมีอนุภาคเล็กระดับไมครอนได้

ฝุ่น PM 2.5 มาจากไหน (ภาพจาก กฟผ.)

สำหรับการตรวจสอบคุณภาพอากาศในไต้หวันสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://taqm.epa.gov.tw/taqm/en/AqiMap.aspx หรือตรวจสอบคุณภาพอากาศทั่วโลกได้ที่ https://www.airvisual.com/

เช็คคุณภาพอากาศทั่วโลกที่ AirVisual (ภาพจาก เวปไซด์ AirVisual)

3

2

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading