:::

Oxford เผยผลวิจัยชี้ฉีดวัคซีน ‘AstraZeneca’ ผสม ‘Pfizer’ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีและแข็งแกร่ง

Oxford เผยผลวิจัยชี้ฉีดวัคซีน ‘AstraZeneca’ ผสม ‘Pfizer’ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีและแข็งแกร่ง/ภาพจาก THE STANDARD
Oxford เผยผลวิจัยชี้ฉีดวัคซีน ‘AstraZeneca’ ผสม ‘Pfizer’ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีและแข็งแกร่ง/ภาพจาก THE STANDARD

มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดเผยผลงานวิจัยศึกษาพบว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดของ AstraZeneca แล้วตามด้วยวัคซีนของ Pfizer-BioNTech หลังจากนั้นอีก 4 สัปดาห์ จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้รับยาได้ดีกว่าการฉีดวัคซีนตัวเดียวกันเป็นเข็มที่สอง

รายงานระบุว่า การวิจัยล่าสุดนี้เป็นการศึกษาภายใต้โครงการ Com-Cov โดยจัดตารางการฉีดวัคซีนสองสูตรของสองบริษัทดังกล่าวร่วมกัน และทิ้งช่วงระยะเวลาระหว่างเข็มแรกและเข็มสองที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการผสมวัคซีน ซึ่งผลสรุปของการศึกษาครั้งนี้ก็คือ ไม่ว่าจะเว้นช่วงระยะห่างเพียงใด การใช้วัคซีน AstraZeneca ร่วมกับวัคซีนของ Pfizer-BioNTech ล้วนช่วยทำให้เกิดสารแอนติบอดีในปริมาณสูงมากเพื่อต่อต้านการเพิ่มขึ้นของโปรตีนโคโรนาไวรัสได้เป็นอย่างดี

Oxford เผยผลวิจัยชี้ฉีดวัคซีน ‘AstraZeneca’ ผสม ‘Pfizer’ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีและแข็งแกร่ง/ภาพจาก CNBC

Oxford เผยผลวิจัยชี้ฉีดวัคซีน ‘AstraZeneca’ ผสม ‘Pfizer’ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีและแข็งแกร่ง/ภาพจาก CNBC

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ใส่ใจกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ในการเดินทางด้วยรถไฟทั้งสองในช่วงวันหยุดยาว

พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือว่า สูตรผสมของวัคซีนสองตัวข้างต้นทำให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโควิดได้อย่างแข็งแกร่ง

อย่างไรก็ตามผลการศึกษาพบว่า การตอบสนองในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายจะแตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับลำดับการฉีดก่อนหลังของวัคซีนแต่ละยี่ห้อ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า วัคซีนจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อฉีดวัคซีนของ AstraZeneca ก่อน แล้วตามด้วยวัคซีน Pfizer-BioNTech หลังจากนั้นอีก 4 สัปดาห์

ผลลัพธ์ของการวิจัยในครั้งนี้ ถือเป็นการสนับสนุนการตัดสินใจของรัฐบาลบางประเทศในยุโรปที่เริ่มมีการเสนอการใช้วัคซีนตัวอื่นสำหรับเข็มที่ 2 ซึ่งไม่ใช่ AstraZeneca หลังมีรายงานเกี่ยวกับปัญหาลิ่มเลือดแข็งตัวของผู้รับวัคซีนดังกล่าวจนครบโดสแล้ว

ผศ.แมทธิว สเนป (Matthew Snape) ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์และวัคซีนวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ซึ่งเป็นผู้รับหน้าที่หัวหน้าทีมวิจัยในครั้งนี้กล่าวว่า แม้ผลการศึกษาล่าสุดจะทำช่วยให้การวางแผนแจกจ่ายวัคซีนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถใช้เป็นคำแนะนำเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงแผนการฉีดวัคซีนสูตรต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกมาแล้วได้

ขณะเดียวกัน ผศ.สเนป ย้ำว่า การจัดการฉีดจากสูตรเดียวทั้งสองเข็มนั้นควรเป็นหลักปฏิบัติที่คงไว้เช่นเดิม ยกเว้นแต่กรณีที่มีเหตุผลจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม : โรคระบาดลุกลาม! คนงาน "ติดเชื้อ" ระหว่างการเดินทาง สำนักงานประกันสังคมกล่าว : คุณสามารถขอรับค่าชดเชยอุบัติเหตุจากการทำงานได้

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการ 830 คน และได้รับการฉีดวัคซีนห่างกัน 4 สัปดาห์ระหว่างสองเข็ม ซึ่งระยะเวลาในการฉีดระหว่างสองเข็มดังกล่าวสั้นกว่าหลักปฏิบัติทั่วไปที่อยู่ที่ระหว่าง 8-12 สัปดาห์ ทำให้ต้องรอผลการวิจัยอีกชิ้นที่จะตามมาภายในหลัง เพื่อให้การใช้วัคซีนผสมสอดคล้องกับบริบทที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน  

ทั้งนี้ผลการศึกษาเรื่องวัคซีนครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางเสียงชื่นชมหลายฝ่ายต่อรัฐบาลอังกฤษ ในการสามารถเร่งรัดการจัดหาวัคซีนและกระจายวัคซีนให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็ว โดยขณะนี้ 84.1% ของชาวอังกฤษที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ได้รับวัคซีนโควิดแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม และ  61.6% ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading