[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานข่าวของ [TAIWAN TODAY] รางวัลนักวิทยาศาสตร์หญิงยอดเยี่ยมแห่งไต้หวัน (2023 Taiwan Outstanding Women in Science) ครั้งที่ 16 ประจำปี 2023 เพิ่งประกาศรายชื่อผู้ชนะเลิศเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีดร. เฉินอวี้หรู (陳玉如) นักวิจัยพิเศษจากสถาบันเคมีของสภาวิจัยแห่งชาติ (Institute of Chemistry, Academic Sinica) ซึ่งได้นำทีมนักวิจัยเข้าร่วม “โครงการ Cancer Moonshot” ที่เกิดจากการประสานความร่วมมือระหว่าง 13 ประเทศ ในการจัดตั้งคลังข้อมูลมหัต (Big Data) ที่เก็บรวบรวมโปรติโอมิกส์ (Proteomics) ของผู้ป่วยมะเร็งปอดขึ้นเป็นแพลตฟอร์มแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เป็นผู้ได้รับรางวัล
อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : 1 มี.ค ยกเลิกให้ชุดตรวจ ATK แก่นักเดินทางที่เดินทางเข้าไต้หวันและผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อยืนยัน
ดร. เฉินอวี้หรู (陳玉如) นักวิจัยพิเศษจากสถาบันเคมีของสภาวิจัยแห่งชาติ (Institute of Chemistry, Academic Sinica) ภาพ/โดยดร. เฉินอวี้หรู (陳玉如)
โดยดร. เฉินฯ ได้นำทีมนักวิจัยค้นคว้าวิจัยโปรติโอมิกส์และเทคนิคการดัดแปลงโมเลกุลหลังการถอดรหัส พร้อมทั้งคิดค้น “เทคนิคการตรวจสอบวิเคราะห์แมสสเปกโตรเมทรีด้วยหลักการนาโน” (NanoProbe-based MassSpectrometer) ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อีกทั้งยังได้เข้าร่วมใน “โครงการ Cancer Moonshot” เมื่อปี 2017 เพื่อจัดตั้งข้อมูลมหัต (Big Data) ที่เก็บรวบรวมโปรติโอมิกส์ (Proteomics) ของผู้ป่วยมะเร็งปอด เป็นแพลตฟอร์มแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ดร. เฉินฯ กล่าวว่า ผู้หญิงไต้หวันส่วนมากไม่นิยมสูบบุหรี่ และไม่ค่อยได้ทำอาหารในครัวเรือน แต่กลับต้องประสบกับโรคมะเร็งปอด รายงานจากการวิจัยพบว่า อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม หากเทียบกับผู้ป่วยในสหรัฐอเมริกาแล้ว พบว่าปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งในกลุ่มสตรีของไต้หวัน มีส่วนเกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศและวัตถุกันเสียที่เจือปนในอาหาร
อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : ลาตรวจครรภ์ไม่ถือเป็นการลาป่วย แรงงานต่างชาติมีสิทธิ์ลาคลอด ลาเลี้ยงบุตรหลังคลอดได้
ดร. เฉินอวี้หรูเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมผู้นำของโครงการมะเร็งได้ถ่ายรูปกับโจไบเดนซึ่งขณะนั้นเป็นรองประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ภาพ/โดยดร. เฉินอวี้หรู (陳玉如)
“ยีนส์คือชีวิต โปรตีนคือโชคชะตา ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้” โดยดร. เฉินฯ ได้นำทีมวิจัยคิดค้นพัฒนาโครงการการตรวจสอบที่เกี่ยวข้อง โดยคาดหวังที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตที่เกิดจากโรคมะเร็งให้น้อยลงในเร็ววัน
ดร. เฉินฯ กล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์หญิงมีความอดทนและความมุ่งมั่นอุตสาหะเป็นอย่างสูง เรื่องราวความภาคภูมิใจที่ดร. เฉินฯ ได้ร่วมแบ่งปันในครั้งนี้ เกิดจากความมุ่งมั่นในการวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยดร. เฉินฯ เป็นคนแรกในเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่มีบุตร และเป็นคนแรกที่มีสถานะเป็นแม่ยายแล้ว