:::

สตม.เมืองไทเปลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแก่แรงงานต่างชาติ ณ สถานีรถไฟไทเป

สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ไม่ให้แรงงานต่างชาตินำเข้าและส่งผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจนเข้ามายังไต้หวัน ภาพจาก/สถานีบริการเมืองไทเป
สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ไม่ให้แรงงานต่างชาตินำเข้าและส่งผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจนเข้ามายังไต้หวัน ภาพจาก/สถานีบริการเมืองไทเป
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้เรียบเรียงและแปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

เพื่อป้องกันไม่ให้โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) บุกรุกเข้ามาในไต้หวัน เมื่อสองสามวันก่อน สถานีบริการเมืองไทเป กองพลกิจการพื้นที่เขตภาคเหนือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและกองกำลังเฉพาะกิจเมืองไทเปได้ร่วมกันลงพื้นที่ไปยังสถานีรถไฟไทเป ดำเนินการประชาสัมพันธ์ไม่ให้แรงงานต่างชาตินำเข้าและส่งผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจนเข้ามายังไต้หวัน เพื่อไม่ให้เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายโดยไม่ได้เจตนา

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ผู้ติดเชื้อในประเทศส่วนใหญ่ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน CECC จำแนก “4 อาการ” ที่พบบ่อยในผู้ติดเชื้อโอมิครอน

คุณซูฮุ่ยเหวิน (蘇慧雯) ผู้อำนวยการสถานีบริการเมืองไทเป และคุณหลินฉายหรง (林財榮) หัวหน้ากองกำลังเฉพาะกิจเมืองไทเป เมื่อไม่กี่วันก่อนได้นำเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ในช่วงขณะเวลาที่แรงงานต่างชาติเข้ารับการฉีดวัคซีน โดยเตือนไม่ให้แรงงานต่างชาตินำเข้าหรือส่งผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์เข้ามายังไต้หวัน ตามสโลแกนที่ว่า “Keep African Swine Fever at bay!”

เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองให้ความรู้แก่แรงงานต่างชาติเกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ภาพจาก/สถานีบริการเมืองไทเป

เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองให้ความรู้แก่แรงงานต่างชาติเกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ภาพจาก/สถานีบริการเมืองไทเป

นอกจากนี้ นับตั้งแต่มีการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร กองกำลังเฉพาะกิจและสถานีบริการของเมืองไทเปได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมร้านค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 257 แห่งทั่วเมืองไทเป เพื่อเตือนร้านค้าต่างๆ ว่าอย่าซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์จากแหล่งที่ไม่รู้จัก

ผอ.ซูฯ กล่าวว่า แรงงานต่างชาติจำนวนมากกระตือรือร้นและเอาใจใส่กับแนวทางการป้องกันโรคเป็นอย่างมาก  โดยพวกเขาได้มีการส่งต่อข้อมูลข่าวสารให้เพื่อนแรงงานต่างชาติประเทศเดียวกันห้ามนำหรือส่งผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา เช่น ไส้กรอก แฮม หมูหยอง และผลิตภัณฑ์ขนมที่มีส่วนผสมของน้ำมันหมู ฯลฯ เข้ามายังไต้หวัน หากมีการส่งหรือนำเข้าจะต้องรายงานต่อกรมควบคุมและกักกันโรคพืชและสัตว์ คณะกรรมการการเกษตรไต้หวันทันที

อ่านข่าวเพิ่มเติม: มท.ไต้หวันรณรงค์ไม่นำหรือส่งผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์จากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดมายังไต้หวัน

หัวหน้าหลินฯ กล่าวว่า หากคุณนำเข้าเนื้อสัตว์โดยฝ่าฝืนกฎระเบียบข้อบังคับ คุณอาจถูกจำคุกสูงสุด 7 ปี และปรับไม่เกิน 3 ล้านเหรียญไต้หวัน หากสถานการณ์รุนแรง คุณจะถูกเนรเทศออกนอกประเทศ หากคุณนำเข้าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์แบบผิดกฎหมายเป็นครั้งแรก มีโทษปรับ 200,000 เหรียญไต้หวัน ส่วนครั้งที่ 2 มีโทษปรับ 1 ล้านเหรียญไต้หวัน นอกจากนี้ หากคุณได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจนโปรดนำไปทิ้งลงในถังขยะทั่วไป ห้ามทิ้งลงในถังขยะเศษอาหารเด็ดขาด เพื่อร่วมกันปกป้องสุกรในไต้หวันไปพร้อม ๆ กัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading