【新住民全球新聞網】根據【四方報】報導,在台灣,只要是在爭取人權的現場,不論是婦女議題、轉型正義、跨國婚姻移民、精神障礙者福祉或在台灣的非公民族群,如外籍移工、漁工和難民的權益保障,都能看到一名極力為弱勢者發聲的身影,那就是台灣人權促進會(Taiwan Association for Human Rights,簡稱台權會)秘書長施逸翔。
[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานข่าวของ “4-Way Voice” ในไต้หวัน บนเส้นทางการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นในประเด็นของสตรี ความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน การแต่งงานข้ามชาติ การย้ายถิ่นฐาน สวัสดิภาพของผู้พิการทางจิตหรือประเด็นการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของกลุ่มคนที่ไม่ใช่ประชาชนไต้หวัน เช่น แรงงานต่างชาติ ลูกเรือประมง ผู้ลี้ภัย เป็นต้น เรามักจะพบเห็นบุคคลรายหนึ่งที่มุ่งมั่นช่วยเป็นกระบอกให้กับกลุ่มเปราะบางอยู่เสมอ นั่นก็คือ คุณซืออี๋เสียง (施逸翔) เลขาธิการสมาคมไต้หวันเพื่อสิทธิมนุษยชน (Taiwan Association for Human rights – TAHR)
從研究所時期就擔任台權會志工,一路參與社運與倡議行動至今,已經是台權會秘書長的施逸翔,在台權會主要負責監督各國際人權公約的落實,以及人權保障機制的建立。他特別接受《四方報》的專訪,分享他自己的倡議經驗,以及對未來人權教育的期許。
คุณซือทำงานเป็นอาสาสมัครของสมาคมไต้หวันเพื่อสิทธิมนุษยชนตั้งแต่ตอนปริญญาโท มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางสังคมและเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ มาโดยตลอด และปัจจุบันทำหน้าที่เป็นเลขาธิการสมาคมไต้หวันเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลการดำเนินการตามอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศต่าง ๆ และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เขาได้ให้การสัมภาษณ์พิเศษกับสำนักพิมพ์สี่ฝั่ง แบ่งปันประสบการณ์ในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และความคาดหวังในอนาคตที่มีต่อการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน
一次菲律賓人權調查之旅 開啟倡議移工議題的契機
施逸翔畢業於東吳大學哲學系碩士班,同時擁有人權學程學位,在學生時代跟著老師一起參與轉型正義運動,在與人權工作者的接觸中,逐漸對白色恐怖、228事件等議題有更深的了解,也慢慢翻轉了自己從小接受的黨國教育中的種種內容。
ครั้งหนึ่งเคยเดินทางไปสำรวจข้อมูลสิทธิมนุษยชนที่ฟิลิปปินส์ กลายเป็นโอกาสในการสนับสนุนช่วยแก้ปัญหาแรงงานต่างชาติ
คุณซือจบการศึกษาระดับปริญญาโทภาควิชาปรัชญาจากมหาวิทยาลัยตงอู๋ (Soochow University) และยังมีปริญญาด้านสิทธิมนุษยชน สมัยเรียน มีโอกาสเข้าร่วมขบวนการความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน ระหว่างที่ได้รู้จักกับผู้ที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน มีโอกาสทำความรู้จักกับเหตุการณ์ 228 และความสยองขวัญสีขาว (White Terror) ที่เป็นประวัติศาสตร์นองเลือดของไต้หวัน รับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ทำให้ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ที่มีมาตั้งแต่เด็กซึ่งได้รับจากการศึกษาของรัฐ
回到台灣後,他開始將菲律賓的人權資訊傳遞給菲律賓的移工社群,並開始關注移工的人權狀況。進到台權會後,他也積極以國際公約的觀點切入,與台灣國際勞工協會(TIWA)、宜蘭縣漁工職業工會等非政府組織(Nongovernmental Organization,縮寫:NGO)進行合作,共同在移工、漁工議題上努力,致力為在台外籍弱勢者發聲。
หลังจากกลับมาไต้หวัน เขาเริ่มส่งข้อมูลสิทธิมนุษยชนของฟิลิปปินส์ไปให้กลุ่มแรงงานฟิลิปปินส์ และเริ่มให้ความสนใจกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของแรงงานต่างชาติ หลังจากที่ได้เข้าร่วมสมาคมไต้หวันเพื่อสิทธิมนุษยชน เขาก็ได้ร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน อาทิสมาคมแรงงานนานาชาติไต้หวัน หรือ TIWA และสหภาพแรงงานประมงอี๋หลาน เพื่อช่วยเหลือประเด็นแรงงานต่างชาติ ประเด็นลูกเรือประมงอย่างหนัก เป็นกระบอกให้กับกลุ่มแรงงานต่างชาติที่มาทำงานในไต้หวัน
NGO倡議運動挑戰多 靈活變通才能與時代接軌
推動社會運動、倡議行動並非易事,要面臨種種的困難與挑戰,其中之一就是資金籌募。儘管台灣人的愛心與捐款行動力在國際上相當出名,但施逸翔指出,倡議型的NGO團體並沒有直接提供服務,而是從源頭推動政策與法律的改善,慢慢建立出台灣的人權保障機制,常常需要去衝撞體制,舉辦遊行、記者會進行抗爭,在一般社會大眾眼中可能被描繪如「暴民」般的形象,無法獲得捐款者重視,在經營上就會遇到困難。
การเคลื่อนไหวสนับสนุนของ NGO มีความท้าทายหลากหลาย ต้องยืดหยุ่นและปรับตัวจึงจะเชื่อมต่อกับโลกสมัยใหม่ได้
การส่งเสริมการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเรียกร้องไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องเผชิญกับปัญหาและความท้าทายต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการระดมทุน แม้ว่าน้ำใจและพลังในการให้บริจาคของชาวไต้หวันจะเป็นประจักษ์แก่สังคมโลก แต่คุณซือชี้ว่า องค์กร NGO ประเภทช่วยส่งเสียงเรียกร้องสิทธิ ไม่สามารถให้บริการช่วยเหลือโดยตรงได้ แต่เป็นการผลักดันนโยบายและให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เป็นสาเหตุของปัญหา ร่วมก่อตั้งกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในไต้หวันให้เข้มแข็ง ซึ่งหลายครั้งต้องเผชิญกับการกระทบกระทั้ง จัดชุมนุมประท้วง ล่ารายชื่อ ซึ่งในสายตาของสาธารณชนทั่วไป อาจถูกมองว่าเป็น “ม็อบ” ไม่ได้รับความสำคัญจากผู้บริจาค เผชิญอุปสรรคในการดำเนินการ
爭取人權,為外籍移工、漁工和難民的權益保障。圖/新住民全球新聞網
ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของ แรงงานต่างชาติ ลูกเรือประมง ผู้ลี้ภัย ภาพจาก/เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่
除了上述的營運挑戰和法案推動的困難,施逸翔也說,NGO在倡議模式上需學會跟著時代演進、靈活變通,若流於固定模式,最後將與大眾脫軌。傳統上,倡議團體最常採取的方式就是在立法院開會、舉行記者會或公開遊行,讓重要的人權議題和資訊可以被社會大眾聽見。施逸翔強調,「在資訊傳遞的主要目的下,社運人士應該要更有創意,跟隨社會的變遷腳步並密切關注目標群眾的動態,善用策略研擬,因應外在局勢變化去採取最有效的發聲方式」。
นอกเหนือจากความท้าทายด้านการปฏิบัติงานและความยากลำบากในการส่งเสริมร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว คุณซือ ยังกล่าวด้วยว่าองค์กรNGO ต้องเรียนรู้ในการปฏิบัติตามยุคสมัย มีความยืดหยุ่นในรูปแบบ หากทำตามรูปแบบเดิม ๆ สุดท้ายอาจถูกสังคมทอดทิ้งวิธีการทั่วไปที่ใช้กันมากที่สุดคือการจัดการประชุม จัดงานแถลงข่าว หรือการชุมนุมประท้วง เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้และรับฟังประเด็นและข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ คุณซือเน้นย้ำว่า “วัตถุประสงค์หลักของการส่งสาร นักเคลื่อนไหวทางสังคมควรมีความคิดสร้างสรรค์ให้มากขึ้น โดยให้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสังคม และใส่ใจการเคลื่อนไหวของกลุ่มเป้าหมายอย่างใกล้ชิด ใช้วิธีวิจัยเชิงกลยุทธ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของสังคมรอบข้าง เพื่อเลือกวิธีการส่งสารที่มีประสิทธิภาพที่สุด”
「這一代人比較幸福,因為現在的課本已經會教兩公約跟太陽花學運,有了基本的人權教育」,但他也強調,好的人權教育不是一昧去鑽研人權公約或理論,而是親自到人權現場,比如國家人權博物館,聽著導覽員以政治受害者的身份進行解說,藉由傾聽這些受壓迫的故事,才能真正在每個人心中種下人權的種子。
“คนรุ่นนี้มีความสุขมากกว่า เพราะหนังสือเรียนปัจจุบันจะต้องสอนเรื่องอนุสัญญาสองฉบับและขบวนการนักศึกษาทานตะวันแน่นอน ซึ่งมันเป็นการศึกษาสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน” แต่ทั้งนี้เขายังเน้นว่า การศึกษาสิทธิมนุษยชนที่ดีไม่ใช่เอาแต่หมกมุ่นกับอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนหรือทฤษฎี แต่เป็นการเข้าไปในพื้นที่ด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น พิพิธภัณฑ์สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไปฟังเจ้าหน้าที่บรรยายเรื่องราวอีกมุมหนึ่งจากบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อทางการเมือง การได้ฟังเรื่องราวของการถูกกดขี่เหล่านี้เท่านั้น จึงจะสามารถหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งสิทธิมนุษยชนไว้ในใจของทุกคนได้อย่างแท้จริง
就好比菲律賓人權調查的那場震撼教育對自己影響深遠,他說,「真正的人權老師不是我,或NGO倡議人士,而是那些人權受難者,他們勇敢把自己的故事說出來,不斷去爭取權益,只要去聆聽他們的故事,就能大概了解什麼是人權」。
ก็เหมือนกับประสบการณ์การสำรวจสิทธิมนุษยชนที่ฟิลิปปินส์ของเขา ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนในจิตใจอย่างลึกซึ่ง เขากล่าวว่า “ครูด้านสิทธิมนุษยชนที่แท้จริงไม่ใช่ฉัน หรือนักเคลื่อนไหว NGO แต่เป็นบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของสิทธิมนุษยชน พวกเขาเล่าเรื่องราวของตนเองอย่างกล้าหาญ และพยายามต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมอย่างต่อเนื่อง ขอเพียงหยุดฟังเรื่องราวของพวกเขา เราก็จะเข้าใจได้เองว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไร”
本文獲《四方報》授權轉載