อาหย่ง เพื่อของคุณแม่ในวัยเด็ก พาคุณแม่ไปยังท่าเรือใหม่
ผ่านมา 50 กว่าปี บ้านเกิดที่จังหวัดกาลิมันตัน ประเทศอินโดนิเซียไม่หลงเหลืออยู่แล้ว จะเหลือแต่เพียงภูเขาลูกหนึ่งที่ตั้งอยู่หลังบ้านเท่านั้น คุณป้าที่เคยช่วยเหลือครอบครัวคุณแม่ของผู้เขียนในสมัยก่อนบอกว่า ตอนนั้นมีการอพยพย้ายถิ่นฐานเกิดขึ้นเมื่อตอนที่เธออายุ 17 ปี ญาติๆ ก็ได้นั่งเรือไปจีน แต่พวกเราไม่ได้นั่งไป เธออยากจะเรียนต่อ และใช้ชีวิตอยู่ในสถานะคนอินโดนิเซีย จึงได้เปลี่ยนนามสกุลเป็นแบบชาวอินโดนิเซีย ทำให้คนในสมาคมชาวจีนด่าเธอว่าลืมต้นกำเนิดของตนเอง แต่เธอก็ยังคงเปลี่ยนนามสกุล และเป็นคนแรกในครอบครัวที่เปลี่ยนนามสกุล หลายปีต่อมา ทั้งครอบครัวก็พบข้อเท็จจริงว่าไม่สามารถเป็นคนจีนต่อไปได้ จึงได้เปลี่ยนนามสกุลเป็นแบบชาวอินโดนีเซีย สำหรับชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีนที่ขึ้นเรือไปยังประเทศจีน คนที่รวยเมื่อไปถึงประเทศจีนก็ยังคงเป็นคนรวย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้หลบหนีจากสงครามกลางเมืองในอินโดนิเซีย แต่ไม่กี่ปีต่อมามาก็ยังคงหนีไม่พ้นการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในจีน
เธอคือเด็กหญิงอายุสิบเจ็ดปีที่พยายามจะควบคุมชะตากรรมของตัวเอง โดยคุณป้าแต่งงานกับคุณลุงชาวฮักก้าผู้มีความขยันหมั่นเพียรและต่อมาทั้งคู่ได้เปิดร้านขายทอง โดยขายทองคำต่อวันได้เป็นกิโลกรัม หากพูดถึงร้านทองในเมืองปนตีอานักในจังหวัดกาลิมันตันตะวันตก ทุกคน
ก็รู้จักร้านนี้เป็นอย่างดี และคุณลุงเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นคนดีที่คอยช่วยเหลือผู้อพยพ เด็กๆ ที่ไม่ค่อยรู้เรื่องก็จะพูดหยอกเล่นกันว่า ไห้แม่ทำให้ใบหน้าดำคล้ำและไปยืนที่ประตูร้านทองเพื่อขอเงิน
คุณน้าอาเฉ่ว (阿雪)และคุณป้าพูดขึ้นมาว่า ตอนนั้นเราเล่นกับเด็กๆ อยู่ในรั้วบ้าน อยู่ๆ แหวนพวกเค้าก็หาย และตำหนิว่าอาเฉ่วเอาไป
ตอนนี้อาเฉ่วที่กลายเป็นหญิงชรา ในขณะที่เธอนั่งอยู่ในรถคันเดียวกันกับคุณป้าของเธอก็ได้พูดว่า จริงๆ เล้วเธอไม่ได้เอาแหวนไปเลย ทำให้ปมในใจได้คลายออกในที่สุด
“ฉันคิดว่าบ้านไม่สวยงามเหมือนแต่ก่อน” คุณแม่ของผู้เขียนได้กลับไปที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่จากมานานมากกว่า 50 ปี ซึ่งปัจจุบันล้วนแล้วแต่เป็นอาคารสองชั้นที่สร้างจากซีเมนต์ซึ่งไม่สามารถเทียบเคียงได้กับบ้านเก่าที่เคยมีหลังคามุงด้วยใบไม้ การเดินทางครั้งนี้เราเดินทางจากเมืองปนตีอานักของอินโดนิเซียไปเมืองกู่ชิ่งของมาเลเซีย ซึ่งมีระยะห่าง 422 กิโลเมตร แต่ถ้าหากคุณใช้บริการรถขนส่งผู้โดยสารก็จะใช้เวลาประมาณ 8-9 ชั่วโมง
ในที่สุดผู้เขียนและคุณแม่ก็ได้เห็นบ้านเกิด แล้วคุณแม่คิดอย่างไร? เธอตอบว่า “หลังจากนี้ถ้าคนอื่นถามว่าเมือง Andjonganของอินโดนิเซียเป็นอย่างไร ก็จะสามารถตอบคนอื่นได้” ก่อนหน้านี้มีคนบอกว่า เมือง Andjonganและเมืองซิงกาวังเปลี่ยนไปมาก มีการพัฒนาขึ้นมาก แต่เธอเห็นว่าไม่จริงเลย มีแต่ท่าเรือใหม่เป็นไปมาก และบ้านที่พวกเขาเคยอยู่อาศัยก็ได้รับการปรับปรุงใหม่โดยคนอื่น อีกทั้งคูคลองเดิมก็หายไปแล้ว
ชาวกาลิมันตันเชื้อสายจีนส่วนใหญ่พูดภาษาฮากก้า แต่คุณตาคุณยายของผู้เขียนพูดภาษาฮากก้าที่ไม่เหมือนกัน ทั้งสองคนอยู่ห่างไกลกัน ครอบครัวคุณทวดนั้นค่อนข้างมีเงิน ตอนที่คุณยายแต่งงานก็ได้มอบวัว 1 ตัวมาเป็นสินสอด และให้คนส่งไปที่เมือง Andjongan คุณแม่จำได้ว่าเธออพยพก็ได้ขายวัวตัวนั้นในราคาถูก ซึ่งเป็นแม่วัวพันดีที่ออกลูกได้เป็นอย่างดี
เมื่อเราไปถึงเมือง Andjongan ไม่มีอะไรให้ทำ เมื่อคุณป้าเห็นรถเข็นขายกล้วยทอดที่ตลาดก็เดินเข้าไปซื้อ และได้คุยกับคนขายว่าทำไมถึงเดินทางมาที่นี่ คุณพ่อของคนขายที่อยู่ข้างๆ ก็พูดขึ้นมาว่า “บ้านของคุณอยู่ข้างหน้า” ซึ่งชายชราคนดังกล่าวพูดกับแม่ของฉันว่าแม่ของฉันหน้าเหมือนพ่อของเขามาก ไม่จำเป็นต้องพูดอะไรเลยเธอรู้ว่าแม่ของฉันเป็นลูกใคร
“ฉันไม่รู้สึกว่าตัวเองเหมือน” แม่ของผู้เขียนพูด แต่ใบหน้าของเธอก็เหมือนเป็นใบผ่านทางที่นำพาให้เธอได้กลับบ้าน
เราขับรถ SUV ไปกลับระหว่างถนนสายหลักมา 2 ครั้ง ไม่มีอะไรให้ถ่ายรูป จึงรีบลงจากรถ และข้ามไปยังผืนดินว่างป่าวฝั่งตรงข้าม เพื่อถ่ายรูปกับภูเขาลูกหนึ่งที่มักจะเห็นอยู่ประจำตอนเลี้ยงหมูในสมัยก่อน ไม่เช่นนั้นก็เหมือนว่าเราไม่เห็นอะไรเลย
“ฉันจากที่นี่ไปก่อนคุณแม่อีก และได้พาพี่สาวไปนั่งรถ และยังช่วยอาบน้ำให้เธอที่ริมคลองด้วย” เพราะคุณยายของผู้เขียนยังต้องเก็บของ ระหว่างทาง ระหว่างทางก็มีคนดูแลแม่ของผู้เขียนและพี่สาวของเธอ จนกระทั่งถึงร้านขายทองของคุณลุงซึ่งเป็นพี่เขยของคุณแม่ที่เมืองปนตีอานัก แต่คุณแม่ผู้เขียนจำวันที่เดินทางไม่ได้
"ตอนที่ฉันอพยพ ฉันพึ่งทำกับข้าวเสร็จ จึงเอามาทานในระหว่างทางด้วย" อาหย่ง (阿永) เพื่อนแม่ในสมัยเด็กซึ่งตอนนี้อาศัยอยู่ในเขตชานเมืองใหม่ของเมืองปนตีอานัก ซึ่งในตอนนั้นเธอมีอายุเพียง 12 ปี เท่านั้น และจำได้แม่นว่าในตอนนั้นเป็นวันที่ 15 มิ.ย. 1967 ซึ่งคุณแม่อพยพก่อนเธอไม่กี่วัน ซึ่งเกิดหลังเหตุการณ์ก่อรัฐประหารเกสตาปูในวันที่ 30 ก.ย. 1965
บ้านของคุณแม่ที่ตอนนี้เป็นเพียงที่ดินเปล่า
ตอนนี้ไม่เหมือนแต่ก่อน ใช้เวลาแค่ 2 วัน ก็สามารถขับรถจากบ้านเกิดมายังเมืองปนตีอานัก โดยมีการเปิดถนนสายใหม่เมื่อสองปีที่แล้ว ซึ่งแม้จะเป็นหลุมเป็นบ่อเล็กน้อย คุณน้าที่เดินทางไปด้วยเกิดอาหารเป็นพิษ เริ่มท้องเสียตั้งแต่ช่วงบ่าย และตอนกลางคืนก็ได้ถูกส่งไปโรงพยาบาล ส่วนคนอื่นๆ ก็เริ่มท้องเสีย จึงเริ่มคิดว่าเพราะว่าเมื่อช่วงกลางวันน่าจะทานของ 3 อย่างคือ กลัวทอด สับปะรดที่ถูกหั่นด้วยมีดมีสนิม และชา
พวกเราขับรถจากเมือง Andjongan มุ่งหน้าไปยังเมืองปนตีอานัก จนถึงท่าเรือใหม่ คนกลุ่มหนึ่งที่นั่งคุยอยู่ที่นั่น พอได้ยินว่ามีคนมารวมตัวกัน ซึ่งอาหรง (阿榮) ชายที่ร่างกายส่วนบนเปลือยเปล่าเป็นช่างตัดเสื้อ ซึ่งตอนนี้ไม่ได้ทำงานได้แต่ลอยไปมาในหมู่บ้านพอเห็นคุณแม่ของผู้เขียนก็จำได้ทันที ส่วนอาหย่งที่ไม่ได้แต่งงานแต่มีลูก 3 คน ซึ่งถูกเล่าลือว่าเธอทำงานเป็นหญิงขายบริการ แต่ทุกคนล้วนพูดว่าตอนนี้ชีวิตของเธอดีขึ้นกว่าแต่ก่อน
แม้ว่าจะมีคำพูดที่ว่าคนจิตใจดีก็มักจะได้รับสิ่งที่ดีตอบแทน แต่บ้านของคุณป้ากับคุณลุงที่ช่วยครอบครัวของคุณแม่ผู้เขียนที่เปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ที่มีคนพึ่งพิง ถ้ามีลมพัดมาก็จะเกิดการสั่นไหวอย่างแรง แม้ว่าจะมีการติดสินบนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ก็ยังมีผู้คนคอยสร้างปัญหาที่หน้าร้านอยู่เป็นประจำ และไม่สามารถย้ายร้านไปไหนได้ การทำธุรกิจก็ค่อยๆ แย่ลง แต่ยังโชคดีที่ลูกหลานโตๆ กันหมดแล้ว และก็ย้ายไปอยู่ที่อื่น หรือแม้แต่ย้ายไปอยู่ต่างประเทศ ทั้งคู่และผู้ช่วยทำงานมานานกว่า 30 ปี จนสร้างบ้านหลังใหญ่โตในเมืองปนตีอานัก เพื่อให้ใหญ่พอสำหรับสมาชิกในครอบครัวที่จะอยู่รวมกัน แต่ทุกคนต่างทำงานยุ่ง วันหยุดก็ไม่เหมือนกัน ไม่มีทางที่จะกลับมารวมตัวกันได้อีก
ผู้เขียน เฉิน โย่วจิน (陳又津)