:::

ทำความรู้จักกับบ๊ะจ่างของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างนะ

กิจกรรมในช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ภาพ/นำมาจากเฟสบุ๊ก愛買量販
กิจกรรมในช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ภาพ/นำมาจากเฟสบุ๊ก愛買量販

วันไหว้บ๊ะจ่าง หรือเทศกาลตวนอู่เจี๊ย เป็นประเพณีจีนโบราณที่สืบทอดต่อกันมา ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติของทุกปี ซึ่งความหมายของวันไหว้บ๊ะจ่างคือเป็นการระลึกถึง ชวีหยวน ซึ่งเป็นกวีผู้รักชาติคนสำคัญของจีนผู้ถูกฮ่องเต้เนรเทศออกจากเมืองเพราะหลงเชื่อคำพูดโกหกของขุนนานกังฉิน อันเป็นสาเหตุให้รัฐฉู่ล่มสลาย ชวีหยวน ผู้มีจิตใจรักชาติมิอาจทำอะไรได้เกิดความเสียใจอย่างมากจึงตัดสินใจกระโดดแม่น้ำเปาะล่อกังตายในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นั้นเอง

อ่านข่าวเพิ่มเติม : Final call! ประชากรต่างชาติที่พำนักเกินกำหนดรีบฉวยโอกาสสุดท้าย

บ๊ะจ่างสิงคโปร์และมาเลเซีย ภาพ/นำมาจากเฟสบุ๊ก大馬生活

เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่” ได้รวบรวมการห่อบ๊ะจ่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาไว้ให้ผู้อ่านได้ติดตามกันด้วย มีที่ไหนบ้างไปดูกัน

กิจกรรมเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ภาพ/นำมาจากเฟสบุ๊ก蘆洲區公所

สิงคโปร์และมาเลเซียเป็นสองประเทศที่มีชาวจีนมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพวกเขายังคงรักษาวัฒนธรรมจีนไว้อีกด้วย “nyonya chang” พบได้ในสิงคโปร์และมาเลเซียเท่านั้น ซึ่ง nyonya chang ทำจากข้าวเหนียวย้อมสีฟ้าสวยที่ได้มาจากสีของดอกอัญชัน สอดไส้หมู เห็ดหอม น้ำตาล ฯลฯ จากนั้นห่อด้วยใบเตย เป็นตัวแทนของการผสมผสานวัฒนธรรมหลากหลายเชื้อชาติในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย

บ๊ะจ่างไทย ภาพ/นำมาจากเฟสบุ๊ก泰滾 Rolling Thai 泰式火鍋

ที่ประเทศไทยมี บ๊ะจ่าง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ โร่วจ้ง  (肉粽) ตามสำเนียงกลาง บ้างเรียก ขนมจ้างเป็นชื่ออาหารคาวของเวียดนามชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวนำมาผัดน้ำมัน มีไส้หมูเค็มหรือหมูพะโล้ กุนเชียง ไข่เค็มเฉพาะไข่แดง กุ้งแห้ง เห็ดหอม เป็นต้น ห่อด้วยใบไผ่แล้วนึ่งให้สุก

นอกจากนี้ยังมีบ๊ะจ่างที่ไม่มีไส้ เรียกว่า กี่จ่าง (栀粽) หรือ ขนมจ้างจืด ใช้จิ้มกินกับน้ำตาล

บ๊ะจ่างอินโดนีเซีย ภาพ/โดย新住民全球新聞網

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างในอินโดนีเซียเรียกว่า “Hari Raya Bakcang” และบ๊ะจ่างเรียกว่า “Bakcang” เป็นการออกเสียงในภาษาฮกเกี้ยน ซึ่งบ๊ะจ่างของอินโดนีเซียทำจากข้าวญี่ปุ่นซึ่งย่อยได้ง่ายกว่าข้าวเหนียว เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีบ๊ะจ่างมุสลิมที่ผ่านการรับรองฮาลาล “Bakcang Halal” และข้าวต้มใบกะพ้อ “ketupat” เกอตูปัตมีหลายประเภท โดยที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือเกอตูปัตนาซีกับเกอตูปัตปูลุต เกอตูปัตนาซีทำจากข้าวขาวห่อด้วยใบมะพร้าว ส่วนเกอตูปัตปูลุตทำจากข้าวหนียวห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมด้วยใบกะพ้อ ชาวมลายูนิยมรับประทานในเทศกาลฮารีรายอ ในอินโดนีเซียจะรับประทานกับโอปอร์อายัม, เรินดัง, ซัมบัลโกเร็งอาตี (ตับวัวรสเผ็ด), เกรอเจะก์ (อาหารทำจากหนังควาย) หรือซายูร์ลาบูเซียม มุสลิมโมโรในฟิลิปปินส์จะรับประทานเกอตูปัตกับตียูละห์อีตุม, เรินดัง, กีนาตาอังมานอก, กุรุหม่า และสะเต๊ะ โดยรับประทานในเทศกาลสำคัญและงานแต่งงาน

บ๊ะจ่างเวียดนาม ภาพ/โดย新住民全球新聞網

ในช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างคนเวียดนามไม่กินบ๊ะจ่าง แต่จะกินในช่วงปีใหม่เวียดนามแทน ซึ่งบ๊ะจ่างเวียดนามมี 2 แบบ คือ ทรงกระบอกและสี่เหลี่ยม ข้างในมีข้าวเหนียว ถั่วเขียว และไส้หมู ห่อด้วยใบตอง

อ่านข่าวเพิ่มเติม : เทศกาลศิลปะประติมากรรมทรายนานาชาติฝูหลงประจำปี 2023 ร่วมกับดีสนีย์ สร้างผลงานสุดอลังการ

บ๊ะจ่างของฟิลิปปินส์ ภาพ/นำมาจาก@kawalingpinoy

ซูมาน (Suman) เป็นขนมบ๊ะจ่างที่ห่อด้วยใบตาลหรือใบตอง ต้มจนนุ่มเหนียว เมื่อรับประทานจะจิ้มน้ำตาลทราย เป็นอาหารคริสต์มาสที่สำคัญของชาวฟิลิปปินส์

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading