:::

ต้องปฎิบัติต่อผู้ที่ย้ายมาอยู่ในไต้หวันอย่างเป็นมิตร

ต้องปฎิบัติต่อผู้ที่ย้ายมาอยู่ในไต้หวันอย่างเป็นมิตร

ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ แต่ละประเทศกำลังเผชิญกับการย้ายถิ่นฐานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการย้ายมาอยู่อาศัยในต่างประเทศ การย้ายถิ่นฐานเนื่องจากแต่งงาน การมาทำงานของแรงงานข้ามชาติ หรือนักศึกษาต่างชาติที่ย้ายถิ่นฐานมาเรียนชั่วคราว หลายคนเกิดที่หนึ่ง แต่อาศัยอยู่อีกที่หนึ่ง ซึ่งบางคนเรียกคนกลุ่มนี้ว่าผู้ย้ายถิ่นฐาน ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้กลายเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่ทุกประเทศต้องเผชิญ

จากสถิติขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ในปี 2006 ระบุว่า จำนวนคนที่ออกจากประเทศบ้านเกิดเพื่ออยู่อาศัยหรือทำงานในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในรอบ 35 ปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวนมากถึง 190 ล้านคนในปี 2005 คิดเป็นจำนวนมากกว่า 3% ของประชากรของโลก (หรือหนึ่งในทุก ๆ 35 คน) สถิติเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประชากรมีการเคลื่อนไหวระหว่างประเทศบ่อยครั้งมากขึ้น เขตแดนระหว่างประเทศก็เริ่มผ่อนคลายมากขึ้น “ผู้ย้ายถิ่นฐานข้ามประเทศ” ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ที่พบบ่อยในแต่ละสังคม

ดังนั้นจึงอยากให้ความสำคัญกับผู้ย้ายถิ่นฐานที่ด้อยโอกาส โดยเฉพาะผู้ย้ายถิ่นฐานที่เป็นแรงงานในประเทศนั้นๆ พวกเขาต้องเผชิญกับความแตกต่างในภาษาและวัฒนธรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แม้กระทั้งต้องเผชิญกับข้อจำกัดและความเปลี่ยนแปลงของนโยบายของประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่ต้องปรับตัว

จากสถิติของกระทรวงแรงงานไต้หวันระบุว่า  ปัจจุบันไต้หวันมีแรงงานข้ามชาติมากกว่า 7 แสนคน โดยแรงงานในภาคอุตสาหกรรมประกอบไปด้วยแรงงานเวียดนาม ไทย และฟิลิปปินส์ ส่วนงานด้านสวัสดิการสังคมส่วนใหญ่เป็นแรงงานอินโดนิเซีย ซึ่งส่วนใหญ่กระจายอยู่ในนครเถาหยวน นครไถจง และกรุงนิวไทเป จากสถิติของกระทรวงมหาดไทยไต้หวันระบุว่า เนื่องจากการแต่งงานทำให้ไต้หวันมีคู่สมรสชาวต่างชาติที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ไต้หวันมากกว่า 6 แสนคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไต้หวันมีความหลากหลายทางเชื้อชาติมากขึ้น พวกเราน่าจะรู้ว่า เดิมทีไต้หวันเป็นประเทศที่ประกอบไปด้วยผู้คนที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในยุคต่าง ๆ ซึ่งเต็มไปด้วยวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นชาวพื้นเมือง ฮากก้า หมิ๋นหนาน ฮั่น และยังมีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และแรงงานข้ามชาติที่หลอมรวมเข้ากับสังคมไต้หวันในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งพวกเค้าได้ทำให้ไต้หวันมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น

แรงงานต่างชาติชาวอินโดนิเซียในไต้หวันส่วนมากมาจากเกาะชวา จ.ลัมปุง และเกาะลมบก

แรงงานต่างชาติชาวอินโดนิเซียในไต้หวันส่วนมากมาจากเกาะชวา จ.ลัมปุง และเกาะลมบก

การย้ายถิ่นฐานของชนชั้นแรงงานนั้นไม่ได้หมายถึงการละทิ้งบ้านเกิด แรงงานข้ามชาติส่วนมากต้องการที่จะเสาะแสวงหาโอกาสในการทำงานที่ดีกว่าจึงได้จากบ้านเกิดมาไกลแสนไกล อีกทั้งยังมีคู่สมรสต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่ต้องการพัฒนาสถานะการเงินของครอบครัวให้ดีขึ้นจึงได้แต่งงานมา

เชี่ย เสี่ยวจวน (夏曉鵑) กล่าวว่า แรงงานเป็นสิ่งที่มีค่ามาก การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของแรงงานราคาถูกใหม่เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการขยายตัวต่อเนื่องของทุนนิยม จึงทำให้เกิด "ตลาดแรงงานของโลก"ขึ้น ไม่ว่าจะในสมัยก่อนที่ชาวไอริสอพยพไปอยู่อังกฤษ การค้าทาสคนผิวดำ จนปัจจุบันที่เป็นยุคการหลั่งไหลของแรงงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนของการพัฒนาและปรับโครงสร้างของระบบทุนนิยม

ไต้หวันก็เช่นเดียวกัน เหตุผลหลักที่สำคัญสำหรับการใช้แรงงานข้ามชาติไม่ใช่เพราะขาดแคลนแรงงาน แต่เพราะอุตสาหกรรมต้องการที่จะลดค่าแรง ประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อให้ได้รับผลกำไรสูงสุด ประกอบกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่คอยต่างเรียกร้องกับรัฐบาลว่าขาดแคลนแรงงาน ทำให้รัฐบาลได้รับแรงกดดันจนต้องเปิดให้แรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานเพื่อตอบสนองต่อแนวโน้มดังกล่าว นอกจากนี้ไต้หวันกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ทำให้ประเด็นการดูแลเป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดในปัจจุบัน ผู้สูงอายุต้องการคนดูแล เมื่อจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ผู้ที่ย้ายถิ่นฐานชาวต่างชาติก็เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ยิ่งผู้สูงอายุมากขึ้นเท่าไร ผู้ที่ย้ายถิ่นฐานชาวต่างชาติก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ไต้หวันต้องเผชิญกับความท้าทายกับประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างมาก

ในขณะเดียวกัน เพื่อนบ้านอย่างประเทศญี่ปุ่นก็มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ที่ผ่านมากฎหมายการเปิดรับแรงงานข้ามชาติให้เข้าไปทำงานในญี่ปุ่นก็ผ่านเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และภายใน 5 ปีต่อจากนี้ แรงงานข้ามชาติในญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนคน การผ่านของร่างกฎหมายดังกล่าวจะทำให้ญี่ปุ่นประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์และอาจจะไม่สามารถย้อนกลับได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคนหลายรุ่นในญี่ปุ่น ส่วนชาวต่างชาติที่ย้ายถิ่นฐานไปญี่ปุ่นก็ต้องเผชิญกับความท้าทายที่ใหญ่ในด้านแตกต่างทางวัฒนธรรมและภาษาญี่ปุ่น

หากไต้หวันและญี่ปุ่นปฏิบัติต่อผู้ที่ย้ายถิ่นฐานไม่ดีพวกเขาจะต้องเผชิญกับความขัดแย้งทางสังคมมากขึ้น ที่ผ่านมา มูลนิธิหลี่ซินได้ดูแลให้บริการแรงงานข้ามชาติและคู่สมรสชาวต่างชาติที่แต่งงานและย้ายมาอยู่ไต้หวัน และพบว่าพวกเค้ามีสัดส่วนได้รับความรุนแรงที่สูงกว่า ไม่ว่าจะเป็น ถูกหักเงินเดือนอย่างมาก การถูกทารุณ เอารัดเอาเปรียบ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น แม้ว่ารัฐบาลจะมีความปรารถนาดีเปิดสายด่วนช่วยเหลือ 1955 ศูนย์บริการผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ อย่างไรก็ตามการมีขึ้นของสิ่งดังกล่าวก็ไม่ดีเท่ากับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม การพัฒนานายจ้างให้มีความเป็นมิตร และให้บริการแรงงานข้ามชาติและผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่อย่างเป็นมิตร เช่น บริการสอนภาษาท้องถิ่นฟรี บริการสิ่งพิมพ์ภาษาบ้านเกิด รายการทีวีและรายการวิทยุ

สตม.ไต้หวันจัดงานเฉลิมฉลองวันย้ายถิ่นฐานสากลประจำปี 2018 ที่สวนสาธารณะไถจง

สตม.ไต้หวันจัดงานเฉลิมฉลองวันย้ายถิ่นฐานสากลประจำปี 2018 ที่สวนสาธารณะไถจง

นอกจากนี้เรายังสามารถสร้างวิสัยทัศน์และการยอมรับของสังคมผ่านวัฒนธรรมที่หลากหลายของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ท่ามกลางการไหลข้ามของวัฒนธรรม เราจะมีการบูรณาการและตั้งความหวังด้วยกันอย่างไร เพื่อสร้างไต้หวันให้เป็นประเทศที่มีการยอมรับ เคารพซึ่งกันและกัน และมีสิทธิมนุษยชนที่ดี ซึ่งมีความสำคัญมาก

ในช่วงนี้เป็นเดือนรอมฎอน และวันอิดิลฟิตรีที่กำลังจะมาถึงของชาวอินโดนิเซีย อีกทั้งยังใกล้กับช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างของไต้หวันและเวียดนาม รวมถึงวันชาติของฟิลิปปินส์ที่กำลังจะมาถึงด้วย ซึ่งล้วนแต่เป็นงานสำคัญประมาณเดือน 5 เดือน 6 รัฐบาลหลายเมืองหลายมณฑลของไต้หวันมีการจัดงานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องมากมาย ทำให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มีความสุขตื่นเต้น แต่เราหวังว่าไต้หวันจะมีศูนย์ดูแลและบริการผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ระยะยาว และมีความมั่นคง ให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่สามารถเข้าไปใช้บริการได้อย่างเสรีและมีความมั่นใจ

เทศกาลวันอิดิฟิตรี้กรุงไทเปประจำปี 2018

เทศกาลวันอิดิฟิตรี้กรุงไทเปประจำปี 2018

ท้ายสุดนี้ ขอยกตัวอย่าง LIPIKA PELHAM ซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวสำนักข่าว BBC ซึ่งเธอได้ย้ายจากบังกลาเทศไปอยู่ที่อิสราเอล ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจ "ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์”เธอใช้ตัวหนังสือในการบันทึกความขัดแย้งทางวัฒนธรรม เรื่องราวที่ไม่ดีในชีวิต จิตวิญญาณของตนเองที่หายไปที่เธอพยายามค้นหากลับคืนมา

เธอกล่าวว่า "ไม่มีใครในโลกนี้ที่จะผูกขาดที่ดินได้ตลอดไป ตราบใดที่คุณให้ความเคารพไม่ทำลายมรดกทางวัฒนธรรมของบ้านโบราณ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ สุเหร่า โบสถ์ ฯลฯ ตราบใดที่คุณไม่ดูหมิ่น หรือทำสิ่งไม่สุภาพ ฉันรู้สึกว่าคุณและฉันมีสิทธิ์ที่จะอยู่ที่นี่”

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading