:::

雙語新聞--泰國推動語文教育ประเทศไทยส่งเสริมการศึกษาภาษาต่างประเทศ

泰國推動語文教育。 ประเทศไทยส่งเสริมการศึกษาภาษาต่างประเทศ (ภาพจาก/Pixabay)
泰國推動語文教育。 ประเทศไทยส่งเสริมการศึกษาภาษาต่างประเทศ (ภาพจาก/Pixabay)
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

新住民全球新聞網」根據「新住民子女教育資訊網」報導,泰國位於中南半島中心地帶,地處戰略要衝。

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานของ “เว็บไซต์ข้อมูลการศึกษาสำหรับเด็กผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่” ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทรอินโดจีนและเป็นจุดยุทธศาสตร์

首都曼谷人口約825萬,為泰國第一大城。

กรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย มีประชากรประมาณ 8.25 ล้านคน ถือเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม: 內政部舉行移民署移民班第9期學員結訓典禮 學員徐秀美分享自己的報考故事 สตม.ไต้หวัน จัดพิธีจบการฝึกอบรมวิชาผู้ตั้งถิ่นฐานครั้งที่ 9 สวี่ซิ่วเหม่ยผู้เข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้ แบ่งปันเรื่องราวการสมัครสอบของตน

官方語言是泰語、教育普及,自2010年起提供12年免費入學、公立小學原就教英文,最近推動第二外語,多數學校把中文列必修,讓下一代至少會英、中及泰文。

ภาษาราชการคือภาษาไทย ประเทศไทยมีการศึกษาอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ปีค.ศ. 2010 เป็นต้นมา รัฐเปิดให้นักเรียนเรียนฟรีจนอายุถึง 12 ปี และโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐยังมีการสอนภาษาอังกฤษด้วย เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการส่งเสริมภาษาต่างประเทศที่สอง โรงเรียนส่วนใหญ่ได้กำหนดให้ภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง ดังนั้น คนรุ่นหลังอย่างน้อยสามารถพูดภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาไทยได้

早在19世紀中、泰皇拉瑪四世就要求皇室成員學英文,電影《安娜與國王》便描述這段過程,電影中的英語教師教導的朱拉隆功王子,登基後成為拉瑪五世,他更廢除奴隸制、興建鐵路、建立制度,推動泰國西化,與日本的明治維新,並列亞洲著名西化案例。

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดให้สมาชิกของราชวงศ์เรียนภาษาอังกฤษ ในภาพยนตร์เรื่อง “แอนนาแอนด์เดอะคิง” (อังกฤษ: Anna and the King) ได้มีการบอกเล่าเรื่องราวเอาไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ท่านทรงศึกษาภาษาอังกฤษจากครูสอนภาษาต่างประเทศ ต่อมาได้เสด็จขึ้นครองสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ หลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองบัลลังก์ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกระบบไพร่ ระบบทาส สร้างทางรถไฟ วางระบบการปกครอง และส่งเสริมความเป็นตะวันตกในประเทศไทย และฟื้นฟูเมจิของญี่ปุ่น ในตอนนั้นนับว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการส่งเสริมความเป็นตะวันตกมากที่สุดในเอเชีย

อ่านข่าวเพิ่มเติม:台灣人權促進會秘書長施逸翔 為外籍移工、漁工和難民的權益保障 คุณซืออี๋เสียง เลขาธิการสมาคมไต้หวันเพื่อสิทธิมนุษยชน ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของแรงงานต่างชาติ ลูกเรือประมง ผู้ลี้ภัย

這個歷史背景,也讓泰國的英語化程度居東協第三,僅次新加坡、菲 律賓;光在曼谷,就有上百間國際學校,泰國是東協五個發起國之一,1967年,五國外長簽署《曼谷宣言》催生了東協。

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์นี้ยังทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พูดภาษาอังกฤษได้มากเป็นอันดับสามในอาเซียน รองจากสิงคโปร์และฟิลิปปินส์ เพียงแค่ในกรุงเทพฯ ก็มีโรงเรียนนานาชาติกว่าหลายร้อยแห่งแล้ว ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในห้าประเทศที่สนับสนุนอาเซียน ในปีค.ศ.1967 รัฐมนตรีต่างประเทศทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันลงนามใน ปฏิญญาอาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Declaration) หรือ ปฏิญญากรุงเทพฯ เพื่อผลักดันให้เกิดอาเซียนขึ้น

專家認為東協人才需要具備的條件是語言力、適應力、移動力,這也是海外工作必備的三種基本能力;泰國因地理位置、教育普及及官方大力推動,讓人民具足這三大條件。

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเงื่อนไขที่คนเก่งอาเซียนต้องมีคือ ความสามารถทางภาษา การปรับตัว และความคล่องตัว ซึ่งเป็น 3 ความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการทำงานในต่างประเทศ ประเทศไทยเนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ การศึกษาที่แพร่หลาย และการส่งเสริมอย่างเข้มแข็งจากรัฐบาล ทำให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้งสามนี้ได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading