คนทำงานออฟฟิศมักดื่มกาแฟเป็นประจำทุกวัน เพื่อปลุกพลังสมอง เรียกความสดชื่น เตรียมรับมือกับการทำงานตลอดทั้งวัน แต่รู้หรือไม่ว่า การดื่มกาแฟเป็นเวลานาน จะทำให้สูญเสียแคลเซียมไปกับปัสสาวะมาก จนเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ เมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานว่า หญิงวัยกลางคนรายหนึ่ง ลื่นล้มขณะอาบน้ำจนสะโพกหัก หลังวินิจฉัยพบว่าหญิงรายนี้ เป็นโรคกระดูกพรุน เนื่องจากดื่มกาแฟวันละ 3 แก้ว เป็นเวลาติดต่อกัน 30 ปี
อ่านข่าวเพิ่มเติม:“มะเร็งลำไส้ใหญ่” โรคร้ายอันดับหนึ่งในไต้หวัน แพทย์แนะหลีกเลี่ยงได้ด้วยการปรับพฤติกรรม
การดื่มกาแฟเป็นเวลานาน จะทำให้สูญเสียแคลเซียมไปกับปัสสาวะมากจนเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ ภาพ/จาก pixabay
แพทย์ ระบุว่า กรณีของผู้ป่วยรายนี้ เป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก จากรายงานผู้ป่วย มีเพียงประมาณ 1% เท่านั้น ผู้ที่มีค่าความหนาแน่นของกระดูกปกติ อยู่ที่ +1 ถึง -1 หากหกล้ม จะไม่เกิดภาวะกระดูกหัก ซึ่งความหนาแน่นของกระดูกของหญิงวัยกลางคนรายนี้ต่ำกว่า -2.5 ถือว่าเป็นโรคกระดูกพรุน แต่โดยทั่วไปแล้ว “กระดูกสะโพกหัก” มักเกิดในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีอัตราความพิการและอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง
ทั้งนี้ แพทย์ยังฝากเตือนอีกด้วยว่า คาเฟอีนและกรดออกซาลิกในกาแฟ จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย และเร่งการขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ ทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมเพิ่มมากขึ้นได้ จึงไม่แนะนำให้ดื่มกาแฟเกิน 2 แก้วต่อวัน นอกจากนี้ การบริโภคเครื่องดื่มอัดลม อาหารที่มีโซเดียมสูง และโปรตีนสูง ในระยะยาว ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน