:::

การพินิจพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานข้ามชาติในการเปลี่ยนนายจ้างได้อย่างอิสระ และสถานการแรงงานข้ามชาติทั่วโลก

การพินิจพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานข้ามชาติในการเปลี่ยนนายจ้างได้อย่างอิสระ และสถานการแรงงานข้ามชาติทั่วโลก

จากสถิติขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) ระบุว่า ทวีปเอเชียและทวีปยุโรปเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนแรงานข้ามชาติมากที่สุด (ดูตารางที่ 1)  โดยในปี 2017 มีแรงงานข้ามชาติเคลื่อนย้ายมายังเอเชียกว่า 30.89% และเคลื่อนย้ายไปยังยุโรปกว่า 30.23% (องค์การสหประชาชาติ, 2015) นอกจากนี้ ทวีปเอเชียไม่เพียงแต่เป็นจุดหมายปลายทางหลักของแรงงานข้ามชาติ ยังเป็นประเทศต้นทางของแรงงานข้ามชาติด้วย (sending countries) เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย บังกลาเทศ เนปาล และอินเดีย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่ส่งออกแรงงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ และอินโดนิเซีย ที่ส่งออกผู้อนุบาลและพยาบาลเป็นจำนวนมาก ซึ่งการย้ายถิ่นฐานของแรงงานและความต้องการในงานด้านการดูแลรวมกันกลายเป็นวัฏจักรการจ้างงานในลักษณะแบบนี้ทั่วโลก

จำนวนแรงงานข้ามชาติของแต่ละภูมิภาค (ตารางที่ 1)

นอกจากนี้ จากการศึกษาจำนวนมากพบว่า ผู้อนุบาลที่มีทักษะและรายได้ต่ำมักจะอยู่ในประเทศที่การควบคุมการเข้าเมืองมีความเข้มงวดน้อยกว่าและอนุญาตให้ผู้อนุบาลย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศได้ เช่น ประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ แคนาดา สหรัฐอเมริกา หรือแม้กระทั่งการย้ายถิ่นฐานทั้งครอบครัว แต่ก็เป็นการเพิ่มความท้าทายในการควบคุมแรงงานที่อพยพเข้ามาในประเทศด้วย (Spencer et al., 2009)

ในทางตรงกันข้ามภูมิภาคเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเก๊า มีการใช้มาตรการควบคุมการเข้าเมืองที่เข้มงวดขึ้นสำหรับแรงงานข้ามชาติและพยาบาลต่างชาติที่มีทักษะต่ำ โดยมีการให้ใบอนุญาติการทำงานและสิทธิที่พำนักชั่วคราว และจำนวนปีของการทำงานไม่สามารถนำไปพิจารณาขอวีซ่าผู้อพยพได้ เว้นแต่คุณจะแต่งงานกับคนในท้องถิ่น หรือผ่านการทดสอบได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาลและภาษาท้องถิ่นของญี่ปุ่น จึงจะได้รับสถานะการอยู่อาศัยแบบถาวร ซึ่งกล่าวได้ว่าเส้นทางของการที่จะได้รับสิทธิอยู่อาศัยแบบถาวรนั้นค่อนข้างยาก นักวิชาการ Silvey และ Parreñas (2019) กล่าวเอาไว้ว่า แรงงานข้ามชาติเหล่านี้มักเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ต้องรักษาความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวเพราะต้องแยกจากกัน และได้รับวีซ่าทำงานที่มีระยะเวลาการทำงานที่จำกัด

แรงงานข้ามชาติกำลังจับจ่ายใช้สอยในศูนย์การค้าย่านเซนทรัลของฮ่องกง 

ย่านเซนทรัลของฮ่องกงเป็นแหล่งรวมตัวของแรงงานข้ามชาติในช่วงวันหยุด

 

เส้นทางการทำงานอันแสนไกลของแรงงานข้ามชาติ: ข้อดีและข้อเสียของการเป็นแรงงานข้ามชาติ

แรงงานข้ามชาติหลายคนต้องการพัฒนาสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว (เช่น ให้บุตรได้รักการศึกษาที่ดี และยกระดับคุณภาพชีวิต) จึงได้กลายมาเป็นแรงงานข้ามชาติ พวกเค้ามีหลายบทบาท ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ สามีภรรยา หรือลูกสาวลูกชาย แม้ว่านายจ้างในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนหลายคนต้องการจ้างแรงงานที่ดี ตั้งใจทำงาน แต่แรงงานข้ามชาติแต่ละคนมีเป้าหมายในชีวิต และมีเรื่องราวชีวิตที่ไม่เหมือนกัน

ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายและกฎระเบียบด้านแรงงานและการเข้าเมืองในปัจจุบัน ทำให้แรงงานข้ามชาติต้องเผชิญกับความไม่เสมอภาคและการถูกเอารัดเอาเปรียบในรูปแบบต่างๆ และแม้ว่าในไต้หวันจะมีบริการสายด่วนร้องเรียนและให้คำปรึกษาสำหรับแรงงานข้ามชาติ 1955 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติที่คอยประชาสัมพันธ์และตรวจสอบสิทธิของแรงงานข้ามชาติ แต่ยังคงมีแรงงานข้ามชาติที่ไม่เข้าใจ หรือถูกล่อลวง จนกลายเป็นแรงงานข้ามชาติที่หลบหนี หรือถูกส่งตัวกลับประเทศ

แรงงานข้ามชาติหลายคนที่อยู่ในไต้หวันมาพักหนึ่งอาจประสบปัญหาเรื่องการปรับตัวเมื่อต้องกับไปยังบ้านเกิด หรือต้องเผชิญกับความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไป เรื่องราวชีวิตของแรงงานข้ามชาติแต่ละคนแสดงให้เห็นถึงความอดทนไม่ย่อท้อของพวกเขา

ข้อดีและข้อเสียของการเป็นแรงงานที่ประเทศต้นทางและปลายทางจะได้รับ (ตารางที่ 2)

ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานนานาชาติเถาหยวน

แรงงานข้ามชาติที่กำลังต่อแถวผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองไต้หวัน

ความสำคัญและการพิจารณาเงื่อนไขการเปลี่ยนนายจ้างใหม่อย่างอิสระ

จากการศึกษาพบว่าสถานการณ์สุขภาพของแรงงานอพยพอยู่ในสภาพที่แย่ลง เกือบครึ่งหนึ่งประสบกับภาวะซึมเศร้า ซึ่งการที่มีสุขภาพจิตที่ไม่ดีมีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยที่ยาวนานเกินไปและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่ไม่ดี วิธีหลีกเลี่ยงนายจ้างที่ละเมิดสัญญาจ้างแรงงาน สภาพแวดล้อมการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมและขาดความเคารพ การบังคับใช้กฎหมายสิทธิสำหรับแรงงานข้ามชาติและสิทธิมนุษยชนจึงมีความสำคัญมาก

ในปี 2017 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เสนอแนวคิดเรื่อง “การย้ายถิ่นฐานอย่างเป็นธรรม” และเรียกร้องให้“เคารพการสิทธิมนุษยชนและสิทธิด้านแรงงานของผู้ย้ายถิ่นฐาน และให้โอกาสด้านแรงงานที่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมถึงมาตรฐานแรงงานด้วย” อย่างไรก็ตาม ความกลัวในด้านการผ่อนปรนให้ผู้อนุบาลสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้อย่างอิสระ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความไม่แน่นอนต่อนายจ้างขึ้น โดยเฉพาะครอบครัวของผู้รับการดูแลที่เจ็บป่วยในระดับกลางขึ้นไปมีความกังวลว่า หากผู้อนุบาลสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้อย่างอิสระ จะไม่สามารถหาคนมาดูแลได้ (ผู้อนุบาลอาจเลือกดูแลผู้ที่ป่วยไม่หนัก เพราะสบายกว่า) อย่างไรก็ตามสิ่งนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนการบริการด้านดูแลระยะยาวในชุมชน

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้เตือนว่า รัฐบาลไต้หวันว่าควรมีความยืดหยุ่นมากกว่านี้ในด้านนโยบายและโครงการสำหรับแรงงานข้ามชาติ ตัวอย่างเช่น การพิจารณาเงื่อนไขที่แรงงานข้ามชาติสามารถเลือกนายจ้าง/งานได้อย่างอิสระ

โดยเฉพาะในส่วนของแรงงานที่ได้รับการว่าจ้างแล้ว หรือประเภทงานที่ขาดแคลนแรงงาน สิ่งนี้จะให้ความคุ้มครองสิทธิในการทำงานมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมประสิทธิภาพในตลาดแรงงาน และมีการจัดการในด้านแรงงานข้ามที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading