ปัจจุบันในไต้หวันวัฒนธรรมดนตรีประเภทต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในกลุ่มวัยรุ่นไต้หวันนอกจากจะมีวัฒนธรรมแร็พที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว ในโรงเรียนมัธยมหรือมหาวิทยาลัยก็มีชมรมฮิปฮอปเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน นอกจากนี้ผู้ตั้งถิ่นฐาน รุ่นที่ 2 ยังได้มีการแต่งเพลงแร็พ ที่มีการ "ผสมผสานวัฒนธรรม" เข้าไปในเนื้อเพลงอีกด้วย ตัวอย่างเช่น เถาจึ A1J (桃子A1J) นักร้องแร็พผู้ตั้งถิ่นฐาน รุ่นที่ 2 เธอกับหวังสุ่ยเอวี๋ยน (王水源) แร็พสตาร์คนใหม่ ได้ก่อตั้ง "ชมรมลูกพีช" (水蜜桃偵探社) ที่นำเอาภาษาฮ๊กเกี้ยนและภาษาเวียดนามมาผสมผสานเข้าด้วยกัน อย่างเพลง "ฉวินเหริน尋人" ที่สามารถคว้าแชมป์ "เหรินเหรินโหย่วจีเฉอ" (人人有機車) ผลงานภาษาถิ่นที่มีความสร้างสรรค์
เถาจึ (桃子) และหวังสุ่ยเอวี๋ยน (王水源) แร็พสตาร์คนใหม่ ได้ก่อตั้ง "ชมรมลูกพีช" (水蜜桃偵探社) ภาพจาก/เถาจึ 桃子A1J
แม่ของเถาจึเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนาม และพ่อของเขาเป็นชาวไต้หวัน เถาจึเติบโตในเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม จนอายุครบ 11 ปีถึงได้มีโอกาสเดินทางมา "เรียนภาษาจีน" ที่ไต้หวัน และนี่เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการแต่งเพลงที่สร้างสรรค์ของเขา
ตั้งแต่ปี 2019 เถาจึได้ศึกษาเรื่องดนตรีแร็พและมีผลงานออกมาให้เราได้ฟังกันอย่างมากมายอย่างต่อเนื่อง นอกจาก เพลง "ฉวินเหริน尋人"แล้ว ยังได้ร่วมแต่งเพลง "ม้าหมุน旋轉木馬" กับ หันเซิน (韓森) และ POPO J ในขณะเดียวกันเขายังเริ่มพยายามแต่งเพลงที่เป็นภาษาเวียดนาม ล่าสุดเขาได้แต่งเพลงภาษาเวียดนาม อย่าง "còn đâu những" ออกมาให้เราได้ฟังด้วย
อ่านข่าวเพิ่มเติม: กระทรวงศึกษาธิการประกาศ "แนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดในโรงเรียน" สั่งห้ามผู้ที่ป่วยไปทำงานหรือไปเรียนที่โรงเรียนเด็ดขาด
เถาจึมาเรียนที่ไต้หวันตอนอายุ 11 ปี ภาพจาก/เถาจึ 桃子A1J
เถาจึ ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ รุ่นที่ 2 ยังได้มีการแบ่งปันความแตกต่างระหว่างไต้หวันกับเวียดนามด้วย โดยเขาเล่าว่าตนอาศัยอยู่ในเมืองโฮจิมินห์ตั้งแต่เด็กพอย้ายมาอยู่ไทเปแล้วรู้สึกว่า ฝีเท้าของคนโฮจิมินห์กับคนไทเปไม่ต่างกันเท่าไหร่ แต่การขนส่งสาธารณะมีความแตกต่างกันมาก ซึ่งไทเปถือว่าการคมนาคมสะดวกและดี ถ้าใครอยู่ที่ไทเปก็จะเห็นนักเรียนประถมฯสามารถนั่งรถไปไหนมาไหนเองได้ แต่ที่เวียดนามเป็น "ประเทศที่เต็มไปด้วยรถจักรยานยนต์" คนส่วนใหญ่หากต้องการออกไปข้างนอกก็จะใช้รถจักรยานยนต์เป็นหลัก
อ่านข่าวเพิ่มเติม: คลิกด่วน! คูปอง 5 เท่าใช้ได้ในวันที่ 8 ต.ค. "วิธีลงทะเบียน ขอบเขตการใช้งาน และมาตรการเพิ่มเติม" เรานำมารวมไว้ในที่เดียวให้ท่านแล้ว
เถาจึแต่งเพลงแร็พเป็นภาษาเวียดนาม ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ภาพจาก/เถาจึ 桃子A1J
เถาจึกล่าวว่า ตอนที่เขามาเรียนที่ไต้หวันใหม่ๆ เพื่อนๆ ในห้องชอบเรียกเขาว่า "คนเวียดนาม" ถึงแม้ว่าฝ่ายตรงข้ามไม่ได้คิดร้ายกับเขา แต่การเรียกแบบนี้ทำให้เขากับเพื่อนดูมีระยะห่าง บางที่เหมือนโดนเลือกปฏิบัติ จนกระทั่งตนเองเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เขาเริ่มค้นพบ "ตัวตนที่แท้จริง" ของตนเอง และรู้สึกว่าการเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ รุ่นที่ 2 มีความได้เปลี่ยนทางวัฒนธรรม อีกทั้งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเขาได้พูดอย่างมั่นใจว่า "ฉันเป็นคนเวียดนามและคนไต้หวัน" สุดท้าย เถาจึยังให้กำลังใจผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ให้กล้าที่จะเป็นตัวเอง และใช้ความได้เปรียบทางวัฒนธรรมของตนเองออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ผู้ที่สนใจสามารถติดตาม「เถาจึ 桃子 A1J」ได้ที่
Instagram:@peach_jaye_a1j
YouTube:桃子A1J