[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามข้อมูลจาก “สวนสัตว์เปิดเขาเขียว” ระบุว่า อีกัวนา มีอวัยวะที่โดดเด่น คือ เหนียงที่เป็นแผ่นหนังกลมขนาดใหญ่ที่ห้อยอยู่ใต้คาง แผงหนามยาวลงมาตั้งแต่คอ กลางหลัง ไปจนถึงบริเวณหาง ที่แก้มจะเป็นเกล็ดแผ่นวงกลมขนาดใหญ่ที่เรียกว่า subtympanic shield และมีช่องหูที่อยู่ในแนวหลังตาแต่ละข้าง มีหางยาวซึ่งจะเป็นอวัยวะที่ช่วยในการป้องกันจากสัตว์ผู้ล่า โดยหางที่ยาวนั้น มีความแข็งแรง ใช้ฟาดเพื่อทำให้ศัตรูเกิดความเจ็บปวด นอกจากนี้ หางของมัน ยังสามารถสะบัดบางส่วนให้หลุดได้ เหมือนกับกิ้งก่าชนิดอื่นๆ เพื่อหนีได้เร็วขึ้น รวมทั้งมีคุณสมบัติงอกใหม่ได้ มีเกล็ดปกคลุมทั่วร่างกาย เกล็ดที่อยู่รอบคอเป็นเกล็ดขนาดใหญ่ ทรงกลมนูน มีเกล็ดหนาและเรียงตัวแน่นในส่วนด้านล่างของลำตัว และเกล็ดที่มีตามร่างกายที่มีในส่วนต่างๆ สีสันหลากหลาย ถึงแม้ว่าชื่อที่ใช้เรียกกิ้งก่าชนิดนี้ว่า อีกัวนาเขียว แต่สีเกล็ดยังมีปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับอายุ โดยที่ช่วงวัยเด็กสีพื้นของเกล็ดเป็นสีเขียวและมีแถบขนาดใหญ่สีน้ำตาล ปัจจัยที่สร้างความผันแปรอีก คือ สภาพอารมณ์ สุขภาพ อันดับในกลุ่ม และอุณหภูมิของพื้นที่ที่ร่างกายอีกัวนาจะต้องปรับตัว ถ้าอากาศหนาวเย็นสีเกล็ดจะออกคล้ำ ส่วนในช่วงอากาศร้อนสีเกล็ดจะลดความเข้มลง
อ่านข่าวเพิ่มเติม:เทรนด์การบำบัดด้วยป่าไม้กำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก นักบำบัดด้วยป่าไม้รุ่นแรกของไต้หวันพร้อมดูแลคุณแล้ว
ตามข้อมูลจาก “สวนสัตว์เปิดเขาเขียว” ระบุว่า อีกัวนาเขียว เป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ โดยช่วงวัยอ่อนจะกินแมลง หอย และเมื่อถึงช่วงอายุวัยเจริญพันธุ์จะกินใบไม้ ดอกไม้ ช่วงอายุโตเต็มวัยจะเลือกเกาะกิ่งไม้ในระดับเรือนยอด ส่วนวัยอ่อนจะเกาะกิ่งไม้ในระดับต่ำลงมา เลือกเกาะในจุดที่ได้รับแสงแดดโดยไม่ต้องลงจากต้นไม้ กรณีที่ลงพื้นดินคือเพศเมียที่ลงมาวางไข่ พวกมันจะสื่อสารกัน ผ่านการมองเห็น โดยการเคลื่อนลูกตา อีกัวน่าเขียวมีอายุเฉลี่ยนประมาณ 20 ปี พวกมันจะผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูร้อน ทั้งเพศเมียและเพศผู้จะผสมพันธ์กับเพศตรงกันข้ามหลายตัว โดยช่วงที่ลูกอีกัวนาเขียวออกจากไข่ จะเป็นช่วงฤดูฝนที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์