[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] รายงานข้อมูลล่าสุดจาก “สำนักทะเบียนกลาง” เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนประชากรในไทยมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายมากขึ้นในหลายปีที่ผ่านมา โดยปี 2565 มีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 1.59 ล้านคน ตามข้อมูลจาก ศูนย์ดูแล “สุขภาพผู้หญิงในแบบองค์รวม (Holistic Care)” โรงพยาบาลวิมุต ระบุว่า “ผู้หญิง” มีการจับจ่ายด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อปี 2565 มีอัตราผู้หญิงเข้ามาใช้บริการมากกว่าผู้ชาย เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20% และตั้งแต่ต้นปี 2566 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีสัดส่วนผู้ใช้บริการที่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายสูงถึง 20% เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ผู้หญิงที่เข้ามารับบริการส่วนใหญ่ จะเน้นไปที่การตรวจสุขภาพทั่วไป และเข้ารับบริการกับศูนย์สูตินรีเวช
ตามข้อมูลจาก “กรุงเทพธุรกิจ” นายแพทย์สมบูรณ์ ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิมุต กล่าวว่า “ผู้หญิง” เป็นกลุ่มที่พร้อมลงทุนกับการดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองในทุกช่วงของชีวิต โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพผู้หญิงจะลงทุนมากกว่าผู้ชาย ยิ่งในกลุ่มผู้หญิงยุคใหม่อย่าง เจน Y และ เจน Z ก็ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นกลุ่มที่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น
อ่านข่าวเพิ่มเติม : วารสารนานาชาติชี้ เดินวันละ 4,000 ก้าว ลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ !
ตามข้อมูลจาก “ไทยรัฐออนไลน์” เผยว่า “มะเร็ง” คือ สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิงไทย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขปี 2565 พบว่า ผู้หญิงไทยป่วยด้วย “โรคมะเร็งเต้านม” มากที่สุด จำนวน 38,559 ราย รองลงมา คือ “มะเร็งปากมดลูก” จำนวน 12,956 ราย โดยโรคมะเร็งเต้านมนับเป็นภัยเงียบใกล้ตัว เนื่องจากในระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด เมื่อพบอาการผิดปกติมักอยู่ในระยะที่ก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้น และลุกลามไปทั่วแล้ว ส่วนมะเร็งอันดับสองที่พบในหญิงไทยอย่าง “มะเร็งปากมดลูก” ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงวัย 30 -55 ปี ซึ่งมักเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus , HPV) ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ หรืออาจมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ และการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV จึงเป็นวิธีการป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด
อ่านข่าวเพิ่มเติม: 10 ประโยชน์ของการวิ่ง ลดไขมัน ลดโรค ลดเครียด ลดความเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ !