img
:::

ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างชาวพื้นเมืองและนักศึกษาต่างชาติ สัมผัสวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ซีดิก

ส่งเสริมการแลกเปลี่ยน นักศึกษาต่างชาติสัมผัสวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ซีดิก ภาพจาก/เฟสบุ๊ค มหาวิทยาลัยหมิงเต้า
ส่งเสริมการแลกเปลี่ยน นักศึกษาต่างชาติสัมผัสวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ซีดิก ภาพจาก/เฟสบุ๊ค มหาวิทยาลัยหมิงเต้า
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้เรียบเรียงและแปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] มีกลุ่มชาติพันธุ์มากมายที่อาศัยอยู่ในไต้หวัน รวมถึงผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ปัจจุบันนี้มีอยู่ทุกซอกมุมของไต้หวัน มีเยอะเช่นเดียวกับชาวฮกเกี้ยน ชาวฮากกา และชาวพื้นเมืองที่มีอายุยาวนานที่สุดในไต้หวันแล้ว ดังนั้น การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเป็นก้าวแรกในการทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ล่าสุด นักศึกษาต่างชาติที่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยหมิงเต้า (MINGDAO UNIVERSITY) ได้เดินทางไปโรงเรียนประถมศึกษาตูตา (都達國小) เพื่อสัมผัสวัฒนธรรมดั้งเดิม พร้อมช่วยทำความสะอาด และตกแต่งสถานที่ภายในโรงเรียน

อ่านข่าวเพิ่มเติม: เดินทางเข้าประเทศไทยได้ 3 วิธี ซึ่งทั้งหมดต้องสมัครผ่าน “Thailand Pass”

นักศึกษาต่างชาติสัมผัสประสบการณ์การสานไม้ไผ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ซีดิก ภาพจาก/เฟสบุ๊ค มหาวิทยาลัยหมิงเต้า

นักศึกษาต่างชาติสัมผัสประสบการณ์การสานไม้ไผ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ซีดิก ภาพจาก/เฟสบุ๊ค มหาวิทยาลัยหมิงเต้า

มหาวิทยาลัยหมิงเต้าเมืองจางฮั่ว ร่วมมือกับสมาคมพัฒนาชุมชนหลู่ซาน ดำเนินการพัฒนาโรงเรียนประถมศึกษาตูตา ในเมืองหนันโถว และส่งเสริมความเข้าใจของนักเรียนต่างชาติเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของคนชนเผ่าซีดิก (Seediq people) ชาวพื้นเมืองไต้หวัน

โรงเรียนประถมศึกษาตูตา เดิมเรียกว่า “โรงเรียนประถมศึกษาสันติภาพ” และเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการในปี 2560 โรงเรียนนี้ถือเป็นโรงเรียนประถมศึกษาแห่งแรกในเมืองหนันโถวที่ตั้งชื่อตามชนเผ่าชาวพื้นเมือง ชนเผ่าตูตาอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ซีดิก ซึ่งมีประชากรประมาณ 10,000 คนในไต้หวัน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตหนันโถว

 

นักศึกษาต่างชาติวาดภาพช้าง ภาพจาก/เฟสบุ๊ค มหาวิทยาลัยหมิงเต้า

นักศึกษาต่างชาติวาดภาพช้าง ภาพจาก/เฟสบุ๊ค มหาวิทยาลัยหมิงเต้า

ในครั้งนี้มีนักศึกษาจากอินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และไนจีเรีย ทั้งหมด 30 คนเข้าร่วม พวกเขาไม่เพียงแต่ช่วยจัดระเบียบสภาพแวดล้อมในวิทยาเขตที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังได้มีการช่วยทาสีและวาดภาพช้างในวิทยาเขตอีกด้วย นักศึกษาต่างชาติกล่าวว่า ช้างเป็นสัตว์ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูมากในประเทศไทยและอินเดีย ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตและการเก็บเกี่ยวที่ดี ในเวลาเดียวกัน พวกเขายังได้สัมผัสกับการสานไม้ไผ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ซีดิก นำนักเรียนต่างชาติทำความคุ้นเคยกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ด้วยการลงมือปฏิบัติ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading