img
:::

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอส  ร่วมกับ เอสซีจี และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทดลองทดสอบการใช้งานจริง 5G ในภาคอุตสาหกรรม โดยร่วมกันพัฒนารถยกต้นแบบทีาสามารถควบคุมผ่านระยะไกลบนเครือข่าย 5G จากเอสซีจีสำนักงานใหญ่บางซื่อกรุงเทพฯ – โรงงานของเอสซีจี จ. สระบุรีโดยผู้ควบคุมรถไม่ต้องอยู่ที่เดียวกับรถแต่สามารถควบคุมรถให้เคลื่อนย้ายสิ่งของจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดที่ต้องการแบบเรียลไทม์ สามารถต่อยอดไปสู่การฝึกอบรมพนักงานทางไกลและเพิ่มความปลอดภัยในงานที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งถือเป็นต้นแบบให้อุตสาหกรรมในประเทศไทยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงกับธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้

เอไอเอสและเอสซีจีได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในการร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเครือข่าย 5G ในโครงการอื่น ตลอดจนร่วมพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพพร้อมแข่งขันบนโลกยุคดิจิทัลเป้าหมายเพื่อร่วมกันสร้างระบบนิเวศน์ 5G ของการพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืนช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยและคุณภาพชีวิตของคนไทยไปอีกขั้นมุ่งขับเคลื่อนประเทศสู่ Thailand 4. 0 

นายอรรถพงศ์ สถิตมโนธรรม ผู้อำนวยการโครงการระบบอัตโนมัติและอุตสาหกรรม 4.0 เอสซีจี กล่าวว่า โครงการทดสอบที่เกิดขึ้นเป็นความพยายาของเอสซีจีที่ต้องการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานในทุกกลุ่มธุรกิจทั้งซีเมนต์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง แพคเกจจิ้งและเคมิคอลส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้องค์กรเติบโตได้อย่างมั่นคงและยกระดับโรงงานให้เป็นโรงงานอัจฉริยะ โดยได้ตั้งคณะทำงานด้าน Mechanization, Automation and Robotics (MARS) และ Industry 4. 0 ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับกระบวนการผลิตให้เป็นโรงงานอัจฉริยะ(Smart Factory) ด้วยการนำเทคโนโลยีด้าน MARS และ Industry 4. 0 มาผสมผสานกันโดยใช้เงินลงทุนกว่า 860 ล้านบาท ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 จนออกมาเป็นโซลูชัน อาทิการแจ้งเตือนเครื่องจักรก่อนการซ่อมบำรุง(Smart Maintenance) การใช้หุ่นยนต์ในห้องปฏิบัติการด้านการตรวจวัด (Smart Laboratory) การทำระบบจ่ายปูนให้ลูกค้าแบบอัตโนมัติ (Smart Dispatching) และการเชื่อมโยงข้อมูลตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้ทุกคนเห็นข้อมูลเดียวกันที่ถูกต้องและนำมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจรวมทั้งตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น

สำหรับการพัฒนารถ Forklift ขับเคลื่อนระยะไกลด้วยเครือข่าย 5G เริ่มดำเนินการที่โรงงานของเอสซีจีใน จ. สระบุรีเป็นแห่งแรกเพราะมีการเคลื่อนย้ายทั้งวัตถุดิบและสินค้าโดยใช้รถ Forklift เพื่ออำนวยความสะดวกจำนวนมากอีกทั้งรถ Forklift ยังเป็น material mobility ที่ควบคุมได้ง่ายที่สุดก่อนจะต่อยอดไปทดลองกับเครื่องมืออื่นในอนาคตซึ่งการนำเครือข่าย 5G ที่มีความรวดเร็วในการตอบสนองแบบเรียลไทม์และมีความแม่นยำในการส่งผ่านข้อมูลที่จำเป็นสำหรับระบบอัตโนมัติขั้นสูงมาใช้นั้นจะช่วยตอบโจทย์ของเอสซีจีทั้งการมีผลิตผลที่มากขึ้นเพราะพนักงานสามารถควบคุมรถจากที่ใดก็ได้ อีกทั้งสามารถฝึกอบรมการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ให้กับพนักงานที่อยู่ในพื้นที่อื่นๆได้โดยไม่ต้องเดินทางไปที่หน้างานส่วนทิศทางของเอสซีจีในการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้เสริมขีดความสามารถของธุรกิจในอนาคตนั้นสามารถเป็นไปได้ทั้งการเพิ่มความปลอดภัยในงานที่มีความเสี่ยงเช่น การทำงานของเครื่องจักรบริเวณเหมืองและเตาเผาปูนซีเมนต์ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานเช่นการเพิ่มความเร็วในส่งผ่านข้อมูลขนาดใหญ่จากโรงงานในหลากหลายพื้นที่มายังศูนย์ควบคุมส่วนกลางเพื่อให้บริหารจัดการข้อมูลได้แบบเรียลไทม์และการเสริมประสิทธิภาพให้ธุรกิจโลจิสติกส์การตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีขึ้นเช่นการเสริมประสิทธิภาพของIoT ในบ้านที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและปลอดภัยในการอยู่อาศัยมากขึ้นหรือ Smart Home รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาตามแนวทาง Industry 4. 0 ได้อย่างแท้จริง

นายพีระพงศ์ ทีมสกุล ผู้อำนวยการ โครงการอินโนเวชั่นฮับส์ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โดยสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัลเราทำงานวิจัยและพัฒนาอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมเพื่อร่วมกันศึกษาทดลองทดสอบเทคโนโลยี 5G ในมิติต่างๆมาอย่างต่อเนื่องโดยมีเป้าหมายที่จะสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความพร้อมมากที่สุดเพื่อส่งมอบต่อให้กับภาคอุตสาหกรรมนำไปใช้งานได้จริงส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมสำหรับงานวิจัยพัฒนานี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก Innovation Hub กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อนำแพลตฟอร์มระบบสมองกลฝังตัวขั้นสูงสำหรับยานยนต์ผสมกับระบบควบคุม Latency ต่ำผ่านทางไกลบนเครือข่าย AIS 5G นำไปใช้จริงในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมได้ในอนาคต-สำนักข่าวไทย.

ข้อมูลข่าวจาก สำนักข่าวไทย

เอสซีจี เอไอเอส มอ. ร่วมกันทดสอบ 5G (ภาพจาก pixabay)

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading