img
:::

ทายาทผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ชาวอินโดฯ วาด “แผนที่ร้านอาหาร” บันทึกประวัติศาสตร์การสู้ชีวิตในไต้หวันของพี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่

ทายาทผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ชาวอินโดฯ วาด “แผนที่ร้านอาหาร” บันทึกประวัติศาสตร์การสู้ชีวิตในไต้หวันของพี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ภาพจาก/เซี่ยฟาฉวิน (謝發群)
ทายาทผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ชาวอินโดฯ วาด “แผนที่ร้านอาหาร” บันทึกประวัติศาสตร์การสู้ชีวิตในไต้หวันของพี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ภาพจาก/เซี่ยฟาฉวิน (謝發群)
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

 [เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ร่วมกับ IC Voice FM 97.5 [新生報到-我們在台灣] (ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มารายงานตัว-พวกเราอยู่ในไต้หวัน) จัดทำบันทึกเรื่องราวสุดประทับใจเกี่ยวกับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน ซึ่งในตอนนี้ได้เรียนเชิญทายาทผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ชาวอินโดฯ-เซี่ยฟาฉวิน (謝發群) ปัจจุบันเขาเป็นนักเรียนสายวิชาภาษาอังกฤษประยุกต์ของโรงเรียนมัธยมอวี้ต๋า เขาฝึกฝนทักษะทางด้านภาษามาตั้งแต่เด็ก ขณะพูดคุยกับลูกค้าเขาสามารถสลับไปมาระหว่างภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และภาษาอินโดฯ ได้อย่างคล่องแคล่ว ความสามารถพิเศษทางด้านภาษาเป็นรากฐานสำคัญสำหรับเซี่ยฟาฉวินในการเชื่อมต่อวัฒนธรรมที่แตกต่างให้สามารถหลอมรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ยังได้นำเรื่องราวของตอนนี้มาจัดทำเป็นบทความ 5 ภาษา ได้แก่ จีน อังกฤษ เวียดนาม ไทย และอินโดฯ เพื่อให้ผู้อ่านรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเส้นทางการติดตามครอบครัวในการย้ายมาตั้งรกรากถิ่นฐานในไต้หวันของเซี่ยฟาฉวิน

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดสที่ 3 สามารถยื่น “ขอลางานเนื่องจากฉีดวัคซีน” กับบริษัทได้

หลังสถานีรถไฟเขตจงลี่ นครเถาหยวน เป็นแหล่งรวมตัวกันของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จำนวนมาก ภาพจาก/เซี่ยฟาฉวิน (謝發群)

หลังสถานีรถไฟเขตจงลี่ นครเถาหยวน เป็นแหล่งรวมตัวกันของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จำนวนมาก และร้านอาหารอินโดฯ ชื่อ “華珍印尼式餐坊” ที่ตั้งอยู่บนถนนซินซิงนั้นเป็นร้านของพ่อแม่เซี่ยฟาฉวินเอง ภายในร้านนอกจากจะขายอาหารอินโดฯ รสชาติต้นตำรับแล้ว ยังมีของประดับตกแต่งให้เลือกซื้อเลือกหาอีกมากมาย

เนื่องจากพ่อแม่ของเซี่ยฟาฉวินเป็นชาวอินโดฯ เชื้อสายจีนทั้งคู่ ดังนั้นตั้งแต่ยังเป็นเด็กเขาจึงมีความสนใจในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพิเศษ เวลาว่างเขามักจะไปเที่ยวชมร้านค้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในบริเวณใกล้เคียง เข้าไปพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวเส้นทางการย้ายมาตั้งถิ่นในไต้หวันกับคนในร้านอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ เซี่ยฟาฉวินยังเคยได้นำเอกลักษณ์ที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวของแต่ละร้านมาวาดเป็นแผนที่ร้านอาหารอันเลิศรส และทางโรงเรียนยังได้นำไปตีพิมพ์ภายใต้ชื่อ “育達周刊” อวี้ต๋ารายสัปดาห์ด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม: หายกังวล! สตม.เดินหน้ามุ่งมั่นรักษาสิทธิประโยชน์ของบุตรหลานแรงงานต่างชาติหลบหนีต่อไป

เซี่ยฟาฉวินได้นำเอกลักษณ์ที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวของแต่ละร้านมาวาดเป็นแผนที่ร้านอาหารอันเลิศรส ภาพจาก/เซี่ยฟาฉวิน (謝發群)

นอกจากนี้ ระหว่างที่เซี่ยฟาฉวินได้มีโอกาสไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับร้านค้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่าง ๆ แล้ว เขายังได้รู้จักกับภาคประชาสังคมที่คอยช่วยเหลือแรงงานต่างชาติชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย หลังจากที่เขาเริ่มมีประสบการณ์ในการเป็นสะพานเชื่อมระหว่างวัฒนธรรมไต้หวันและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว นอกเวลาเรียนเขายังรับบทบาทหน้าที่เป็นครูสอนภาษาจีนให้แก่แรงงานต่างชาติด้วย ซึ่งการช่วยเหลือพี่น้องร่วมประเทศในเรื่องของภาษานั้น สามารถทำให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นเซี่ยฟาฉวินจึงรักษาโอกาสในการช่วยเหลือผู้อื่นให้มากขึ้นตลอดเวลา

เซี่ยฟาฉวินพูดได้ 3 ภาษาอย่างคล่องแคล่ว จึงได้รับเชิญให้ไปทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาเยาวชนของสำนักงานกิจการเยาวชนนครเถาหยวน ภาพจาก/เซี่ยฟาฉวิน (謝發群)

เซี่ยฟาฉวินพูดภาษาจีนและอินโดฯ ได้อย่างคล่องแคล่ว จึงได้รับเชิญให้ไปทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาเยาวชนของสำนักงานกิจการเยาวชนนครเถาหยวน นอกจากจะใช้ภาษาจีนและอังกฤษในการคอยแนะนำกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะจัดขึ้นในนครเถาหยวน ให้เพื่อนพี่น้องต่างชาติได้เข้าใจ เขายังสามารถใช้ภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แนะนำได้อีกด้วย ซึ่งงานนี้ไม่เพียงแต่เป็นฝึกผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่แต่ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการจ้างงานอีกด้วย เซี่ยฟาฉวินหวังที่จะเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ใหม่และกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองเข้าด้วยกัน ให้ชีวิตของแต่ละคนเป็นเงาสะท้อนถึงกันและกัน

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading