img
:::

ทิ้งก้นบุหรี่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม? ผู้เชี่ยวชาญเผยก้นบุหรี่จะปล่อยโลหะหนักและฮอร์โมนสิ่งแวดล้อม

ทิ้งก้นบุหรี่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม? ผู้เชี่ยวชาญเผยก้นบุหรี่จะปล่อยโลหะหนักและฮอร์โมนสิ่งแวดล้อม

หลายปีมานี้ นานาชาติได้ให้ความสนใจในประเด็นมลพิษทางทะเล และเมื่อพูดถึงขยะในท้องทะเล ประชาชนก็มักจะนึกถึงขยะพลาสติก เช่น หลอดพลาสติก หรือถุงพลาสติก แต่คุณรู้ไหมว่าขยะที่เยอะที่สุดในท้องทะเลจริงๆ แล้วคือก้นบุหรี่? จากสถิติของสมาคมคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลระหว่างประเทศเผยว่า ในวันที่มีการทำความสะอาดชายหาด ขยะทุก 5 ชิ้น จะมี 1 ชิ้นเป็นก้นบุหรี่ ซึ่งก้นบุหรี่ไม่เพียงแต่สร้างความสกปรกเท่านั้น แต่ยังปล่อยสารที่เป็นอันตรายสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

สำนักข่าวหลายแห่งรายงานว่า จากสถิติระบุว่า ในยุค 1980 ขยะที่เก็บได้ในระหว่างการทำกิจกรรมทำความสะอาดชายหาดจะมีก้นบุหรี่มากที่สุด มากกว่าขยะพลาสติก เช่น ถุงพลาสติกหรือหลอด หรือคิดเป็นจำนวน 1 ใน 3 ของขยะในท้องทะเล

ประชาชนทั่วไปคิดว่าก้นบุหรี่จะสามารถค่อยๆ ย่อยสลายไปเองในดิน แต่ในความเป็นจริง เมื่อก้นบุหรี่กลายเป็นขยะก็จะสร้างมลพิษให้กับดินและน้ำ โลหะหนัก ฮอร์โมนสิ่งแวดล้อม และสารพิษต่างๆ จากก้นบุหรี่จะเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารและในที่สุดก็เกิดการสะสมผ่านการบริโภคอาหาร

สำหรับเด็กเล็กที่ได้รับนิโคติน 1-2 มิลลิกรัม จะเกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียน และถ้าได้รับมากเกินไปจะมีอาการทางระบบประสาท ก้นบุหรี่มีสารพิษต่อระบบประสาทซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเฉียบพลันเช่นคลื่นไส้และอาเจียน พิษที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการชัก การเต้นผิดปกติของหัวใจหรือหายใจลำบาก นอกจากนี้หากสัตว์เลี้ยงในบ้านกินก้นบุหรี่เข้าไปก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ทิ้งก้นบุหรี่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม? ผู้เชี่ยวชาญเผยก้นบุหรี่จะปล่อยโลหะหนักและฮอร์โมนสิ่งแวดล้อม (ภาพจาก pixabay)

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading