วิธีในการแสดงออกมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยผ่านคำพูดหรือตัวอักษร นับจากการพัฒนาและก้าวหน้าของเทคโนโลยี ภาพเคลื่อนไหวก็ได้กลายมาเป็นสื่อกลางในการแสดงออกอีกหนึ่งอย่าง เพื่อที่จะทำให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้มีวิธีการแสดงออกที่มากขึ้น ศูนย์บริการร่วมสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เมืองเถาหยวนจัดงาน “เวิร์คช็อปภาพยนตร์สำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 และแรงงานต่างชาติ” สอนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ถึงเทคนิคในการถ่ายทำและตัดต่อภาพยนตร์
ภายหลังจากการเรียนมาตลอดระยะเวลา 4 เดือน ก็ได้พบกับงานแสดงผลสัมฤทธิ์ เพลิดเพลินไปกับผลงานภาพยนตร์ที่ผู้เรียนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้ทำ [เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] มีโอกาสได้ติดต่อกับ จินน่าลี่ (金娜麗) ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวกัมพูชามีถ่ายทำภาพยนตร์ “สามี 99 คะแนนของฉัน” (《我的99分老公》) สัมภาษณ์ถึงเรื่องราวและประสบการณ์ของการถ่ายทำภาพยนตร์และการมาอยู่ที่ไต้หวัน
อ่านข่าวเพิ่มเติม: สามีชาวไต้หวันถ่ายทำภาพยนตร์สั้น “คืนที่นอนไม่หลับในไซ่ง่อน” รำลึกคืนวานในการสมรสกับ “ภรรยาชาวเวียดนาม”
ศูนย์บริการร่วมสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในเถาหยวนจัดงาน “เวิร์คช็อปภาพยนตร์สำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 และแรงงานต่างชาติ” (ภาพ / จากศูนย์วัฒนธรรมผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เมืองเถาหยวน)
ความพยายามเป็นเพียงหนทางเดียวที่มีและเป็นคำตอบที่ดีที่สุด
“สามี 99 คะแนนของฉัน” (《我的99分老公》) เป็นเรื่องราวของจินน่าลี่ (金娜麗) ที่ใช้ภาษาจีนบอกเล่าเรื่องราวของเธอกับสามีจงจื้อกัง (鍾志剛) โดยจินน่าลี่ไม่ได้สัมผัสกับภาษาจีนภายหลังจากการมาไต้หวัน เธอได้เรียนโรงเรียนภาษาจีนตั้งแต่ครั้นยังเด็กที่กัมพูชาแล้ว ไม่เพียงแต่จะได้เรียนภาษาจีน เธอยังได้มีโอกาสสัมผัสกับวิชาคณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์และวิชาอื่น ๆ มากมาย จินน่าลี่ไม่เพียงแต่มีความถนัดภาษาจีนแล้ว เพื่อเป้าหมายที่จะทำงานเธอยังได้เรียนภาษาไต้หวันกับสามีตนเองอีกด้วย
สำหรับจินน่าลี่แล้ว การเรียนภาษาแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ยากลำบาก แต่ก็เป็นเหตุผลที่ไม่เพียงพอที่จะทำให้เธอนั้นย่อท้อ จินน่าลี่เดินทางมาจากกัมพูชาตั้งแต่ปี 2003 ได้รู้จักสามีผ่านการแนะนำของญาติและได้แต่งงานกัน ตอนมาถึงไต้หวันช่วงแรก ๆ เธอรู้สึกโดดเดียวเป็นอย่างมาก เพราะว่าสามีและญาติฝ่ายสามีต่างก็ยุ่งอยู่กับการทำงาน เธอก็ได้เดินทางมาไต้หวันด้วยตัวคนเดียวในฐานะ “ชาวต่างแดน” ไม่รู้จะหาใครที่คอยรับฟังความเหงาของเธอทำให้เธอรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ ในตอนนั้นเธอไม่เพียงแต่ต้องแบกรับภาระการดูแลลูกชายอายุ 1 ปี แล้วยังท้องลูกอีก 1 คน ต้องคอยให้ความรักความห่วงใยแก่ลูกสาวที่กำลังจะคลอดในเร็ววัน
เผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนและความหวาดกลัว เคยทำให้จินน่าลี่รู้สึกถึงความไม่สบายใจเป็นอย่างมาก พ่อแม่ที่กัมพูชาก็ได้แสดงความรักและห่วงใยให้แก่เธอ โดยการเดินทางมาดูแลเธอหลังคลอดที่ไต้หวัน พ่อของเธอก็ได้บอกกับเธอว่า “หากมีความต้องการอะไร ก็กลับบ้านมาได้” แต่ทว่าจินน่าลี่ก็ไม่ยอมย่อท้อต่อความยากลำบากง่าย ๆ เธอไม่เพียงแต่คิดถูกลูกในท้องของเธอ เธอยังอยากที่จะพยายามสู้ไปกับสามีต่อไป จินน่าลี่บอกว่า “พวกเรารวมกันเปลี่ยนแปลงไปด้วยกันผ่านการพูดคุยและช่วยเหลือของผู้ใหญ่”
จินน่าลี่金娜麗 (คนที่ 2 นับจากซ้าย) และครอบครัวไปเที่ยวด้วยกัน (ภาพ / จาก จินน่าลี่金娜麗)
โอกาสที่ไม่คาดคิดทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองอบอุ่นขึ้น
จินน่าลี่ผู้ที่มีความพยายามไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม “เวิร์คช็อปภาพยนตร์สำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 และแรงงานต่างชาติ” นั้นเป็นไปด้วยความบังเอิญทั้งสิ้น ความสนใจในการทำภาพยนตร์สำหรับเธอแล้วไม่ได้มากมายอะไร เพียงแค่เธออยากจะเรียนรู้เทคนิคในการถ่ายรูป เพื่อที่จะสามารถ่ายรูปที่สวยงามให้ลูกค้าได้แค่นั้นเอง เธอบอกกับ [เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ว่าในช่วงเวลาที่เธอเรียน เคยคิดจะยอมแพ้หลายครั้ง แต่เธอคิดถึงโอกาสที่หาได้ยากเช่นนี้ กับการพูดคุยกับสามี จึงได้สามีเป็นพระเอกในภาพยนตร์เรื่องแรกที่เธอทำ เธอมาอยู่ไต้หวันเป็นระยะเวลากว่า 18 ปีแล้ว เธอรักธรรมชาติของไต้หวันโดยเฉพาะภูเขาลำเนาไพร มองไปยังพื้นทะเลและก้อนเมฆที่กว้างใหญ่ ทำให้เธอหลงรักไต้หวันเป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นจินน่าลี่ยังได้ชื่นชมน้ำใจที่ดีของชาวไต้หวัน “ครั้งหนึ่งตอนฉันทำงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้อาวุโสหรือแขก ไม่เคยหัวเราะฉันหรือดุด่าว่ากล่าวฉันเพราะฉันทำอะไรไม่ได้เลย พวกเขามักจะให้โอกาสที่ทำให้ฉันได้คุ้นเคย และให้ความรู้แก่ฉันอยู่เสมอ”
อ่านข่าวเพิ่มเติม: หลี่ลี่ ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ เข้าร่วมเวิร์คช็อปภาพยนตร์ของเถาหยวน ถ่ายทำภาพยนตร์ “บ้านโบราณของอาม่า” บันทึกความรู้สึกที่มีต่อบ้าน
หลังจากเวิร์คช็อปในครั้งนี้ พวกเขาทั้งสองก็หันมาหลงรักการถ่ายภาพและภาพยนตร์ บันทึกภาพประสบการณ์การท่องเที่ยวที่งดงาม (ภาพ / จาก จินน่าลี่金娜麗)
หลงรักไต้หวัน และกลายมาเป็น “ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่”
ไม่เพียงเท่านี้ จินน่าลี่ก็รู้สึกชอบในการที่ไต้หวันให้การดูแลผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่อย่างดี นอกจากการที่รัฐบาลจะจัดคอร์สฝึกอบรมโดยไมเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว ยังให้ความช่วยเหลือผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในการเดินทางมาใช้ชีวิตนไต้หวันในเรื่องต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้เธอรู้สึกอบอุ่นและหลงรักไต้หวัน ราวกับการถอดภาพ “ชาวต่างแดน” ออกไป กลายมาเป็น “ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่” ที่ใช้ชีวิตในไต้หวัน
ภายหลังจากสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายลง ก็คงจะได้เห็นจงจื้อกังชายผู้ขับรถทัวร์ที่ขับรถด้วยความตั้งใจและระมัดระวังความปลอดภัยให้กับทุกคน กับจินน่าลี่สาวผู้พูดคุยกับทุกคนอย่างสนุกสนาน การร่วมมือของทั้งสอง ได้มอบประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ยากจะลืมให้แก่นักท่องเที่ยวมากมาย