img
:::

กรมสรรพากรเตือนชาวต่างชาติต้องรู้เรื่องการยื่นจ่ายภาษีและลดหย่อนภาษี

ชาวต่างชาติที่ผ่านการรับรองสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้ ภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabay
ชาวต่างชาติที่ผ่านการรับรองสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้ ภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabay
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

เดือนพฤษภาคมเป็นฤดูกาลสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี กรมสรรพากรแห่งชาติไทเป กระทรวงการคลัง เตือนชาวต่างชาติที่มีบัตรทองการจ้างงาน ซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามสถานะของผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะทาง, มาทำงานที่ไต้หวันเป็นครั้งแรก, พำนักครบ 183 วันขึ้นไป และรายได้เกิน 3 ล้านเหรียญไต้หวัน สามารถเพลิดเพลินกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นเวลา 5 ปี ชาวต่างชาติที่เงินเดือนเกิน 3 ล้านเหรียญไต้หวัน ครึ่งหนึ่งสามารคิดเป็นกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมของปี ซึ่งสามารถนำมาช่วยลดหย่อนภาษีได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม : สำนักงานแรงงานเกาสงจัดการฝึกอบรมยกระดับความสามารถทางวิชาชีพล่ามแปลภาษาสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่

1. คนงานต่างชาติที่เดินทางไปทำงาน ไต้หวันต้องเสียภาษีเงินได้ ซึ่งทางการไต้หวันกำหนดดังนี้

 ก. คนงานต่างชาติที่พำนักในไต้หวันอย่างถูกกฎหมายไม่ครบ 183 วัน ใน 1 ปีภาษี (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) จะต้องเสียภาษีเงินได้โดยไม่สามารถขอรับคืนได้ ดังนี้

 - กรณีรายได้รวมต่อเดือนไม่เกิน 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือไม่เกิน 31,514 เหรียญไต้หวัน จะต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 6 แต่จะไม่ได้รับยกเว้นและลดหย่อนค่าใช้จ่ายปีละ 303,000 เหรียญไต้หวัน

- กรณีรายได้รวมต่อเดือนเกิน 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือเกิน 31,514 เหรียญไต้หวัน จะต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 18 โดยไม่สามารถขอรับคืนได้

ข. คนงานต่างชาติที่พำนักในไต้หวัน ครบ 183 วัน ใน 1 ปีภาษี (1 มกราคม – 31 ธันวาคม) จะได้รับการลดหย่อนค่าใช้จ่ายปีละ 306,000 เหรียญไต้หวัน เงินได้สุทธิเกินจากนี้จะต้องเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 5

ค. คนงานต่างชาติทุกรายที่จะเดินทางกลับประเทศต้องยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ ก่อนเดินทางกลับ ซึ่งหากเดือนใดมีรายได้ไม่เกิน 31,514 เหรียญไต้หวัน ก็จะได้รับเงินคืนภาษีส่วนที่หัก เติมไว้ในเดือนนั้นๆ หลังอื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีประจำปี ในเดือนพฤษภาคมของปีถัดไปแล้ว ประมาณ 3-4 เดือน จึงจะได้รับคืนเงินภาษีส่วนที่จ่ายเกิน

 ตัวอย่างเช่น แรงงานมีรายได้จากการทำงานเดือนละ 21,009 เหรียญไต้หวัน ทำงานอยู่ตลอดปีภาษี (12 เดือน) จะมีรายได้รวมเป็นเงิน 21,009x12 = 252,108 เหรียญไต้หวัน ซึ่งเป็นจำนวนน้อยกว่าค่าลดหย่อน และค่าใช้จ่ายที่กรมสรรพากรจะนำมาหักออกได้ 306,000 เหรียญไต้หวัน จึงไม่มีเงินสุทธิที่ต้องเสียภาษี แต่อย่างใด

อ่านข่าวเพิ่มเติม : “Taiwan Tourist Shuttle” บริการรถโดยสารสาธารณะจัดโปรโมชั่นลดครึ่งราคา พร้อมเพิ่มเส้นทางเชื่อมสถานที่ท่องเที่ยว

ชาวต่างชาติที่ผ่านการรับรองสามารถยื่นลดหย่อนภาษีได้ภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabay

2 เงื่อนไขการยื่นคำร้องขอคืนภาษี

- ไต้หวันกำหนดในยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม ของทุกปี และจะทยอย คืนเงินภาษีตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม (ใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 4-6 เดือน) สำหรับ ผู้ที่จะเดินทางกลับประเทศต้องยื่นแบบแสดงภาษีและชำระภาษีเดินทางกลับประมาณ 1 สัปดาห์

- การยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีไต้หวัน ควรยื่นคำร้องภายหลังเดินทางกลับจากไต้หวันมาแล้ว ประมาณ 6 เดือน – 1 ปี (ภายหลังจากที่เดินทางกลับมาแล้วเป็นเวลา 6 เดือน และพบว่ายังไม่ได้รับเงินโอน ภาษีคืนให้) ไม่ควรปล่อยเรื่องไว้เกิน 5 ปี นับแต่วันที่นายจ้างยื่นชำระภาษี เนื่องจากกรมสรรพากร ไต้หวัน จะเก็บหลักฐานการจ่ายภาษีไว้เพียง 5 ปี หากเกินระยะเวลาดังกล่าวจะไม่สามารถตรวจสอบเงินคืนภาษีได้

- กรณีลูกจ้างทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยงานบ้านหรือผู้อนุบาลในครอบครัว เนื่องจากนายจ้าง เป็นบุคคลธรรมดาไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากลูกจ้าง ลูกจ้างจึงไม่ต้องเสียภาษีล่วงหน้าเป็นรายเดือน แต่ยังมีหน้าที่ต้องชำระตามประมวลรัษฎากร คือ ยื่นแบบแสดงรายได้และชำระภาษีภายในเดือน พฤษภาคม ของปีถัดไป

- หากภาษีที่ต้องจ่ายจริงไม่เกิน 2,000 เหรียญไต้หวันต่อเดือน ลูกจ้างมีสิทธิขอไม่หักภาษี ล่วงหน้าเป็นรายเดือน โดยไปชำระครั้งเดียวตามจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายจริงขณะยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีในปีถัดไป

- อายุความ 5 ปี นับจากวันที่เดินทางออกจากไต้หวัน

3. เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องแรงงานไทยผู้ขอคืนเงินภาษีต้องกรอกรายละเอียดในฟอร์ม บันทึกการสอบข้อเท็จจริงกรณีการจ่ายเงินค่าภาษีไต้หวันส่วนที่จ่ายเกินเพื่อขอเงินคืนภาษี และแนบเอกสาร ที่จําเป็นประกอบด้วย

- สำเนาหนังสือเดินทางฉบับที่ใช้เดินทางมาทำงานที่ไต้หวัน

 - สำเนาบัตรแสดเย็น อยู่ (ใบกาน่า) กรณีไม่มี ต้องนี้ที่อยู่นายจ้างที่ชัดเจนและถูกต้อง

- หนังสือมอบอำนาจการขอรับเงินภาษี (ภาษาจีน) ลงลายมือชื่อให้เหมือนในหนังสือเดินทาง (คนงานไทยต้องลงลายมือชื่อให้เหมือนลายมือชื่อในหนังสือเดินทาง)

 - สำเนาเลขบัญชีเงินฝากที่จะโอนเงินเข้า (ควรเป็นบัญชีในชื่อของแรงงานไทย และจะต้องเป็นบัญชีที่ยังใช้งานอยู่)

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading