img
:::

เดือนพ.ค.คนกทม.ว่างงาน 9.6% แนะภาครัฐเร่งหามาตรการรองรับ

เดือนพ.ค.คนกทม.ว่างงาน 9.6% แนะภาครัฐเร่งหามาตรการรองรับ

รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยแจ้งว่า  ได้ทำการสำรวจสภาวะการครองชีพของครัวเรือนไทยที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในช่วงวันที่ 21-28 พ.ค. พบว่า อัตราการว่างงานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เดือนพ.ค. 2563 อยู่ที่ 9.6% โดยส่วนใหญ่ของจำนวนผู้ว่างงานที่ทำการสำรวจ มีสาเหตุหลักมาจากผลกระทบของ COVID-19 และมาตรการล็อกดาวน์ที่ทำให้ครัวเรือนบางส่วนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ  ทั้งนี้ อัตราการว่างงานน่าจะอยู่ในระดับสูงสุดช่วงไตรมาสที่ 2 และค่อยๆ ปรับตัวลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ภายใต้สมมติฐานที่ว่า ไม่มีการแพร่ระบาดซ้ำของไวรัส COVID-19 จนนำไปสู่มาตรการล็อกดาวน์ ครั้งที่ 2

 นอกจากนี้ ครัวเรือนไทยส่วนใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญของเงินออมและการสร้างรายได้หลายช่องทางมากขึ้น หลังเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด  นอกจากนี้ ครัวเรือนส่วนใหญ่ที่ หันไปค้าขายออนไลน์เพิ่มขึ้น ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ในการดูดซับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ซึ่งเข้ามาแทนที่ภาคเกษตรกรรม 

ขณะที่รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนกลับเปลี่ยนไปในทิศทางที่ระมัดระวัง และเร่งสร้างวินัยทางการเงินของตนเองเพิ่มขึ้น จึงเป็นโจทย์เร่งด่วนสำหรับภาครัฐ ทั้งในเรื่องของการออกมาตรการเศรษฐกิจที่ช่วยสร้างงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและรองรับจำนวนผู้ว่างงานใหม่หลังมาตรการเยียวยาสิ้นสุดลง และการออกมาตรการส่งเสริมการออมที่เอื้อต่อแรงงานหลายกลุ่ม    เช่น แรงงานในระบบ  แรงงานนอกระบบ  และแรงงานที่มีรายได้น้อย  เป็นต้น

ส่วนการดำเนินชีวิตหลังเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส  ของครัวเรือนไทย 3 กลุ่ม แบ่งตาม การใช้สิทธิเยียวยาผลกระทบจากโควิด กลุ่มที่1  แรงงานนอกระบบที่ได้รับสิทธิเงินเยียวยาจากมาตรการ “เราไม่ทิ้งกัน ” พบว่า หลังมาตรการ สิ้นสุดลง ครัวเรือน ส่วนใหญ่ 35.5% พยายามหางานรับจ้างชั่วคราว (ฟรีแลนซ์) แบบเดิมทำไปก่อน อีก 25.6% เปลี่ยนไปค้าขายออนไลน์  

กลุ่มแรงงานในระบบที่แบะใช้สิทธิ์เงินชดเชย จากประกันสังคมกรณี COVID-19 พบว่า หลังจากที่สิ้นสุดช่วง 3 เดือนที่ได้รับเงินชดเชยจาก ประกันสังคมแล้ว แรงงานกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ 47.4% เลือกที่จะกระจายความเสี่ยงทางด้านรายได้ ผ่านการมีอาชีพเสริมเพิ่มเติม อย่างน้อย 1 อาชีพ อีก 18.0% จะกลับเข้าทำงานบริษัทเดิม หากมีการรับคนเพิ่ม และอีก 11.3% เปลี่ยนไปค้าขายออนไลน์แทน

กลุ่มแรงงานที่ไม่ได้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์ และไม่ได้ใช้สิทธิ์เงิน ชดเชยกรณีโควิด จากประกันสังคม แรงงานกลุ่มนี้ตระหนักถึงความสำคัญของวินัยทางการเงินของตนเองมากขึ้น โดย 43.8% ของแรงงานกลุ่มนี้เริ่มเก็บออมมากขึ้นและระมัดระวังการใช้จ่ายใน ปัจจุบัน อีก 28.4% มองหาอาชีพเสริมเพิ่มเติมเพื่อสร้างรายได้หลายช่องทาง และอีก 22.9% ลดการก่อหนี้ทุกรูปแบบ และพยายามปลดภาระหนี้สินที่มีอยู่เดิมให้เร็วที่สุด

ข้อมูลข่าวจาก เดลินิวส์

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading