img
:::

แต่งงานแล้วมีความสุขมากขึ้นจริงหรือไม่ ?

ภาพ/นำมาจาก Pixabay
ภาพ/นำมาจาก Pixabay

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] แต่งงานแล้วมีความสุขมากขึ้นหรือเปล่า? ตามข้อมูลจาก “สำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์” ระบุว่า การศึกษาพบว่าคู่แต่งงานมักจะมีรายได้มากกว่าคนโสด ซึ่งเกิดจากการแบ่งงานกันทำ นอกจากเรื่องรายได้แล้ว การแต่งงานยังสร้างประโยชน์ในด้านอื่นๆ เหล่านักวิจัยจากแวดวงจิตวิทยา สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยว่า เมื่อเทียบกับคนโสดแล้ว คู่สามีภรรยาจะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีกว่า โดยมีแนวโน้มใช้สารเสพติดและภาวะซึมเศร้าน้อยกว่า และยังมีอายุคาดเฉลี่ยที่ยืนยาวกว่าอีกด้วย โดยเหล่านักวิจัยระบุว่ามีสองเหตุผลที่ทำให้คู่แต่งงานมีความสุขมากกว่าคนโสด ประการแรกคือคู่สมรสคือคนที่ช่วยเพิ่มพูนความนับถือตนเอง (self-esteem) สามีหรือภรรยานับเป็นพื้นที่หลบภัยจากความเครียดในชีวิตส่วนตัวหรือที่ทำงาน ประการที่สองคือคู่แต่งงานมีแนวโน้มสูงกว่าที่จะได้ประโยชน์และการเกื้อหนุนจากความสัมพันธ์ใกล้ชิดในระยะยาว และมีแนวโน้มน้อยกว่าที่ต้องทนทุกข์จากความเปลี่ยวเหงา นอกจากนี้ จากงานวิจัย พบว่า คนที่ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันถึงแม้ว่าจะไม่ได้แต่งงานกัน ก็มีความสุขกว่าคนที่อยู่โดยลำพังอย่างมีนัยสำคัญ และบางครั้งอาจมากกว่าคู่ที่แต่งงานกันด้วยซ้ำอย่างไรก็ตาม ระดับความสุขที่เพิ่มขึ้นนั้นแปรผันไปตามวัฒนธรรมของแต่ละสังคม

อ่านข่าวเพิ่มเติม:โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย

ตามข้อมูลจาก “สำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์” ระบุว่า ผลลัพธ์ที่คนแต่งงานมีความสุขมากกว่าคนโสด อาจเกิดขึ้นจากอคติจากการเลือก (selection bias) ตัวอย่างเช่น เหล่าหญิงชายชาวอินโทรเวิร์ตที่ขี้หงุดหงิดรำคาญ ไม่ค่อยชอบสุงสิงกับใคร และชีวิตไม่ค่อยมีความสุข ย่อมมีโอกาสที่จะแต่งงานน้อยกว่าหญิงชายชาวเอ็กซ์โทรเวิร์ตที่ชอบสังสรรค์พบปะผู้คน ร่าเริงแจ่มใส และมีรอยยิ้มระบายอยู่บนหน้าตลอดเวลา เหล่านักเศรษฐศาสตร์ความสุข พบว่าชายหญิงที่แต่งงานก่อนอายุถึงเลข 3 จะมีความสุขก่อนแต่งงานมากกว่าค่าเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่แต่งงานหลังอายุเลข 3 ทีมวิจัยก็พบว่า พวกเขาหรือเธอนั้นมีระดับความสุขไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มที่ตัดสินใจครองตนเป็นโสดแต่อย่างใด นั่นหมายความว่า ‘อคติจากการเลือก’ จะเกิดขึ้นเฉพาะในหมู่หญิงชายที่แต่งงานเร็วเท่านั้น

การแต่งงานจะสร้างความสุขให้แค่ในระยะสั้นหรือไม่ ? นักเศรษฐศาสตร์ความสุข เผยว่า ค่าเฉลี่ยความสุขของคู่แต่งงานและคนโสดตามช่วงอายุมีลักษณะคล้ายกันคือเป็นรูปตัวยู (U) หมายความว่า มีความสุขในช่วงอายุน้อย มีความทุกข์ที่สุดในช่วงวัยกลางคน และกลับมามีความสุขอีกครั้งเมื่อใกล้เกษียณอายุ

อ่านข่าวเพิ่มเติม: การบริโภควิตามินซีมากเกินไป อาจส่งผลให้การตรวจพบโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ล่าช้า

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading