img
:::

การเรียกคืนเงินที่ถูกหลอกลวง? ระวังการหลอกลวงซ้ำซ้อน!

การเรียกคืนเงินที่ถูกหลอกลวง? จริง ๆ แล้วเป็นการหลอกลวงซ้ำซ้อน! (ภาพจาก: 165 Anti-Fraud Facebook)
การเรียกคืนเงินที่ถูกหลอกลวง? จริง ๆ แล้วเป็นการหลอกลวงซ้ำซ้อน! (ภาพจาก: 165 Anti-Fraud Facebook)

ช่วงนี้มีคดีหลอกลวงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ประชาชนบางรายที่ตกเป็นเหยื่อถูกหลอกซ้ำโดยมิจฉาชีพที่ใช้ความต้องการได้ทรัพย์สินคืนของเหยื่อมาเป็นโอกาสในการหลอกลวงอีกครั้ง รูปแบบการโกงมีหลายลักษณะ ดังนี้:

การหลอกลวงโดยการแอบอ้างเป็นตำรวจ
มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ อ้างว่าจับกุมผู้กระทำผิดได้แล้ว และขอให้เหยื่อจ่าย “ค่าธรรมเนียม” หรือ “เงินประกัน” เพื่อให้ได้เงินที่ถูกโกงกลับคืนมา พร้อมทั้งขอให้โอนเงิน รูดบัตร หรือมอบเงินสดให้

การหลอกลวงโดยการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร
มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร อ้างว่าเงินได้ถูกโอนคืนแล้ว แต่ต้องลบข้อมูลธุรกรรมที่เคยทำ จึงให้เหยื่อไปทำรายการที่ตู้เอทีเอ็ม แต่จริงๆ แล้วคือการโอนเงินที่เหลืออยู่ในบัญชีของเหยื่อออกไป

การหลอกลวงโดยการแอบอ้างเป็นทนายความ
บางบุคคลประกาศผ่านทางออนไลน์ว่าทนายสามารถช่วยติดตามเงินที่โดนโกงกลับมาได้ และให้คำปรึกษาฟรี เมื่อเหยื่อมาขอความช่วยเหลือ มิจฉาชีพจะขอเก็บค่าธรรมเนียมทนายหรือให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลบัญชีส่วนตัว สุดท้ายเงินทั้งหมดก็หายไป หรือทำให้เหยื่อกลายเป็นผู้ร่วมกระทำผิดไปด้วย

การหลอกลวงโดยใช้ข้อมูลเท็จ
มิจฉาชีพใช้ข้อมูลจากโพสต์บนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างว่าสามารถใช้เทคโนโลยีหรือช่องทางพิเศษในการติดตามเงินที่ถูกโกงกลับมาได้ เพื่อชักจูงให้เหยื่อเข้าร่วมกลุ่ม LINE ที่กำหนด จากนั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ มากมาย

วิธีตรวจสอบตัวตนเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เมื่อได้รับสายที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ควรตรวจสอบชื่อหน่วยงานและตำแหน่งของผู้ที่โทรมา จากนั้นวางสาย และค้นหาข้อมูลการติดต่ออย่างเป็นทางการของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อยืนยันตัวตน หลีกเลี่ยงการโทรกลับไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อเข้ามา

วิธีตรวจสอบตัวตนทนายความ
สามารถตรวจสอบตัวตนทนายความได้ที่“ระบบตรวจสอบทนายความของกระทรวงยุติธรรม” (https://lawyerbc.moj.gov.tw/) ซึ่งในระบบจะมีข้อมูลของทนายความที่ผ่านการสอบและฝึกงานจนสามารถประกอบวิชาชีพได้ นอกจากนี้ มูลนิธิให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายยังให้บริการให้คำปรึกษาฟรีอีกด้วย

ควรทำอย่างไรเมื่อโดนหลอกลวง?
หากพบว่าตนเองตกเป็นเหยื่อ ควรโทรแจ้งความที่ 110 หรือขอความช่วยเหลือจากสายด่วนต่อต้านการฉ้อโกงที่ 165 ทันที อย่าไว้ใจแฮกเกอร์หรือองค์กรไม่ทราบที่มาที่กล่าวอ้างว่าสามารถติดตามเงินคืนได้ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงซ้ำ

ตำรวจเตือน: ประชาชนควรมีความระมัดระวังเกี่ยวกับคำสัญญาในการ “ติดตามเงินที่ถูกโกงคืนมา” และควรมีสติ อย่าตกเป็นเหยื่อของการโกงซ้ำซ้อน

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

Elizabeth If you have lost money fraudulently to any company, broker or account manager and want to retrieve it, then contact RamsayMacDonald AT CONSULTANT DOT com he will help.

回覆
5天前

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading