img
:::

การเรียกคืนเงินที่ถูกหลอกลวง? ระวังการหลอกลวงซ้ำซ้อน!

การเรียกคืนเงินที่ถูกหลอกลวง? จริง ๆ แล้วเป็นการหลอกลวงซ้ำซ้อน! (ภาพจาก: 165 Anti-Fraud Facebook)
การเรียกคืนเงินที่ถูกหลอกลวง? จริง ๆ แล้วเป็นการหลอกลวงซ้ำซ้อน! (ภาพจาก: 165 Anti-Fraud Facebook)

ช่วงนี้มีคดีหลอกลวงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ประชาชนบางรายที่ตกเป็นเหยื่อถูกหลอกซ้ำโดยมิจฉาชีพที่ใช้ความต้องการได้ทรัพย์สินคืนของเหยื่อมาเป็นโอกาสในการหลอกลวงอีกครั้ง รูปแบบการโกงมีหลายลักษณะ ดังนี้:

การหลอกลวงโดยการแอบอ้างเป็นตำรวจ
มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ อ้างว่าจับกุมผู้กระทำผิดได้แล้ว และขอให้เหยื่อจ่าย “ค่าธรรมเนียม” หรือ “เงินประกัน” เพื่อให้ได้เงินที่ถูกโกงกลับคืนมา พร้อมทั้งขอให้โอนเงิน รูดบัตร หรือมอบเงินสดให้

การหลอกลวงโดยการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร
มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร อ้างว่าเงินได้ถูกโอนคืนแล้ว แต่ต้องลบข้อมูลธุรกรรมที่เคยทำ จึงให้เหยื่อไปทำรายการที่ตู้เอทีเอ็ม แต่จริงๆ แล้วคือการโอนเงินที่เหลืออยู่ในบัญชีของเหยื่อออกไป

การหลอกลวงโดยการแอบอ้างเป็นทนายความ
บางบุคคลประกาศผ่านทางออนไลน์ว่าทนายสามารถช่วยติดตามเงินที่โดนโกงกลับมาได้ และให้คำปรึกษาฟรี เมื่อเหยื่อมาขอความช่วยเหลือ มิจฉาชีพจะขอเก็บค่าธรรมเนียมทนายหรือให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลบัญชีส่วนตัว สุดท้ายเงินทั้งหมดก็หายไป หรือทำให้เหยื่อกลายเป็นผู้ร่วมกระทำผิดไปด้วย

การหลอกลวงโดยใช้ข้อมูลเท็จ
มิจฉาชีพใช้ข้อมูลจากโพสต์บนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างว่าสามารถใช้เทคโนโลยีหรือช่องทางพิเศษในการติดตามเงินที่ถูกโกงกลับมาได้ เพื่อชักจูงให้เหยื่อเข้าร่วมกลุ่ม LINE ที่กำหนด จากนั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ มากมาย

วิธีตรวจสอบตัวตนเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เมื่อได้รับสายที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ควรตรวจสอบชื่อหน่วยงานและตำแหน่งของผู้ที่โทรมา จากนั้นวางสาย และค้นหาข้อมูลการติดต่ออย่างเป็นทางการของหน่วยงานนั้นๆ เพื่อยืนยันตัวตน หลีกเลี่ยงการโทรกลับไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อเข้ามา

วิธีตรวจสอบตัวตนทนายความ
สามารถตรวจสอบตัวตนทนายความได้ที่“ระบบตรวจสอบทนายความของกระทรวงยุติธรรม” (https://lawyerbc.moj.gov.tw/) ซึ่งในระบบจะมีข้อมูลของทนายความที่ผ่านการสอบและฝึกงานจนสามารถประกอบวิชาชีพได้ นอกจากนี้ มูลนิธิให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายยังให้บริการให้คำปรึกษาฟรีอีกด้วย

ควรทำอย่างไรเมื่อโดนหลอกลวง?
หากพบว่าตนเองตกเป็นเหยื่อ ควรโทรแจ้งความที่ 110 หรือขอความช่วยเหลือจากสายด่วนต่อต้านการฉ้อโกงที่ 165 ทันที อย่าไว้ใจแฮกเกอร์หรือองค์กรไม่ทราบที่มาที่กล่าวอ้างว่าสามารถติดตามเงินคืนได้ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงซ้ำ

ตำรวจเตือน: ประชาชนควรมีความระมัดระวังเกี่ยวกับคำสัญญาในการ “ติดตามเงินที่ถูกโกงคืนมา” และควรมีสติ อย่าตกเป็นเหยื่อของการโกงซ้ำซ้อน

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading