img
:::

รัฐบาลไทยตั้งเป้าหมายที่จะเปลี่ยนนิยามของโควิด-19 จาก “การระบาดใหญ่” มาเป็น “โรคประจำถิ่น” ภายในปี 2565

รัฐบาลไทยตั้งเป้าหมายที่จะเปลี่ยนนิยามของโควิด-19 จาก “การระบาดใหญ่” (pandemic) มาเป็น “โรคประจำถิ่น” (endemic) ภายในปี 2565 ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
รัฐบาลไทยตั้งเป้าหมายที่จะเปลี่ยนนิยามของโควิด-19 จาก “การระบาดใหญ่” (pandemic) มาเป็น “โรคประจำถิ่น” (endemic) ภายในปี 2565 ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

ตามรายงานข่าวของ “คมชัดลึก” นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงสถานการณ์ “โควิด19” ว่า แผนรับมือการระบาดโรคโควิด-19 ของประเทศไทยนั้นในปี 2565 คือ  การชะลอการแพร่ระบาด การติดเชื้อไม่น่ากลัว แต่เรากลัวการแพร่ระบาดที่รวดเร็วเกินไป อาจทำให้ผู้ป่วยมีมากเกิดระบบสาธารณสุขจะรับไหว หรือเกิดเชื้อกลายพันธุ์ได้อีก ดังนั้น สธ. จำเป็นต้องชะลอการระบาด และค่อย ๆ รับมือ อย่างไรก็ตามผู้ติดเชื้อที่อาการไม่รุนแรง จะวางมาตรการดูแลในการแพทย์ ด้วยการใช้ระบบ Home Isolation หรือ Community Isolation

อ่านข่าวเพิ่มเติม: พนักงานต้องดู! ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 65 เป็นต้นไป หากนายจ้างจัดให้พนักงานทำงานล่วงเวลาไม่ว่าจะเป็นกะกลางวันหรือกะดึกต้องจ่ายค่าโอที

นอกจากนี้ สธ.ยัง แผนรับมือการระบาดโรค โควิด19” โดยแบ่งเป็น 4 มาตรการหลักคือ

1.มาตรการสาธารณสุข ใช้แนวทางการชะลอการระบาด เพื่อให้ระบบสาธารณสุขดูแลทุกคนได้ เพิ่มวัคซีนเข็มที่ 3 หรือเข็มที่ 4 ยืนยันว่า วัคซีนมีคุณภาพและมีความเพียงพอ ตรวจ ATK จึงต้องขอความร่วมมือประชาชนตรวจคัดกรองตัวเอง หรือเข้ารับการตรวจที่คลินิก สถานพยาบาล ส่วนสธ. จะติดตามเฝ้าระวังการกลายพันธุ์

2.มาตรการการแพทย์ เนื่องจากโรคไม่มีความรุนแรง จึงเน้นการดูแลมาใช้แบบแยกกักที่บ้าน (Home Isolation) และศูนย์พักคอยในชุมชน (Community Isolation)

3.มาตรการสังคม ประชาชนยึดหลักป้องกันตัวเองสูงสุด (Universal Prevention) เลี่ยงการเข้าสถานที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องเคร่งครัดให้สถานบริการปลอด "โควิด19" (Covid free setting)

4.มาตรการสนับสนุน ด้านค่ารักษาพยาบาลและการตรวจหาเชื้อ

องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะมองว่าโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ ภาพจาก/คลังภาพ Pixabayองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะมองว่าโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

อ่านข่าวเพิ่มเติม: คุณแม่ต้องรีบดู! รัฐบาลเมืองนิวไทเปประกาศ ปีใหม่นี้ให้กำเนิดบุตรคนที่ 3 จะได้รับเงินอุดหนุนเป็น 30,000 เหรียญไต้หวัน

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวต่อว่า สธ.มีจะพยายามทำโควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น ดังนั้น ในระยะการระบาดนี้ เราจะเน้นตรวจ ATK เป็นหลัก เรียกว่า ATK First เนื่องจากสธ.ศึกษาจากการใช้หลายล้านชิ้น พบว่า มีประสิทธิภาพ สามารถดักจับโควิด-19 ได้ดีมาก สามารถใช้ตรวจประจำได้ เพื่อป้องกันระบาด ต่อไปเราต้องใช้เป็นประจำ

มาตรการทั้งหมดเป็นวิธีการที่ทำให้คนไทยทุกคนปลอดภัย ประเทศเดินต่อไปได้ หากทุกฝ่ายร่วมมือกัน สธ.จะพยายามบริหารจัดการให้เป็นโรคประจำถิ่นให้ได้ในปีนี้

ขอบคุณข้อมูลจาก: คมชัดลึก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading