[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามข้อมูลจาก “สำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์” เผยตัวเลขผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุ 60 ขึ้นไป) ในแต่ละจังหวัดของประเทศไทย 10 อันดับ จากทั้งหมด 77 จังหวัด สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) คือ สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ของประเทศนั้นๆ โดยมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป มีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 7 ขึ้นไป กรมการปกครอง ข้อมูลเดือนกันยายน ปี 2566 เผยว่า ประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปี มีจำนวน 13,043,792 คน หรือคิดเป็น 19.74% จากประชากรทั้งหมด 66,061,517 คน มีจำนวนผู้สูงเพศชายรวม 5.7 ล้านคน และเพศหญิงรวม 7.2 ล้านคน ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์มากกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป ทำให้ประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
อ่านข่าวเพิ่มเติม:โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย
ตามการรายงานของ “สำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์” ระบุว่า
อันดับที่ 1 : “จังหวัดกรุงเทพมหานคร” มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 1,239,757 คน
อันดับที่ 2 : “จังหวัดนครราชสีมา” มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 525,039 คน
อันดับที่ 3 : “จังหวัดเชียงใหม่” มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 404,512 คน
อันดับที่ 4 : “จังหวัดขอนแก่น” มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 362,193 คน
อันดับที่ 5 : “จังหวัดอุบลราชธานี” มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 324,436 คน
อันดับที่ 6 : “จังหวัดนครศรีธรรมราช” มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 303,899 คน
อันดับที่ 8 : “จังหวัดเชียงราย” มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 286,394 คน
อันดับที่ 7 : “จังหวัดบุรีรัมย์” มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 289,633 คน
อันดับที่ 9 : “จังหวัดนนทบุรี” มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 280,166 คน
อันดับที่ 10 : “จังหวัดอุดรธานี” มีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 278,064 คน
อ่านข่าวเพิ่มเติม: การบริโภควิตามินซีมากเกินไป อาจส่งผลให้การตรวจพบโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ล่าช้า